จังหวัดสุรินทร์
ประเมินติดตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ หนตะวันออก ภาค ๑๑
วันศุกร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ส่วนกลาง ลงพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย – พระเทพศาสนาภิบาล รองประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ส่วนกลาง – พระสุธีรัตนบัณฑิต กรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ส่วนกลาง คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ประจำหนตะวันออก ประกอบด้วย – พระธรรมมังคลาจารย์ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ หนตะวันออก – พระราชรัตนาลงกรณ์ วัดโพธิ์ชัย – พระราชสิริวัฒน์ วัดสว่างสุวรรณาราม- พระศรีธรรมวงศาจารย์ วัดป่าศรัทธารวม – พระโสภณพัฒนบัณฑิต วัดธาตุ – พระอุดมปัญญาภรณ์ วัดอัมพวัน พร้อมด้วยคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ซึ่งมี – พระธรรมโมลี ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๒ วัดศาลาลอย – พระศรีวิสุทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ – พระครูปริยัติกิจธำรง รองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ – พระมหาเจริญสุข คุณวีโร รองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ – พระครูธำรงศีลคุณ รักษาการเจ้าคณะอำเภอปราสาท – พระครูบุญเขตวรคุณ เจ้าคณะอำเภอรัตนบุรี – พระมหาสิงห์ ญาณิสฺสโร ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ธรรมยุต – พระปลัดวัชระ วชิรญาโณ เจ้าคณะตำบลปราสาททนง เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ – พระอธิการวสุบิน สุธีโร เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีธาตุ พร้อมด้วยพระเถรานุเถระในจังหวัดลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕”
ในการนี้ ทางฝ่ายบ้านเมืองมี – นายนิวัติ น้อยผาง รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ – นายพรพจน์ บัณฑิตยานุรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินร์ – นายเพทาย สดทรงศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุรินทร์ – นายปกรณ์ ศรีจันทร์เวียง นายอำเภอปราสาท – นายกิตติ สัตย์ซื่อ นายอำเภอรัตนบุรี พร้อมด้วยข้าราชการ นายก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครและศรัทธาสาธุชนถวายการต้อนรับและร่วมพิธี จังหวัดสุรินทร์ ได้กำหนดหมู่บ้านให้คณะกรรมการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมได้แก่
๑.วัดสว่างอารมณ์ หมู่บ้านทะนง หมู่ที่ ๑ ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
บ้านทนง เมื่อสมัยขอมเรืองอำนาจประชาชนอพยพมาจากสาธารณรัฐกัมพูชา ได้มาตั้งรกรากอยู่ในแถวนี้ เพราะเห็นทำเลเหมาะสมมีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ เมื่อมีชาวบ้านมาอยู่อาศัยกันเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงได้หารือกัเรื่องการจัดตั้งหมู่บ้าน ทุกคนจึงเห็นพ้องต้องกันว่าให้ชื่อว่าหมู่บ้านทนง ด้วยลักษณะหมู่บ้านมีบ่อน้ำอยู่ตรงกลางหมู่บ้าน และมีต้นประดู่ใหญ่อยู่กลางหมู่บ้าน เลยตั้งชื่อว่าหมู่บ้านทะนง (ซึ่งต้นประดู่ชาวเขมรเรียกว่าเดอมทน๊วง) ซึ่งมีวัดสว่างอารมณ์ เป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นที่ประกอบกิจทางพระพุทธศานา โดยมีพระปลัดวัชระ วชิรญาโร เป็นเจ้าอาวาส
โครงการและกิจกรรมที่หมู่บ้านได้ดำเนินการตามหลักศีล ๕
– โครงการกีฬาต้านยาเสพติด – โครงการหมู่บ้านสีขาว – โครงการหมู่บ้านช่อสะอาด – โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง – กลุ่มจิตอาสาพัฒนาสังคม เป็นต้น – การจัดตั้งกองทุนออมทรัพย์ – การจัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุ เป็นต้น
มีการดำเนินการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลบูรณการกับโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทางพระปลัดวัชระ วชิรญาโณ เป็นศุนย์กลางในการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งโครงการศีล ๕ และอปต.
อัตลักษณ์ที่โดดเด่น
ด้านอาชีพ การทำเกษตรกรรม กสิกรรม การเลี้ยงไก่ ด้านภูมิปัญญา ผ้าไหมทอมือ เครื่องจักสาน การแปรรูปสมุนไพร ด้านวัฒนธรรม ดนตรีพื้นบ้านและการรำตรต การเจรียง การร้องกันตรึม ประเพณีบวงสรวงโบราณสถาน ปราสาททะนง ด้านการท่องเที่ยว โบราณสถานปราสาททนง อาชีพหลักและสินค้าที่สร้างรายได้ ผ้าไหมทอมือ เสื่อกก เปลญวณ
๒.วัดโพธิ์ศรีธาตุ บ้านธาตุ ตำบลธาตุ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
บ้านธาตุ เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ของตำบลธาตุ เดิมเป็นเมืองขอมมีการปกครองผ่านมาหลายยุคหลายสมัย มีพระยาขอมได้ตั้งต้นเป็นใหญ่สร้สงกำแพงเป็นคูหินล้อมรอบเขตเมืองไว้ จนเมือพ.ศ.๒๓๒๕ สมันต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีชนกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาจากเขตยโสธร มาพบบริเวณนี้เห็นว่าเป็นเมืองเก่าทีทมีความอุดมสมบูรณ์ จึงได้ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยและเรียกว่าชื่อบ้านว่า บ้านธาตุ มีวัดโพธิ์ศรีธาตุ เป็นวัดประจำหมู่บ้าน
กิจกรรมและโครงการที่หมู่บ้านได้ดำเนินการตามหลักศีล ๕
– โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
– โครงการศาสตร์พระราชา
– ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
– กองทุนหมู่บ้าน
อัตลักษณ์ที่โดดเด่น
ด้านอาชีพ สินค้าเกษตร ปุ๋ยอินทรีย์ ด้านภูมิปัญญา การทำแหนม การทำบายศรี ด้านศิลปวัฒนธรรมม การฟ้อนรำ เต้นคองก้า กันตรึม ด้านการท่องเที่ยว ป่าหินล้ม วัดโพธิ์ศรีธาตุ อาชีพหลักและสินค้าที่สร้างรายได้ แหนม ปุ๋ยอินทรีย์ สินค้าเกษตรและสมุนไพร