คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป   ๓๐ หน่วยกิต 

          ๑.๑ วิชาบังคับ    จำนวน  ๑๘  หน่วยกิต

๐๐๐ ๑๐๑   มนุษย์กับสังคม  (Man and Society )                 ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาความหมายและความเป็นมาเกี่ยวกับมนุษย์กับสังคม ตามหลักการทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม สถาบันสังคม ประชาสังคม กระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม การวิเคราะห์ปัญหาสังคมและแนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมแบบสันติวิธี ความเป็นพลเมือง และการสื่อสารทางสังคมยุค New Normal  
๐๐๐ ๑๐๒   กฎหมายทั่วไป (General  Law) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาวิวัฒนาการของกฎหมาย ความหมายและลักษณะของกฎหมาย ที่มาของกฎหมาย ประเภทของกฎหมาย การใช้กฎหมาย การยกเลิกกฎหมาย กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล ครอบครัว มรดก พินัยกรรม สัญญาประเภทต่างๆ ที่สำคัญ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายอาญา ความรับผิดในทางอาญา เหตุยกเว้นความผิดและเหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิด กระบวนการยุติธรรมของไทย  
๐๐๐ ๑๐๓   คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล  (Computer and Digital Technology) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ ความปลอดภัย กฎหมาย จริยธรรมในสังคมดิจิทัล และความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต ฝึกทักษะการใช้อินเทอร์เน็ต สื่อ การสื่อสารยุคดิจิทัล เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดทำเอกสาร ตารางคำนวณ และการนำเสนอข้อมูลได้  
๐๐๐ ๒๐๔   ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (English for Communications) ๓ (๓-๐-๖)
      ฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในด้านการฟังและการพูด การอ่านและการเขียนเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน การทักทาย การแนะนำตัว   การแสดงออกทางความรู้สึกและความคิดเห็นการแสดงบทบาทสมมติ  ศึกษาโครงสร้างและการใช้ไวยากรณ์ เพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ  
๐๐๐ ๒๐๕   ปรัชญาเบื้องต้น (Introduction to Philosophy) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาความหมาย ขอบเขตของปรัชญา ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา สาขาปรัชญา สาระสำคัญของปรัชญาสาขาต่าง ๆ พัฒนาการของปรัชญาตะวันออกและปรัชญาตะวันตก หลักการและวิธีให้เหตุผลทางปรัชญา  
๐๐๐ ๒๐๖ คณิตศาสตร์และสถิติเพื่อการวิจัย (Mathematics and Statistics for Research)   ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ตัวบ่งชี้เชิงปริมาณ เชต การให้เหตุผล ระบบและคุณสมบัติของจำนวนจริง สมการและอสมการ ความสัมพันธ์ ฟังก์ชั่น เมทริกซ์ หลักพื้นฐานทางสถิติ การรวบรวมข้อมูล การแจกแจงความถี่ และการหาค่าแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง สถิติแบบบรรยาย สถิติทดสอบ การทดสอบสมมติฐาน รูปแบบการวิจัย การออกแบบการวิจัย ขั้นตอนการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป การเขียนโครงร่างการวิจัยและการเขียนรายงานผลการวิจัย  

