จังหวัดสกลนคร
ประเมินติดตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 หนตะวันออก ภาค ๘
วันจันทร์ ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๒ คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ส่วนกลาง ลงพื้นที่จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย พระเทพศาสนาภิบาล รองประธานกรรมการ, พระเทพปัญญาโมลี กรรมการขับเคลื่อน และคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ประจำหนตะวันออก ประกอบด้วย พระธรรมังคลาจารย์ ประธานคณะกรรมการประจำหนตะวันออก,พระธรรมคุณาภรณ์ เจ้าคณะภาค ๘,พระราชรัตนาลงกรณ์ วัดโพธิ์ชัย,พระราชสิริวัฒน์ วัดสว่างสุวรรณาราม,พระโสภณพัฒนบัณฑิต วัดธาตุ,พระรัตนากรวิสุทธิ์ วัดทุ่ง, พระศรีกิตติเมธี วัดเทพนิมิต (ธ) พร้อมด้วยคณะสงฆ์จังหวัดสกลนคร ซึ่งมี พระเทพสิทธิโสภณ เจ้าคณะจังหวัดสกลนคร ,พระเทพโสภณ รองเจ้าคณะภาค ๘ ,พระสิริพัฒนาภรณ์ รองเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร,พระรัตนากรวิสุทธิ์ รองเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร,พระครูประจักษ์สิทธิธรรม เจ้าคณะอำเภอพังโคน,พระอธิการวีระพงษ์ อินฺทโชโต เจ้าอาวาสวัดเสียวสวาท, พระกิตติเกียรติ โชติธมฺโม เจ้าอาวาสวัดเขื่อนบุบผาราม พร้อมด้วยพระเถรานุเถระในจังหวัดลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕”
ในการนี้ ทางฝ่ายบ้านเมืองมี จ.ส.อ. คำนึง พรหมพิมพ์ นายอำเภอพังโคน ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร,นายวีระศักดิ์ จันทร์เกตุ นายกอบต.ต้นผึ้ง, นายแสงจันทร์ จันทรจร ผู้ใหญ่บ้านบ้านกลางเจริญ,นายสนธยา ทิพย์ทอง นายกเทศมนตรีตำบลไฮหย่อง,นายสมัชชา สัพโส ผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองเบ็น พร้อมด้วยข้าราชการ นักเรียน อาสาสมัคร และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมพิธี จังหวัดสกลนคร ได้กำหนดหมู่บ้านให้คณะกรรมการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมได้แก่
๑.วัดเสียวสวาท บ้านกลางเจริญ ตำบลต้นผึ้ง อำเภอพังโคน
๒.วัดเขื่อนบุปผาราม บ้านหนองเบ็น ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน
โดยทางจังหวัดได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน โดยใช้กลไกลของมิติทางศาสนาในลักษณะการประสานความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน และส่วนราชการทุกภาคส่วน ดำเนินกิจกรรมหลักใน ๓ เรื่องสำคัญคือ ๑.กิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาชีวิตตามหลักศีล ๕ เพื่อให้การดำเนินชีวิตตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่น การทำบุญตักบาตร ถือศีล ปฏิบัติธรรม การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การจัดตั้ง ชรบ.และอพปร.เป็นต้น ๒.กิจกรรมการดำเนินชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ เพื่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชน เช่นกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา มีการสวดมนต์และแสดงธรรมเทศนาสัญจรในวันพระ กิจกรรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ๓.การลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ส่งเสริมให้มีร้านค้าปลอดเหล้า บุหรี่ ภายในหมู่บ้านหรือชุมชน โดยมีการพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพุทธบูรณาการ โดยเฉพาะปัญหาบุหรี่และสุรา ร่วมกับคณะสงฆ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และเครือข่ายภาคประชาสังคม ทั้งนี้ เพื่อยกระดับโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ และสร้างสุขภาวะทางสังคมอย่างยั่งยืน ตลอดจนการเผยแผ่องค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาสู่สังคม โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาคือการรักษาศีล ๕ เพื่อสุขภาพที่ดี ชีวีมีความสุข ห่างไกลยาเสพติด โดยมีการจัดซุ้มนิทรรศการ ซึ่งเอาผลงานของหมู่บ้านในตำบล มาจัดแสดงผลงานที่ได้ทำกันอยู่เป็นประจำในหมู่บ้าน เช่น กิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ศิลปะพื้นบ้านชาวอีสาน การส่งเสริมอาชีพการจักสานตะกร้าจากหวาย กลุ่มทอผ้าย้อมคราม การเลี้ยงกบการท่องเที่ยวตามนวัตวิถีในชุมชน ธนาคารหมู่บ้าน ตามแนวพระราชดำริ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ การสวดสรภัญญโบราณ (ภาพและข้อมูลโดย พระครูปลัดสุวัฒนสมาธิคุณ)