จังหวัดมุกดาหาร
ประเมินติดตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ หนตะวันออก ภาค ๑๐
วันพุธที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๒ คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ส่วนกลาง ลงพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ประกอบด้วย พระเทพศาสนาภิบาล รองประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ , พระเทพปัญญาโมลี กรรมการขับเคลื่อนโครงการ , และคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ประจำหนตะวันออก ประกอบด้วย พระธรรมมังคลาจารย์ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ หนตะวันออก , พระราชสิริวัฒน์ วัดสว่างสุวรรณราม , พระอุดมปัญญาภรณ์ วัดอัมพวัน , พระรัตนากรวิสุทธิ์ วัดทุ่ง , พระศรีกิตติเมธี วัดเทพนิมิตร พร้อมด้วยคณะสงฆ์จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งมี พระมหามงคล มงฺคลคุโณ รองเจ้าคณะจังหวัดมุกดาหาร , พระครูนิโครธโพธิวัฒน์ เจ้าคณะอำเภอคำชะอี , พระครูสิทธิสารธรรม เจ้าคณะอำเภอดงหลวง , พระครูปลัดอธิป ปฏิภาโณ เจ้าอาวาสวัดสามัคคีธรรม , พระอธิการสุรินธร ชุตินฺธโร เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี พร้อมด้วยพระเถรานุเถระในจังหวัดลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ในการนี้ ทางฝ่ายบ้านเมืองมี นายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร , นายสิทธิลักษณ์ จิตอาคนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดมุกดาหาร , นายพรชัย พุดซ้อน นายอำเภอคำชะอี , นายสมศักดิ์ บุญจันทร์ นายอำเภอดงหลวง , พ.ต.ท.สมบัติ ศรีปน รองผู้กำกับ สภ.คำชะอี , นายนิราศ พันธ์ทอง นายก อบต.บ้านซ่ง , นายโชควิทย์ พรมดี นายกเทศมนตรีตำบลดงหลวง , นายคำปอน รูปเหมาะ กำนันตำบลบ้านซ่ง , นายสิริพันธ์ วงศ์กระโซ่ กำนันตำบลดงหลวง พร้อมด้วยข้าราชการหน่วยงานต่างๆ อาสาสมัครและศรัทธาสาธุชนถวายการต้อนรับและร่วมพิธี จังหวัดมุกดาหาร ได้กำหนดหมู่บ้านให้คณะกรรมการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมได้แก่
๑.วัดสามัคคีธรรม บ้านซ่ง ตำบลบ้านซ่ง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร บ้านซ่ง เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่ก่อตั้งมานานประมาณ ๒๐๐ กว่าปี ซึ่งมีชนเผ่าหลายชนเผ่า ได้อพยพมาจากตอนเหนือของแขวงสะหวันนะเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีเชื้อสายไทข่ากะเลิง เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นกลุ่มแรก เป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมผสมผสานกัน โดยมีวัดสามัคคีธรรม เป็นศูนย์กลางของชุมชนในการขับเคลื่อนโครงการฯ และอปต. เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการดำเนินงานตามโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” และการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ได้นำแนวทางการกำกับ ติดตามและประเมินผลที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทั้ง ๔ ด้าน เพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนสืบไป อัตลักษณ์ที่โดดเด่น ๑.ด้านศิลปะวัฒนธรรมคือการฟ้อนรำ และศิลปะการแสดงของแต่ละชนเผ่า การตีกลองจิ่ง ๒.ด้านสัมมาชีพ ทอผ้าไหม ผ้าย้อมคราม การจักสาน การทำสวนยาง ๓.ด้านภูมิปัญญา ด้านสมุนไพร
๒.วัดโพธิ์ศรี บ้านดงหลวง ตำบลดงหลวง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร หมู่บ้านดงหลวง เป็นชนเผ่าไทบรูหรือไทโซ่ ซึ่วอพยพมาจากเมืองมหาชัย ในแขวงคำม่วนและแขวงสะหวันนะเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นามสกุลส่วนมากใช้นามสกุลคือ วงศ์กระโซ่ โซ่เมืองแซะ และชาวกะโซ่ มีพิธีกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อของชนเผ่า มีภาษาถิ่นคือภาษาไทโซ่ อาชีพที่เป็นอาชีพหลัก คือเกษตรกรรม หัตถกรรม วัฒนธรรมประเพณี การถือผีและการทำพิธีกรรมโซ่ทั่งบั้ง เป็นพิธีกรรมที่แสดงถึงความแข็งแรงและความสนุกสนาน พิธีเหยา คือพิธีเรียกขวัญ โดยหมอผีจะทำหน้าที่เป็นล่ามสอบถามวิญญาณของบรรพบุรุษ อัตลักษณ์ที่โดดเด่น ๑.ด้านศิลปะวัฒนธรรมคือ ฟ้อนรำ และ พิธีกรรมต่างๆ ๒.ด้านสัมมาชีพ การทำเกษตรกรรม ทอผ้า ๓.ด้านภูมิปัญญา การทำบายศรีสู่ขวัญ