จังหวัดศรีสะเกษ
ประเมินติดตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ หนตะวันออก ภาค ๑๐
วันศุกร์ที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒ คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ส่วนกลาง ลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย พระเทพศาสนาภิบาล รองประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ พระเทพปัญญาโมลี กรรมการขับเคลื่อนโครงการ , และคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ประจำหนตะวันออก ประกอบด้วย พระธรรมมังคลาจารย์ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ หนตะวันออก , พระราชสิริวัฒน์ วัดสว่างสุวรรณาราม ,
พระโสภณพัฒนบัณฑิต วัดธาตุ , พระรัตนากรวิสุทธิ์ วัดทุ่ง , พระศรีปริยัติธาดา วัดโพธิ์ย่อย , พระอุดมปัญญาภรณ์ วัดอัมพวัน พร้อมด้วยคณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมี พระราชวชิรโมลี รักษาการรองเจ้าคณะภาค ๑๐ , พระราชกิตติรังษี เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ พระวินัยเมธี เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ธรรมยุต พระครูวีรปัญญาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอขุนาญ
พระใบฎีกาไพสินธ์ ปภสฺสโร เจ้าอาวาสวัดปราสาทศรี พร้อมด้วยพระเถรานุเถระในจังหวัดลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕”
ในการนี้ ทางฝ่ายบ้านเมืองมี นายธงชัย เจริญพาณิชย์กุล รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายคมป์ สังข์วงษ์ นายอำเภอขุนหาญ นายสุริยันต์ สาระบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดศรีสะเกษ พ.ต.อ.พีระพงษ์ อุดมพรวัฒนะ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรขุนหาญ นายวิรัช ทองแย้ม นายก อบต.บักดอง นายอภัยศักดิ์ ศรแก้ว นายก อบต.พราน นายสมิง รุ่งคำ กำนันตำบลบักดอง นายธนกฤต พรหมจันทร์ กำนันตำบลพราน นายสมุด บุญรอด ผู้ใหญ่บ้านหนองบัวเรณ นายประยุทธ ทรงศิริ ผู้ใหญ่บ้านดอนข่า พร้อมด้วยข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครและศรัทธาสาธุชนถวายการต้อนรับและร่วมพิธี จังหวัดศรีสะเกษได้กำหนดหมู่บ้านให้คณะกรรมการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมได้แก่
๑.วัดปราสาทศรี บ้านหนองบัวเรณ หมู่ที่ ๕ ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
บ้านหนองบัวเรณ ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเป็นชุมชนวิถีพุทธ โดยมีวัดปราสาทศรี เป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้านด้านขนบธรรมเนียมประเพณีพิธีกรรม มีการจัดกิจกรรมหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง เช่นรั้วกินได้ ให้มีการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน มีการบูรณาการศีล ๕ ร่วมกับ อปต. ได้รับรางวัลระดับเพชรในการบริหารการจัดการแบบ บวร
อัตลักษณ์ที่โดดเด่น
๑.ด้านศิลปะวัฒนธรรมคือการทำข้าวต้มมัดแบบโบราณ การฟ้อนรำ การแต่งกายแบบเขมร
๒.ด้านสัมมาชีพ การทำสวนยางพารา และการปลูกทุเรียนภูเขาไฟซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลัก
๓.ด้านภูมิปัญญา การจักสานไม้ไผ่
๒.วัดดอนข่า บ้านดอนข่า หมู่ที่ ๕ ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
บ้านดอนข่า เป็นชุมชนที่มีเชือสายชาวเขมรประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีการทำสวนยางเป็นพืชเศรษฐกิจ และการปลูกทุเรียนภูเขาไฟ มังคุด ลองกอง เงาะ สะตอ ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างรายได้ให้แก่จังหวัดและชุมชนเป็นอย่างมาก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปพัฒนาชีวิต ครอบครัว ชุมชน และสังคม เสริมสร้างความปรองดอง ลดปัญหาความขัดแย้ง สร้างความมั่นคง
อัตลักษณ์ที่โดดเด่น
๑.ด้านศิลปะวัฒนธรรมคือ การแต่งกาย การฟ้อนรำแม่มด ประเพณีแซนโฎนตา
๒.ด้านสัมมาชีพ การปลูกยางพารา การปลูกทุเรียนภูเขาไฟและผลไม้ต่างๆ
๓.ด้านภูมิปัญญา งานจักสานไม้ไผ่ การเป่าข้อต่อกระดูก เป่าแคนสีซอ