ข้อมูลปี ๒๕๖๒ – อุดรธานี

จังหวัดอุดรธานี
ประเมินติดตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 หนตะวันออก ภาค ๘

วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ส่วนกลาง ลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย พระเทพศาสนาภิบาล รองประธานกรรมการ, พระเทพปัญญาโมลี กรรมการขับเคลื่อน ส่วนกลาง , พระศรีสมโพธิ กรรมการขับเคลื่อน ส่วนกลาง และคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ประจำหนตะวันออก ประกอบด้วย พระธรรมมังคลาจารย์ ประธานคณะกรรมการประจำหนตะวันออก, พระธรรมคุณาภรณ์ เจ้าคณะภาค ๘, , พระโสภณพัฒนบัณฑิต วัดธาตุ , พระศรีกิตติเมธี วัดเทพนิมิตร , พระศรีปริยัติธาดา วัดโพธิ์ย่อย , พระอุดมปัญญาภรณ์ วัดอัมพวัน พร้อมด้วยคณะสงฆ์จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมี พระธรรมวิมลมุนี เจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี ,พระโสภณพุทธิธาดา รองเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี , พระครูมัญจาภิรักษ์ รองเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี, พระครูอุดมกิจจาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอกุมภวาปี , พระครูนิมิตสาธุวัฒน์ เจ้าคณะอำเภอหนองแสง พร้อมด้วยพระเถรานุเถระในจังหวัดลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ในการนี้ ทางฝ่ายบ้านเมืองมี นายวิชัย จันทร์พร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด , นายทวี ชินรงค์ นายอำเภอหนองแสง , นายสุชาติ ทอนมณี นายอำเภอกุมภวาปี , นายธงชัย พลพวก ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุดรธานี , นายปฐม วงษ์ไทย นายกอบต.ทับกุง , นายเสถียร ศรีธรรมวงษ์ นายกอบต. สีออ , พ.ต.ท.อิทธิวัฒน์ มูลขุนทศ ผกก.สภ หนองแสง, นายนิรันดร์ โคตรแสง พัฒนาการอำเภอหนองแสง , นายบัวไข ชินฝั่น กำนัน ตำบลทับกุง , นายมวย จันทร์แห่ว ผู้ใหญ่บ้านบ้านโนนเชียงค้ำ , นายธนาธิป วิบูลย์กุล กำนันตำบลสีออ , นางนุชจรี คำเพชร ผู้ใหญ่บ้านบ้านสีออ พร้อมด้วยข้าราชการ อาสาสมัครและประชาชนทั่วไปถวายการต้อนรับและร่วมพิธี จังหวัดอุดรธานี ได้กำหนดหมู่บ้านให้คณะกรรมการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมได้แก่

          ๑.วัดภูทองเทพนิมิต บ้านโนนเชียงค้ำ ตำบลทับกุง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี หมู่บ้านได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัดภูทองเทพนิมิตเป็นศูนย์กลาง มีพระพุทธชัยมงคลมหาชนอภิปูชนีย์ หรือหลวงพ่อทันใจที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป หมู่บ้านนี้ส่วนมากประกอบอาชีพ เกษตรกรรม มีการปลูกข้าว ปลูกต้นผักหวาน มีกลุ่มทอผ้า สินค้าโอทอปที่ขี้นชื่อคือกล้วยฉาบ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในหมู่บ้านและส่งออกขายทั่วประเทศ

62551317_2351291798474989_250934684039512064_o 62227292_2351285565142279_823444998438518784_o

62468075_2351289371808565_1874934382129577984_o 62428220_2351284355142400_5977847954881380352_o

๒.บ้านสีออ หมู่ที่ ๑ ตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานีหมู่บ้านที่สองนี้ จุดเด่นคือการทำป่าชุมชนให้เป็นป่าเศรษฐกิจ โดยการทำประชามติภายในหมู่บ้านเพื่อใช้ที่สาธารณะของหมู่บ้าน ขุดบ่อน้ำเพื่อใช่ในการทำประปาและเพื่อใช้ในเกษตรกรรม มีการใช้พื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อขาย และปลูกกล้วยเพื่อทำกล้วยฉาบ โดยทางจังหวัดได้สนับสนุนการดำเนินงานของทั้ง ๒ หมู่บ้าน

64460017_2351291275141708_935516414771462144_o 64397175_2351282188475950_3759236599032840192_o