๑.๒  วิชาเลือก  จำนวน  ๑๒  หน่วยกิต

๐๐๐ ๑๐๗ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง (Introduction to Politics and Government) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมืองและการปกครอง พัฒนาการการเมืองการปกครอง สถาบันทางการเมือง กระบวนการทางการเมืองและการปกครอง การจัดระเบียบการปกครอง ปัญหาและอุปสรรคทางการเมือง และแนวคิดพระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครอง  
๐๐๐ ๑๐๘   เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Economics) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์  ระบบเศรษฐกิจ อุปสงค์  อุปทาน  การกำหนดราคาดุลยภาพ  พฤติกรรมผู้บริโภค ทฤษฎีการผลิต ตลาดในระบบเศรษฐกิจ รายได้ประชาชาติ การเงิน วัฏจักรเศรษฐกิจ ดุลการค้าและดุลการชำระเงิน การพัฒนาเศรษฐกิจ ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน และเทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ ของระบบเศรษฐกิจบทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างเศรษฐกิจ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทยและแนวทางแก้ไข และศึกษาเศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ  
๐๐๐ ๑๐๙   จิตวิทยาเพื่อการพัฒนาตน (Psychology for Self-Development) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางจิตวิทยาและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เข้าใจตนเองและผู้อื่น สามารถวิเคราะห์ตนเองและผู้อื่น  มีทักษะในการสื่อสาร สร้างสัมพันธภาพและทำงานเป็นทีม  
๐๐๐ ๑๑๐   ภาษาศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Linguistics) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาความเป็นมา ความหมาย ความสำคัญ แนวคิดและทฤษฎีทางวิชาภาษาศาสตร์ ลักษณะทั่วไปของภาษา  สาขาวิชาภาษาศาสตร์ และวิเคราะห์ภาษาตามแนวภาษาศาสตร์  
๐๐๐ ๑๑๑    ทักษะการใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ (Language Skills for Learning) ๓ (๓-๐-๖)
      ความรู้เกี่ยวกับภาษาและทักษะภาษาที่จำเป็นต่อการสื่อสาร หลักการใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้และสืบค้นข้อมูล การสืบค้นข้อมูลท้องถิ่น และข้อมูลสารสนเทศจากสื่อทุกประเภท การใช้ห้องสมุด วิธีการแสวงหาความรู้ การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ และการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ โดยใช้กระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษาในการสรุปความ ตีความ วิเคราะห์ วิจารณ์และสังเคราะห์ นำเสนอเป็นลายลักษณ์อักษร วาจา และสื่อประสม  
๐๐๐ ๑๑๒   วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Modern Science and Technology) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาหลักพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ประวัติและผลงานของนักวิทยาศาสตร์ในยุคต่าง ๆ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์กับชีวิตประจำวัน วิทยาศาสตร์ประยุกต์ พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์   
หลักพื้นฐานทางเทคโนโลยี  กระบวนการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีอุตสาหกรรม เทคโนโลยีภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น พระพุทธศาสนากับเทคโนโลยี
๐๐๐ ๑๑๓ ตรรกศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Logic)      ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษานิมิต คำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน วิภาค การนิยามความหมาย ญัตติประพจน์ในแบบ  ต่าง ๆ การแบ่งญัตติ ความเป็นปฏิปักษ์แห่งญัตติ ญัตติผสม การให้เหตุผล ปรัตถานุมานและปฤจฉาวาทีแบบต่าง ๆ ศึกษาหลักการและวิธีการให้เหตุผลจากบทสนทนาของพระพุทธเจ้าในอนัตตลักขณสูตรหรือในสูตรอื่น ๆบทสนทนาในคัมภีร์กถาวัตถุ ญาณวิทยาของนิกายสรวาสติวาท วิภาษวาทีของนาคารชุน เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างระหว่างตรรกศาสตร์ตะวันตก  กับตรรกศาสตร์ตะวันออก โดยเฉพาะหลักการเชิงตรรกในคัมภีร์  
๐๐๐ ๑๑๔ มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (Man  and  Environment) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับมนุษย์ แนวคิดการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และบทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย  
๐๐๐ ๑๑๕  เหตุการณ์โลกปัจจุบัน (Current  World  Affairs) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในโลก ทั้งมิติทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ความร่วมมือและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมโลก ประเทศไทยกับเหตุการณ์สำคัญของโลก ความร่วมมือของชาวพุทธในเวทีโลก บทบาทของพระพุทธศาสนากับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในโลกปัจจุบัน  
๐๐๐ ๑๑๖   ภาษาสันสกฤตเบื้องต้น (Basic  Sanskrit) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาโครงสร้างของภาษาสันสกฤต อักษร เครื่องหมาย ระบบเสียง การเปลี่ยนแปลงอักษรและเสียง การเขียน การอ่านคำศัพท์ ส่วนประกอบของนามศัพท์ การแจกรูปนามศัพท์สระการันต์ สระสนธิ บุรุษสรรพนาม นิยมสรรพนาม ปฤจฉาสรรพนาม สัมพันธสรรพนาม กริยาศัพท์ ส่วนประกอบของกริยาอาขยาต การประกอบรูปเป็นอาขยาตกรรตุวาจกจากธาตุ การแจกรูปกริยา แปลและแต่งประโยคสันสกฤตที่เหมาะสมกับไวยากรณ์ที่ได้ศึกษา    
๐๐๐ ๑๑๗ ภาษาสันสกฤตชั้นสูง (Advanced  Sanskrit) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษานามศัพท์ การแจกรูปนามศัพท์ พยัญชนะการันต์ พยัญชนะสนธิ สังขยาศัพท์ อัพยยศัพท์ กริยาศัพท์ การประกอบรูปเป็นอาขยาตกรรตุวาจกจากธาตุ กริยาอาขยาตกรรมวาจก ภาววาจก ณิชันตกรรตุวาจก ณิชันตกรรมวาจก การสลับเปลี่ยนประโยคกรรตุวาจกเป็นกรรมวาจก ประโยคคำถาม ประโยคปฏิเสธ แปลและแต่งประโยคสันสกฤตที่เหมาะสมกับไวยากรณ์ที่ได้ศึกษา    
๐๐๐ ๑๑๘   ภาษาไทยเบื้องต้น (Basic Thai) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาหน่วยเสียงพยัญชนะ หน่วยเสียงสระ  หน่วยเสียงวรรณยุกต์ หน่วยคำ ระบบไวยากรณ์ ความหมายในภาษาไทย  ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน  เขียนภาษาไทย ฟังคำสั่ง คำบรรยาย จดบันทึกเรื่องที่ฟัง  พูด ทักทาย ขอบคุณ ขอโทษ  ขออนุญาต แนะนำตัวเอง แนะนำผู้อื่น บอกชื่อสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน  สนทนาได้ทั้งคำที่แสดงความหมายรูปธรรมและนามธรรม  
๐๐๐ ๑๑๙   ภาษาไทยชั้นสูง  (Advanced  Thai) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาวิเคราะห์หน่วยเสียงพยัญชนะ หน่วยเสียงสระ  หน่วยเสียงวรรณยุกต์  หน่วยคำ ระบบไวยากรณ์   ความหมายในภาษาไทย  ฝึกทักษะการฟังข่าวจากวิทยุ  โทรทัศน์  การพูดวาทศิลป์  การอ่านหนังสือพิมพ์และตำราวิชาการ การเขียนบทความ  และฝึกแต่งกาพย์  กลอน  โคลง  ฉันท์ในภาษาไทย  
๐๐๐ ๒๒๐   ภาษาจีนเบื้องต้น (Basic Chinese) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาโครงสร้างของภาษาจีนในเรื่องระบบเสียง ระบบคำ และระบบประโยค ฝึกการอ่าน การเขียนภาษาจีน และการฝึกสนทนาโดยอาศัยข้อมูลจากสถานการณ์ปัจจุบัน  
๐๐๐ ๒๒๑   ภาษาจีนชั้นสูง (Advanced  Chinese) ๓ (๓-๐-๖)
      ฝึกทักษะในการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาจีน เน้นการสนทนาโดยอาศัยข้อมูลจากสถานการณ์ปัจจุบัน  
๐๐๐ ๒๒๒   ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น (Basic  Japanese) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาโครงสร้างของภาษาญี่ปุ่น ในเรื่องระบบเสียง ระบบคำ และระบบประโยค ฝึกการอ่าน เขียนภาษาญี่ปุ่น และการสนทนาโดยอาศัยข้อมูลจากสถานการณ์ปัจจุบัน  
๐๐๐ ๒๒๓   ภาษาญี่ปุ่นชั้นสูง (Advanced  Japanese) ๓ (๓-๐-๖)
      ฝึกทักษะในการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาญี่ปุ่น เน้นการสนทนาโดยอาศัยข้อมูลจากสถานการณ์ปัจจุบัน  
๐๐๐ ๒๒๔   ภาษาฮินดีเบื้องต้น (Basic  Hindi) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาโครงสร้างของภาษาฮินดี  ในเรื่องระบบเสียง  ระบบคำ  และระบบประโยค  ฝึกการฟัง อ่านเขียน  สนทนาภาษาฮินดี  และระบบไวยากรณ์พื้นฐานที่นิยมใช้ในชีวิตประจำวัน  
๐๐๐ ๒๒๕   ภาษาฮินดีชั้นสูง (Advanced  Hindi) ๓ (๓-๐-๖)
      ฝึกทักษะในการฟัง  พูด  อ่าน  และเขียนภาษาฮินดี  เน้นการสนทนา  โดยอาศัยข้อมูลจากสถานการณ์ปัจจุบัน  
