วิทยาเขตขอนแก่น เป็นเขตการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีฐานะเป็นส่วนงานหนึ่ง ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา วิจัย สงเสริมและบริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ รวมทั้งการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมีรองอธิการบดีวิทยาเขตขอนแก่นเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการบริหารงานของวิทยาเขตตามที่อธิการบดีมอบหมาย และมีคณะกรรมการประจำวิทยาเขตใช้อำนาจและหน้าที่ตามมาตรา 32 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้ วิทยาเขตขอนแก่น จัดการศึกษาครั้งแรกในคราวประชุมเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2528 ในนาม “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตขอนแก่น” ต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยมีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 จึงให้นามใหม่ว่า “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น”
สำนักและวิทยาลัยสงฆ์มีดังต่อไปนี้
- สำนักงานวิทยาเขต มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- สำนักวิชาการวิทยาเขต มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- วิทยาลัยสงฆ์เลย
- วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด
หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา เป็นหนึ่งในสาขาที่เปิดสอนและสังกัดอยู่วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น โดยได้ปรับปรุงหลักสูตรในปี พ.ศ.2559 สภาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 1/2560 ในวันที่ 6 มกราคม 2560 และสภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 โดยให้เปิดสอนตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป และเปิดรับคฤหัสถ์ในปีการศึกษา 2561 ตามลำดับโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตและพัฒนาบัณฑิตให้ได้คุณภาพตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและให้มีคุณลักษณะของบัณฑิตอันพึงประสงค์ตาม นวลักษณ์ 9 ประการ คือ
1) มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส
2) ใฝ่รู้ใฝ่คิด
3) เป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญา
4) มีความสามารถ/ทักษะด้านภาษา
5) มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา
6) รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม
7) รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม
8) มีโลกทัศน์กว้างไกล
9) พร้อมที่จะใช้และพัฒนานวัตกรรมสมัยใหม่
วัฒนธรรมองค์กร (Culture : M-C-U-K-K)
- Master of Buddhism Compassion & Collaboration Unity Knowledge of Culture Kindness & Virtue
- เชี่ยวชาญพระพุทธศาสนา เอาใจใส่ต่อส่วนรวม ร่วมใจเป็นหนึ่ง พึงประสงค์วัฒนธรรมความรู้ คู่คุณธรรมและเมตตา
ความเป็นมาของบัณฑิตวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรง สถาปนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้น โดยให้ย้ายการสอนพระปริยัติธรรม จากศาลาบอกพระปริยัติธรรมภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปตั้งที่วัดมหาธาตุ เพื่อเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและคฤหัสถ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ และโปรดให้เรียกว่า มหาธาตุวิทยาลัย
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้คิดแบบสร้าง ถาวรวัตถุเรียกว่า สังฆเสนาสน์ราชวิทยาลัย ขึ้นในวัดมหาธาตุ เพื่อใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญพระราชกุศลพระศพสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ และทรงประสงค์จะอุทิศถาวรวัตถุนี้เป็นสังฆิกเสนาสน์สำหรับมหาธาตุวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เล่าเรียนพระปริยัติสัทธรรมและวิชาชั้นสูง โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๙ และได้พระราชทานเปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัยเป็น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์
