คําอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา
หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐

๖๐๐ ๑๐๑ พระไตรปิฎกวิเคราะห์ Tipitaka Analysis ๓(๓-๐-๖)
               ศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างสาระและพัฒนาการพระไตรปิฎก สาระสังเขปและวิเคราะห์หลักธรรมสำคัญ หลักธรรมที่ประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ
๖๐๐ ๑๐๒ พุทธปรัชญา Buddhist Philosophy ๓(๓-๐-๖)
               วิเคราะห์ประวัติและพัฒนาการของพุทธปรัชญาในพระพุทธศาสนายุคต้น  เถรวาท  สรวาสติวาท เสาตราน ติกะ มาธยมิกะ โยคาจาร สุขาวดีและพุทธตันตระ ทั้งนี้การศึกษาแนวคิดเหล่านั้นจะเน้นการศึกษาวิเคราะห์ในกรอบของ แนวคิดทางอภิปรัชญา แนวคิดทางญาณวิทยาและแนวคิดทางจริยศาสตร์
๖๐๒ ๒๐๓ ระเบียบวิธีวิจัยทางพระพุทธศาสนา Research Methodology in Buddhism ๓(๓-๐-๖)
               ศึกษาหลักการและกระบวนการของการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงเอกสารโดย เน้นระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับการศึกษาทางพระพุทธศาสนา
๖๐๐ ๑๐๔ พระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษ Buddhism  in English (๓)(๓-๐-๖)
               ศึกษาพระพุทธศาสนาผ่านภาษาอังกฤษทั้งการพูด การฟัง การอ่านและการเขียนโดยเน้นฝึกหาการใช้ศัพท์ เฉพาะวิชาการด้านพระพุทธศาสนา(technical term) การอ่านคัมภีร์หรือตํารางานวิจัยทางพระพุทธศาสนาใน ภาษาอังกฤษเพื่อประโยชน์ในการทำงานวิชาการของนิสิต
๖๐๐ ๒๐๕  กรรมฐาน Buddhist Meditation (๓)(๓-๐-๖)
               ศึกษาหลักสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และ ปกรณ์วิเสส รวมทั้งรูปแบบการปฏิบัติกรรมฐานของสำนักต่างๆ ในสังคมไทย โดยเน้นศึกษาอารมณ์ของสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ลำดับขั้นตอนของการเจริญกรรมฐานและผลที่เกิดจากการเจริญกรรมฐาน ได้แก่ สมาบัติ ๘ และวิปัสสนาญาณ ๑๖ เป็นต้น
๖๐๐ ๔๐๑ สัมมนาวิทยานิพนธ์ Seminar on Thesis (๓)(๓-๓-๖)
               สัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับตัวอย่างงานวิจัยและวิทยานิพนธ์วิเคราะห์โครงสร้างเนื้อหาวิทยานิพนธ์ โดยเน้น การตั้งชื่อ วัตถุประสงค์ ขอบเขตการวิจัย คํานิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม วิธีการดำเนินการวิจัย และผลการวิจัย รวมทั้งฝึกปฏิบัติการเขียนวิทยานิพนธ์และบทความวิจัย
๑๐๒ ๓๐๒  การใช้ภาษาบาลี ๑ Usage of Pali I (๓)(๓-๐-๖)
               ศึกษาประวัติและพัฒนาการภาษาบาลี  การพูด อ่าน เขียน ภาษาบาลีในระดับพื้นฐาน และแปลบาลีเป็น ภาษาไทยและภาษาไทยเป็นภาษาบาลี โดยใช้หนังสือชาตกัฏฐกถาและธรรมปทัฏฐกถาประกอบ
๑๐๒ ๓๐๖ การใช้ภาษาบาลี ๒ Usage of Pali II (๓)(๓-๐-๖)
               ศึกษาการพูด อ่าน เขียน ภาษาบาลี ต่อจากการใช้ภาษาบาลี ๑ และแปลภาษาบาลีเป็นไทย และภาษาไทยเป็น ภาษาบาลี โดยใช้หนังสือมังคลัตถทีปนีและวิสุทธิมรรคประกอบ
๖๐๒ ๑๐๖ พระพุทธศาสนาเถรวาท Theravada Buddhism ๓(๓-๐-๖)
               ศึกษากำเนิดและพัฒนาการของพระพุทธศาสนาเถรวาท คัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและหลักคําสอนสำคัญ ที่สะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นพุทธศาสนาเถรวาทพร้อมทั้งการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศต่างๆ
๖๐๒ ๓๐๗  พระพุทธศาสนามหายา Mahayana Buddhism ๓(๓-๐-๖)
               ศึกษากำเนิดและพัฒนาการของพระพุทธศาสนามหายาน คัมภีร์สำคัญ นิกายสำคัญทางพระพุทธศาสนา มหายานและคําสอนสำคัญที่สะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นพุทธศาสนามหายานพร้อมทั้งการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มหายานในประเทศต่างๆ
