จังหวัดปราจีนบุรี
๑. บ้านเสี้ยว หมู่ที่ ๔ ตำบลนาดี อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี มี ๔๕๓ ครัวเรือน ประชากร ๑,๒๙๑ คน มีโครงการ/กิจกรรมที่หมู่บ้านดำเนินการ ๘ กิจกรรม
ด้านสาธารณสุข มีผู้ป่วยติดเตียง ๗ ราย มีผู้อยู่คนเดียว/ผู้พิการ ๑๐ คน มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพดูแลตามสมควร
การส่งเสริมการรักษาศีล ๕ มีกิจกรรมที่ทำขึ้นที่เป็นการตอบโจทย์ศีลแต่ละข้อได้ครบทุกข้อ กิจกรรมประเพณีวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนามีตลอดทั้งปี
อัตลักษณ์ที่โดดเด่นของหมู่บ้านคือ ด้านศีลปะวัฒนธรรม ได้แก่ วงกลองยาว ด้านอาชีพ ผลิตภัณฑ์มี จักสาน การทำนาปีและนาปัง ด้านภูมปัญญาไดแก่ การทำขวัญนาค,สู่ขวัญข้าว,บายศรีสู่ขวัญ ด้านท่องเที่ยว ได้แก่ ประเพณีวันลอยกระทง เป็นต้นผู้เป็นปราชญ์ท้องถิ่น มี ๘ คน พอสมควรแก่ท้องถิ่น
การขับเคลื่อนงานหน่วย อ.ป.ต. ๘ ด้าน ยังดำเนินการต่อไปตามสถานการณ์
นอกจากนี้ มีการก่อตั้งก่อทุนการเงินในหมู่บ้านจำนวน ๔ กองทุน มี กองทุนเงินล้าน กองทุนเงินออมวันล่ะบาท กองทุนฌาปนกิจหมู่บ้าน และกองทุนหมู่บ้านพัฒนาสตรี ลดอัตราเสี่ยงในการประกอบอาชีพทุจริต โดยมีระบบการบัญชีที่สมบูรณ์แบบ มีการปันผลกำไรคืนให้แก่สมาชิก เพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพ ร่วมถึงโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็นต้น
๒. บ้านหนองรี หมู่ที่ ๕ ตำบลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์ จังหวัดปราจีนบุรี มี ๓๑๒ ครัวเรือน ประชากร ๑,๑๐๔ คน มีโครงการ/กิจกรรมที่หมู่บ้านดำเนินการ ๘ กิจกรรม
ด้านสาธารณสุข มีผู้ป่วยติดเตียง ๓ ราย มีผู้อยู่คนเดียว/ผู้พิการ ๙๐ คน มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพดูแลตามสมควร
การส่งเสริมการรักษาศีล ๕ มีกิจกรรมที่ทำขึ้นที่เป็นการตอบโจทย์ศีลแต่ละข้อได้ครบทุกข้อ กิจกรรมประเพณีวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนามีตลอดทั้งปี
อัตลักษณ์ที่โดดเด่นของหมู่บ้านคือ ด้านพระพุทธศาสนา ได้แก่ กิจกรรมธรรมสัญจร กิจกรรมหล่อเทียนเข้าพรรษา กิจกรรมเข้าปริวาส กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี กิจกรรมทอดกฐินออกพรรษา กิจกรรมทำบุญตักบาตรกลางหมู่บ้าน กิจกรรมทำบุญข้าวประดับดิน ประเพณีลอยกระทง ด้านวัฒนธรรม ไก้แก่ การฟ้อน/หมอลำ ด้านอาชีพ การจักสาน/ทอผ้า ด้านภูมิปัญญา ได้แก่ สมุนไพร การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็นต้น
ผู้เป็นปราชญ์ท้องถิ่น มี ๔ คน พอสมควรแก่ท้องถิ่น
การขับเคลื่อนงานหน่วย อ.ป.ต. ๘ ด้าน ยังดำเนินการต่อไปตามสถานการณ์
นอกจากนี้ มีการก่อตั้งศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน/พิพิธภัณฑ์ การให้ทุนและพัฒนาการศึกษาของเด็กและเยาวชน การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม การตั้งกรรมการสิ่งแวดล้อม/การจัดการขยะหมู่บ้าน การพัฒนาระบบจัดการขยัและของเสียในพื้นที่หมู่บ้าน การจัดพื้นที่นันทนาการ เช่น สวนสาธารณะ/ป่า ชุมชน การจัดตั้งโรงเรียนชมรมผู้สูงอายุ เพื่อดูแลผู้สูงอายุ การจัดกิจกรรมสงเคราะห์เพื่อช่วยเหลือประชาชน เป็นต้น