ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 5 และระดับนานาชาติครั้งที่ 3

0

วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๕.๐๐ น.พระโสภณพัฒนบัณฑิต,รศ.ดร. รองเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น,รองอธิการบดีวิทยาเขตขอนแก่น เมตตาเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน โครงการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 5 และระดับนานาชาติครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น เรื่อง “จิตอาสากับการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน” Volunteer Spirit with Sustainable Social Development

27849122_1861880820490108_396931252_n
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น มีนโยบายดำเนินการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เป็นไปตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย คือ “ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม” นอกเหนือจากกิจกรรมการ เรียนการสอนแล้ว วิทยาเขตขอนแก่น มีความมุ่งมั่นที่จะเผยแพร่ความรู้สู่สังคมให้หลากหลายและต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือจากองค์กรในวิทยาเขตขอนแก่นเองเป็นตัวขับเคลื่อน และสำนักวิชาการก็เป็นองค์กรหนึ่งที่ดำเนินบทบทและหน้าที่เกี่ยวกับข้อมูลภูมิปัญญา แหล่งคดีศึกษาค้นคว้าวิจัย เผยแพร่ เวทีทางวิชาการ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและเป็นการจัดประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา

27781093_1861880883823435_1125099782_n 27720835_1861880750490115_1136802296_n
ด้วยความสำคัญในด้านการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการวิจัย สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น จึงสนับสนุนให้มีการจัดโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๕ และระดับนานาชาติ ครั้งที่ ๓ ในประเด็น “จิตอาสากับการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน” ด้วยความสำคัญที่ว่า จิตอาสาเป็นจิตที่กว้างใหญ่ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ทำให้ทุกคนในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้ เป็นสังคมที่มีการให้และแบ่งปัน คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้งเคารพสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้ และคุณธรรมจริยธรรม คิดสร้างสรรค์ออกแบบกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างหลากหลายรูปแบบ เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในลักษณะจิตอาสา ดังนั้น เพื่อเป็นพื้นฐานทางวิชาการให้แก่นิสิต นักศึกษา เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา และเป็นเวทีให้กับนิสิตได้นำเสนอผลงานวิจัยสู่สาธารณชน รวมถึงเป็นการสร้างองค์กรเครือข่ายการวิจัยในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งทำให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ๒๕๕๘ ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการถือเป็นกลไกที่สำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่มีคุณภาพ

27847992_1861880960490094_974341656_n

Share.

About Author

Leave A Reply