หลังจากนั้นเป็นระยะเวลา ๕๑ ปี คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย จำนวน ๕๗ รูป มีพระพิมลธรรม ( ช้อย ฐานทตฺตเถร ) เป็นประธานมีมติให้ดำเนินการจัดการศึกษาในรูปแบบมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นมาโดยจัดการศึกษาเฉพาะในระดับปริญญาตรี หลังจากนั้นเป็นระยะเวลา ๔๑ ปี จึงได้มีการตั้งหน่วยงานบัณฑิตวิทยาลัยขึ้นเพื่อจัดการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยอาศัยแนวปฏิบัติตามความในคำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่องการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๑๒ ข้อ ๕ (๒) ว่าด้วยการพิจารณา จัดตั้ง ยุบ รวมและเลิกล้ม คณะ วิทยาลัยบัณฑิตวิทยาลัย ภาควิชา และหรือส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นในมหาวิทยาลัย และข้อ ๗ ความว่า “ถ้าเป็นการสมควรมหาวิทยาลัยสงฆ์ ทั้งสองแห่งจะร่วมกันจัดการศึกษาขั้นบัณฑิตวิทยาลัยอีกส่วนหนึ่ง โดยอนุมัติของสภามหาวิทยาลัยของคณะสงฆ์ ก็ได้”
ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจึงมีประกาศที่ ๖๕/๒๕๒๙ ลงวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๒๙ แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อดำเนินการยกร่างโครงการบัณฑิตวิทยาลัยและหลักสูตรปริญญาโท ประกอบด้วย
๑. พระเมธีสุทธิพงศ์ (ระวัง วชิรญาโณ) ประธานกรรมการ
๒. พระมหาณรงค์ จิตฺตโสภโณ[๑] กรรมการ
๓. พระมหาทองสูรย์ สุริยโชโต[๒] กรรมการ
๔. พระมหาจรรยา ชินวํโส[๓] กรรมการ
๕. พระมหาประยูร ธมฺมจิตฺโต[๔] กรรมการ
๖. นายจำนงค์ ทองประเสริฐ กรรมการ
๗. รศ.ดร.จำลอง สารพัดนึก กรรมการ
๘. รศ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก กรรมการ
๙. ดร.ชาย โพธิสิตา กรรมการ
คณะกรรมการชุดนี้ได้ประชุมติดต่อกันเป็นเวลา ๖ เดือน ยกร่างหลักสูตรระดับปริญญาโทขึ้น ๔ สาขา คือ สาขาบาลี, สาขาพระพุทธศาสนา, สาขาปรัชญาและสาขาศาสนาขึ้น และสภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติหลักสูตรทั้ง ๔ สาขานี้ ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๓๐ เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๐
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐบาล โดยการนำของ ฯพณฯ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ได้เสนอให้รัฐสภาตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ส่งผลให้มหาวิทยาลัย มีพระราชบัญญัติรับรองสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ในกำกับของรัฐบาล และเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจเน้นจัดการศึกษาวิชาการด้านพระพุทธศาสนาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ประกาศมหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ที่ ๔/๒๕๓๑
เรื่อง ตั้งบัณฑิตวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เปิดดำเนินการศึกษาตามพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ มาจนถึงบัดนี้เป็นเวลา ๔๐ ปีแล้ว มีผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรี ๓๕ รุ่น มีนิสิตเพิ่มมากกว่า ๑,๐๐๐ รูป ผู้สำเร็จการศึกษาแล้วต้องไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกในต่างประเทศก่อให้เกิดความยากลำบากนานาประการ เพราะทางมหาวิทยาลัยยังมิได้เปิดดำเนินการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เนื่องด้วยความไม่พร้อมบางประการ
บัดนี้ ถึงเวลาอันสมควรที่จะต้องเปิดการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกเพื่อพัฒนาการศึกษาและอำนวยความสะดวกแก่พระภิกษุสามเณรผู้ใคร่ที่จะศึกษาในระดับสูงขึ้นไป อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ (๒) แห่งคำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่องการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๑๒ โดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๓๑ เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๓๑ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัย ในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงประกาศใหัทราบทั่วกัน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๑
(สมเด็จพระพุฒาจารย์)
สภานายกมหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ความเป็นมาของศูนย์บัณฑิตศึกษา วิทยาเขตขอนแก่น
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ พระราชสารเวที (เหล่ว สุมโน) เจ้าอาวาสวัดธาตุ พระอารามหลวง และรองเจ้าคณะภาค ๙ ในสมัยนั้น มีความดำริจัดตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตขอนแก่น เพื่อเป็นสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณรในจังหวัดขอนแก่น ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๙ และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยความสนับสนุนของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) นายกสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและพระเถรานุเถระทุกระดับในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดขอนแก่น เมื่อทุกอย่างมีความพร้อมจึงเสนอเรื่องขออนุมัติการจัดตั้งไปยังมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้อนุมัติให้จัดตั้งวิทยาเขตขอนแก่นเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๒๘ ตามหนังสือที่ ๗๑๔/๒๕๒๘ ลงวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๒๘ โดยใช้ชื่อเป็นทางการว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตขอนแก่น” ได้เปิดภาคการศึกษาครั้งแรกในระดับปริญญาตรี เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ณ วัดธาตุ พระอารามหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในคณะพุทธศาสตร์ สาขาวิชาเอกศาสนา มีนิสิตจำนวน ๒๑ รูป ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น” และมีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ และในปี ๒๕๕๐ ได้ย้ายที่ทำการแห่งใหม่ไปที่อาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) เลขที่ ๓๐ หมู่ ๑ บ้านโคกสี ตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดที่ทำการแห่งใหม่เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๐
ต่อมาในปี ๒๕๔๓ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ได้พิจารณาเห็นสมควรขยายการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จึงได้บรรจุโครงการเปิดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา ไว้ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะที่ ๘ (๒๕๔๐ – ๒๕๔๔) โดยแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการขยายห้องเรียนบัณฑิตศึกษา ตามคำสั่งที่ ๓๖/๒๕๔๓ เพื่อดำเนินการยกร่างโครงการขอเปิดหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนาประกอบด้วย
๑. รองอธิการบดี ประธาน
๒. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป รองประธาน
๓. ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตขอนแก่น กรรมการ
๔. ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ กรรมการ
๕. นายอุดร จันทวัน กรรมการ
๖. นายพุทธชาติ คำสำโรง กรรมการ
๗. รศ.อุดม บัวศรี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๘. รศ.ดร.เอกฉัท จารุเมธีชน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๙. ผศ.ดร.ประยงค์ แสนบุราณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๐. ดร.สมหวัง แก้วสุฟอง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๑. พระครูปลัดสุกันยา อรุโณ[๕] กรรมการและเลขานุการ
๑๒. นายโสวิทย์ บำรุงภักดิ์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
๑๓. นายสุรพร ตุ่นป่า กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ซึ่งคณะกรรมการได้ปรารภถึงพัฒนาการของวิทยาเขตขอนแก่นได้จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ เป็นต้นมา สามารถเปิดสอน ๕ สาขาวิชา คือ สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชารัฐศาสตร์ (การเมือง-การปกครอง) สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาและสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ ผลิตพระบัณฑิตไปแล้วจำนวน ๑๓ รุ่น พระบัณฑิตจำนวนมากเหล่านั้นมีความประสงค์จะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท แต่มีปัญหาและอุปสรรคในการศึกษาเพราะการเดินทางไปศึกษาต่อในส่วนกลางและต่างประเทศ เป็นเรื่องลำบากทั้งเรื่องที่พักอาศัยและเงินทุนการศึกษา หากมีการขยายโอกาสการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามาไว้ที่วิทยาเขตขอนแก่น ย่อมอำนวยความสะดวกและการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้พระบัณฑิตมีโอกาสศึกษาในระดับสูงได้ และในปัจจุบันวิทยาเขตขอนแก่นมีศักยภาพทั้งด้านบุคลากร อาคารสถานที่ วัสดุครุภัณฑ์ตลอดถึงห้องสมุดเทคโนโลยีสารสนเทศ การขอเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาจึงเป็นเรื่องที่เหมาะสม
จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น จึงได้เสนอโครงการขอเปิดหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
๑. เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาไปสู่วิทยาเขตในส่วนภูมิภาค
๒. เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าวิจัยวิชาการทางพระพุทธศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศใกล้เคียง
๓. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตทางพระพุทธศาสนาให้มีความรู้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง
ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น จึงเสนอโครงการเปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ต่อสภาวิชาการในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบและได้นำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้วิทยาเขตขอนแก่นเปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาพระพุทธศาสนาสำหรับพระภิกษุและสามเณร โดยให้ดำเนินการตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ ๑/๒๕๔๕ เป็นต้นไป ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับอนุมัติให้เปิดรับคฤหัสถ์เข้ามาศึกษาในสาขาวิชาพระพุทธศาสนา ในปี ๒๕๕๑ วิทยาเขตขอนแก่น ได้เสนอขอเปิดระดับบัณฑิตศึกษาขึ้นอีก ๒ สาขา คือหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชา พระพุทธศาสนา และหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ซึ่งสภามหาวิทยาลัยในคราวประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้อนุมัติให้บัณฑิตวิทยาลัยร่วมกับวิทยาเขตขอนแก่น เปิดสอนหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชา พระพุทธศาสนา และหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๕๔ สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้วิทยาเขตขอนแก่นเปิดทำการเรียนการสอนเพิ่มเติมสองสาขาวิชาในหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต คือ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์และการบริหารการศึกษา ในคราวประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๔ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้วิทยาเขตขอนแก่นเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต คือ สาขาวิชา ปรัชญา ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ วิสัยทัศน์ของบัณฑิตวิทยาลัย
๑. ปรัชญาของบัณฑิตวิทยาลัย
จัดการศึกษาด้านพระพุทธศาสนา โดยบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถทางจิตใจ ปัญญา และความเสียสละเพื่อสังคม
๒. ปณิธานของบัณฑิตวิทยาลัย
มุ่งจัดการศึกษาพระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์ ตำราด้านพระพุทธศาสนา เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้สามารถบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ผ่านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ใฝ่คิด และเสียสละอุทิศตนเพื่อสังคม
๓. วิสัยทัศน์ของบัณฑิตวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัยมุ่งเป็นสถาบันจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อสร้างคนดีและคนเก่งด้านการวิจัยและการบริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
๔. พันธกิจของบัณฑิตวิทยาลัย
๑) ด้านผลิตบัณฑิต : ผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่คิด เป็นผู้นำจิตใจและปัญญา มีโลกทัศน์กว้างไกล มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาและพัฒนาสังคม
๒) ด้านวิจัยและพัฒนา : จัดการศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยบูรณาการวิชาการด้านพระพุทธศาสนา เข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ผ่านกระบวนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนามนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล และสันติสุข
๓) ด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม : มุ่งมั่นในการให้บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่คณะสงฆ์และสังคม รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ และความร่วมมืออันดีระหว่างพุทธศาสนิกชนในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม อันเนื่องด้วยพระพุทธศาสนา
๔) ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : มุ่งส่งเสริม อนุรักษ์และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อันเป็นภารกิจหลักที่สำคัญของมหาวิทยาลัย โดยการบริหารจัดการ บูรณาการเข้ากับโครงการและกิจกรรมการเรียนการสอน และสอดคล้องกับพันธกิจและอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
สถานที่ตั้ง
สำนักงานคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา
เลขที่ ๗๘ หมู่ที่ ๑ ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ ๕๕
ตำบล ลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รหัสไปรษณีย์ ๑๓๑๗๐
โทร. ๐-๓๕๒๔-๘๐๐๐-๕, ๐-๓๕๓๕-๔๗๑๐,๐-๓๕๓๕-๔๗๑๑
โทรสาร ๐-๓๕๒๔-๘๐๐๖
Homepage : http://www.mcu.ac.th/
Homepage : http://gds.mcu.ac.th/
บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
อาคาร ๑๐๐ ปีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร)
เลขที่ ๓๐ หมู่ ๑ บ้านโคกสี ตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
๔๐๐๐๐ โทร. ๐-๔๓๒๘-๓๕๔๖-๗ ต่อ ๑๓๒ โทรสาร ๐-๔๓๒๘-๓๓๙๙
Homepages : http://kk.mcu.ac.th E-mail : pipisit@hotmail.com
อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ,ผศ.ดร.* | Ph.D.(Buddhist studies)
พธ.ม.(พระพุทธศาสนา) พธ.บ.(รัฐศาสตร์) |
|
๒ | รศ.ดร.โสวิทย์ บำรุงภักดิ์* | พธ.ด.(พระพุทธศาสนา)
M.A.(Buddhist studies) พธ.บ.(ปรัชญา) |
๓ | พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ,ผศ.ดร.* | Ph.D.(Pali&Theravada)
M.A.(Sanskrit) ศศ.บ.(มัธยมศึกษา) พธ.บ.(ศาสนา) |
๔ | พระโสภณพัฒนบัณฑิต,รศ. | ศศ.ม.(ปรัชญา)
ศษ.บ.(ปฐมวัย) พธ.บ,(ศาสนา) |
๕ | พระครูสุธีคัมภีรญาณ,ผศ.ดร. | Ph.D.(Pali & Buddhist studies),
M.A.(Linguistics),(Pali Literature) พธ.บ.(ภาษาไทย) |
๖ | พระมหาบรรจง สิริจนฺโท,ดร. | Ph.D.(Philosophy)
M.A.(Philosophy) พธ.บ.(ปรัชญา) |
อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
๑ | พระโสภณพัฒนบัณฑิต,รศ.*
(รองศาสตราจารย์สาขาพระพุทธศาสนา) |
ศศ.ม.(ปรัชญา)
ศษ.บ.(ปฐมวัย) พธ.บ.(ศาสนา) |
๒ | พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ,ผศ.ดร.*
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาพระพุทธศาสนา) |
Ph.D.(Buddhist studies)
พธ.ม.(พระพุทธศาสนา) พธ.บ.(รัฐศาสตร์) |
๓ | รศ.ดร.โสวิทย์ บำรุงภักดิ์*
(รองศาสตราจารย์สาขาปรัชญา) |
พธ.ด.(พระพุทธศาสนา)
M.A.(Buddhist studies) พธ.บ.(ปรัชญา) |
๔ | พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ,ผศ.ดร. (ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาพระพุทธศาสนา) |
Ph.D.(Pali&Theravada),
M.A.(Sanskrit) ศศ.บ.(มัธยมศึกษา) พธ.บ.(ศาสนา) |
๕ | พระครูสุธีคัมภีรญาณ,ผศ.ดร. (ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาพระพุทธศาสนา) |
Ph.D.(Pali & Buddhist studies)
M.A.(Linguistics),(Pali Literature) พธ.บ.(ภาษาไทย) |
๖ | พระมหาบรรจง สิริจนฺโท,ดร. | Ph.D.(Philosophy)
M.A.(Philosophy) พธ.บ.(ปรัชญา) |
อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
๑ | ดร.สุนทร สายคำ*
|
พธ.ด. (พุทธบริหารการศึกษา)
ศษ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา) ป.บัณฑิต (วิชาชีพครู) อส.บ. (ไฟฟ้ากำลัง) |
๒ | พระอธิการบุญช่วย โชติวํโส,ดร.*
|
ปร.ด. (การบริหารการศึกษา)
พธ.ม.(พระพุทธศาสนา) ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา) ป.บัณฑิต. (วิชาชีพครู) พธ.บ. (พระพุทธศาสนา) |
๓ | ดร.สมปอง ชาสิงห์แก้ว*
|
ปร.ด. (การบริหารการศึกษา)
กศ.ม. (การบริหารการศึกษา) กศ.บ. (เคมี-การบริหารการศึกษา) |
๔ | พระครูสโมธานเขตคณารักษ์,ดร.
|
ปร.ด. (การบริหารการศึกษา)
M.A.(Philosophy) พธ.บ.(ศาสนา) |
๕ | ดร.สังวาล เพียยุระ
|
ปร.ด. (การบริหารการศึกษา)
ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา) ค.บ. (สังคมศึกษา) |
อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
๑ | ผศ.ดร.วิทยา ทองดี*
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาการสอนสังคมศึกษา)
|
Ph.D.(Social Science)
ศษ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา) ศษ.บ.(ประถมศึกษา) พธ.บ. (การสอนสังคมศึกษา)
|
๒ | นายสาคร มหาหิงค์*
|
ค.ด. (การบริหารจัดการศึกษา)
ศศ.ม. (พัฒนาสังคม) M.Ed. (Ed Ad) กศ.บ. (สังคมศึกษา) |
๓ | นายอภิสิทธิ์ โคตรนรินทร์*
|
ปร.ด.(หลักสูตรและการเรียนการสอน)
วท.บ.(สถิติประยุกต์) กศ.ม.(คณิตศาสตร์) |
๔ | นายทวีศิลป์ สารแสน | กศ.ด. (เทคโนโลยีการศึกษา)
กศ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา) ศษ.บ. (การบริหารการศึกษา) กศ.บ. (พลศึกษา) |
๕ | นายสมปอง ชาสิงห์แก้ว
|
ปร.ด.(การบริหารกาศึกษา)
กศ.ม.(การบริหารกาศึกษา) กศ.บ. (เคมี) |
*ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
[๑] ปัจจุบัน คือ พระสุธีวรญาณ รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ
[๒] ปัจจุบัน คือ พระเทพกิตติโมลี เจ้าอาวาสวัดศรีนครินทรวราราม ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
[๓] ปัจจุบัน คือ พระเมธีรัตนดิลก, ดร. อาจารย์ประจำคณะพุทธศาสตร์
[๔] ปัจจุบัน คือ พระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
[๕] ปัจจุบัน คือ พระโสภณพัฒนบัณฑิต,รศ.ดร. (สุกันยา อรุโณ) รองอธิการบดี วิทยาเขตขอนแก่น