๖๐๒ ๒๐๘  ศึกษางานสำคัญทางพระพุทธศาสนา Selected Buddhist Works ๓(๓-๐-๖)
               ศึกษาผลงานทางคัมภีร์ ผลงานทางวรรณกรรมและหลักคําสอนสำคัญของนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาคน สำคัญทั้งในอดีตและปัจจุบันที่สะท้อนอัตลักษณ์และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเช่นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ พระ อนุรุทธาจารย์ พระสิริมังคลาจารย์ พระพุทธทาสภิกขุ พระพุทธโฆสาจารย์(ป.อ.ปยุตฺโต) พระวัลโปละราหุล พระโสภณ มหาเถระ(เลดีสยาดอ) นาคารชุน อสังขะ วสุพันธุ สองขะปะ(วัชรยาน) พระนารทมหาเถระ(ศรีลังกา) ริส เดวิดส์ เชอร์ บาตสกี ดี.ที.ซูซูกิ ทะไลลามะ ติช นัท ฮันห์ เป็นต้น
๖๐๒ ๓๐๙  สัมมนาพระพุทธศาสนา Seminar on Buddhism ๓(๓-๐-๖)
               สัมมนาพระพุทธศาสนากับประเด็นปัญหาสังคมปัจจุบันโดยให้นิสิตมีส่วนร่วมในการกำหนดประเด็นการ อภิปราย เสนอข้อคิดเห็น และการวิเคราะห์หาแนวทางประยุกต์พุทธธรรมมาแก้ปัญหาสังคมปัจจุบัน
๖๐๒ ๓๑๐  พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาสังคมร่วมสมัย Buddhist Ethics and Contemporary Social Problems ๓(๓-๐-๖)
               ศึกษาแนวคิดทางพุทธจริยศาสตร์ที่เกี่ยวกับเกณฑ์ตัดสินความดี ความชั่ว ควร ไม่ควร เพื่อเป็นฐานในการ อธิบายและตอบปัญหาสังคมร่วมสมัย โดยเฉพาะปัญหาที่มีผลกระทบมาจากความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เช่น การทำแท้ง การตัดต่อพันธุกรรม การทำการุณยฆาต การทำโคลนนิ่ง
๖๐๒ ๓๑๑  ขบวนการพุทธใหม่ในโลกปัจจุบัน New-Buddhist Movements in Contemporary World ๓(๓-๐-๖)
               ศึกษาขบวนการพระพุทธศาสนาแนวใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมโลกปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างบริบททางสังคม กับการเกิดขึ้นของขบวนการพระพุทธศาสนา รูปแบบการจัดตั้งองค์กร การตีความคําสอน วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมทั้งอิทธิพลต่อสังคมปัจจุบัน
๖๐๒ ๓๑๓  พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่   Buddhism and Modern Sciences ๓(๓-๐-๖)
               ศึกษาพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ที่ครอบคลุมวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์โดยการบูรณาการ การวิเคราะห์เปรียบเทียบและการประยุกต์อธิบายคําสอนทางพระพุทธศาสนา
๖๐๒ ๓๑๔  พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทย Buddhism and Thai wisdom ๓(๓-๐-๖)
               ศึกษาหลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีความสัมพันธ์กับภูมิปัญญาไทย ในด้านประวัติศาสตร์ ปรัชญา ความเชื่อ จารีตประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม เป็นต้น โดยวิเคราะห์บทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อภูมิ ปัญญาไทย
๖๐๒ ๓๑๕  สานเสวนาทางศาสนา Inter-Religious Dialogue ๓(๓-๐-๖)
               ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและวิธีการสานเสวนาทางศาสนา  รวมถึงวิธีการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือทาง ศาสนา เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความสามัคคีและสันติภาพของโลก
๖๐๒ ๔๐๐ วิทยานิพนธ์ Thesis ๑๒ หน่วยกิต
               เป็นโครงการเฉพาะบุคคลที่มีเนื้อหาตามลักษณะวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
๖๐๒ ๒๐๐ สารนิพนธ์ Research  paper ๖ หน่วยกิต
               เป็นโครงการเฉพาะบุคคลที่มีเนื้อหาตามลักษณะวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร