จังหวัดบุรีรัมย์
ประเมินติดตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ หนตะวันออก ภาค ๑๑
วันอังคารที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๒ คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕”ส่วนกลาง ลงพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย พระเทพศาสนาภิบาล รองประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ส่วนกลาง พระเทพปัญญาโมลี กรรมการขับเคลื่อนโครงการ ส่วนกลาง และคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ประจำหนตะวันออก ประกอบด้วย พระศรีกิตติเมธี วัดเทพนิมิตร พระโสภณพัฒนบัณฑิต วัดธาตุ , พระศรีปริยัติธาดา วัดโพธิ์ย่อย , พระอุดมปัญญาภรณ์ วัดอัมพวันพระศรีธรรมวงศาจารย์ วัดป่าศรัทธารวม พร้อมด้วยคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมี พระสุนทรธรรมเมธี รองเจ้าคณะจังหวัด ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ พระศรีปริยัติธาดา รองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ พระศรีธีรพงศ์ เลขานุการเจ้าคณะภาค ๑๑ พระมงคลสุตกิจ เลขานุการเจ้าคณะจังหัดบุรีรัมย์ พระครูพิศาลมงคลวัตร เจ้าคณะอำเภอพุทไธสง ธรรมยุต ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะจังหวัดธรรมยุต พระครูวิลาสธรรมคุณ เจ้าคณะอำเภอพุทไธสง พระครุอมรบุญญาวัฒน์ เจ้าคณะอำเภอนาโพธิ์ พระครูบวรญาณสถิต เจ้าอาวาสวัดบรมคงคา พระมหาอุทัย อินฺทปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดอุดร พร้อมด้วยพระเถรานุเถระในจังหวัดลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ในการนี้ ทางฝ่ายบ้านเมืองมี นายพิจิตร บุญทัน รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ นายนิมิต ปัทมเจริญ นายอำเภอพุทไธสง นายกันวลินทร์ เมืองแก้ว นายอำเภอนาโพธิ์ นายสมพงษ์ หมวดไธสง ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์ พ.ต.อ.เสกสรร บุณยรัชนิกร ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอพุทไธสง พ.ต.อ.ศิลปชัย พงษ์วัชรจินดา ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรอำเภอนาโพธิ์ นายวิรัช ทองแย้ม นายก อบต.บักดอง พร้อมด้วยข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครและศรัทธาสาธุชนถวายการต้อนรับและร่วมพิธี จังหวัดบุรีรัมย์ได้กำหนดหมู่บ้านให้คณะกรรมการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมได้แก่
๑.วัดบรมคงคา บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
บ้านโนนสะอาด ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเป็นชุมชนวิถีพุทธ โดยมีวัดบรมคงคา เป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้านด้านขนบธรรมเนียมประเพณีพิธีกรรม มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินงานครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ มีการตั้งธรรมนูญชุมชนเพื่อเป็นกฎข้อบังคับในการอยู่ร่วมกันของชุมชน ตามคำขวัญที่ว่า “ชาวประชาสามัคคี พันธุ์ข้าวดีมีผ้าไหม ผลิตภัณฑ์งามไม้ไผ่ อนุรักษ์ไว้ป่าชุมชน”
อัตลักษณ์ที่โดดเด่น
๑.ด้านศิลปะวัฒนธรรมคือการฟ้อนรำ
๒.ด้านสัมมาชีพ การทอผ้าไหม
๓.ด้านภูมิปัญญา การจักสานไม้ไผ่
๒.วัดอุดร บ้านคู หมู่ที่ ๖ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
บ้านคู เป็นชุมชนที่มีเชื้อสายชาวลาว จัดตั้งขึ้นเมื่อ ๒๐๐ ปีที่ผ่านมา มีราษฎรอพยพมาจากจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม และนครราชสีมา มีอาชีพในการทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ ทำไร่นาสวนผสม ทอผ้าไหม มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินงานโครง การหมู่บ้านรักษาศีล ๕ และอปต.
อัตลักษณ์ที่โดดเด่น
๑.ด้านศิลปะวัฒนธรรมคือ การฟ้อนรำ
๒.ด้านสัมมาชีพ การทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ ผ้าไหมมัดหมี่
๓.ด้านภูมิปัญญา งานจักสานไม้ไผ่ การเป่าข้อต่อกระดูก