๐๐๐ ๒๒๖   วัฒนธรรมไทย (Thai  Culture)   ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาความหมายและเนื้อหาของวัฒนธรรม พัฒนาการของวัฒนธรรมไทย ประเภทของวัฒนธรรม พระพุทธศาสนากับวัฒนธรรม การอนุรักษ์ การเผยแพร่และสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมไทยกับการพัฒนา ผลกระทบของวัฒนธรรมต่างชาติต่อวัฒนธรรมไทย  
๐๐๐ ๒๒๗   มนุษย์กับอารยธรรม (Man  and  Civilization) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยปัจจุบัน ความหมายของอารยธรรม บ่อเกิดและพัฒนาการของอารยธรรมตะวันออกและตะวันตกในยุคต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของสังคมตะวันออกและตะวันตก ที่ก่อให้เกิดผลกระทบและความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ การแลกเปลี่ยนกันระหว่างอารยธรรมตะวันออกกับตะวันตก และอิทธิพลของอารยธรรมทั้งสองที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  
๐๐๐ ๒๒๘   สันติศึกษา (Peace  Education) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความขัดแย้ง ความรุนแรง สันติภาพและปฏิบัติการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี  ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดและแนวปฏิบัติของนักสันติวิธีทั้งตะวันออก ตะวันตกและศาสนาต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในการป้องกันแก้ไขและเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งและความรุนแรง อีกทั้งพัฒนาทักษะในกระบวนการการเสริมสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมพหุวัฒนธรรมและมีขันติธรรมในการฟังและอยู่ร่วมกับศาสนาและชาติพันธุ์ต่างๆอย่างสันติสุข  
๐๐๐ ๒๒๙ ภาวะผู้นำ (Leadership) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่นำการเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์งานในศตวรรษที่ ๒๑ รวมถึงศึกษา คุณลักษณะและบทบาทของผู้นำกับการใช้การสื่อสารที่เอื้ออาทร ผู้นำกับความเห็นที่ถูกต้องดีงามและความเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์คุณธรรมและจริยธรรมของผู้นำ วิสัยทัศน์ผู้นำ ผู้นำกับการสร้างความสัมพันธ์แห่งกรุณา โดยอาศัยองค์ความรู้ภาวะผู้นำตามทฤษฎีตะวันตกและภาวะผู้นำในทางพระพุทธศาสนา ถอดบทเรียนภาวะผู้นำของบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กรทั้งในประเทศและระดับโลกที่สามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จและเกิดสันติสุขแก่สังคมและชุมชนทั้งในประเทศและระดับโลก  
๐๐๐ ๒๓๐ หลักธรรมาภิบาล (Good  Governance) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาความหมาย องค์ประกอบ ความสำคัญของหลักธรรมาภิบาล ๖ ประการ คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบและหลักความคุ้มค่า  
๐๐๐ ๒๓๑ การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสื่อและสื่อปลอม อิทธิพลของสื่อปลอมที่มีต่อสังคม การตรวจสอบข่าว เทคนิคการรู้เท่าทันข่าวปลอม การรู้เท่าทันสื่อชวนเชื่อต่างศาสนา อันได้แก่สื่อชวนเชื่อที่บิดเบือนหลักพุทธธรรม สื่อชวนเชื่อ ที่ใส่ร้ายบุคคลหรือองค์กร โดยใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือจนสร้างความขัดแย้งในสังคม  
๐๐๐ ๒๓๒ ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม ความละอายและความ ไม่ทนต่อการทุจริต รู้หน้าที่ของพลเมืองและรับผิดชอบต่อสังคมในการต่อต้านการทุจริต และ STRONG : จิตพอเพียงต่อต้านการทุจริต โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย มุ่งเน้นให้นักศึกษาเกิดความรู้ความ เข้าใจ ทักษะ เจตคติ ด้านการป้องกันการทุจริต  
๐๐๐ ๒๓๓ ศาสนาทั่วไป  (General  Religions) ๓ (๓-๐-๖)
  ศึกษาความหมาย ลักษณะ ความสำคัญ คุณค่าของศาสนา ประวัติ พัฒนาการ หลักในการศึกษาศาสนา หลักคำสอน พิธีกรรมและจุดมุ่งหมายของศาสนาต่าง ๆ วิเคราะห์ลักษณะที่เป็นสากลร่วมกันและต่างกันของศาสนาปัจจุบัน อิทธิพลของศาสนาต่อสังคมโลก วิธีการเผยแผ่ศาสนา  ความร่วมมือระหว่างศาสนา และท่าทีของศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย  

๒. หมวดวิชาฉพาะ ๑๐๔ หน่วยกิต

๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา ๓๐ หน่วยกิต

๐๐๐ ๑๓๔ วรรณกรรมพระพุทธศาสนา  (Buddhist Literature) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาประวัติและพัฒนาการของวรรณกรรมบาลีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ศึกษาอยู่ในประเทศไทย โดยวิเคราะห์วรรณกรรมที่น่าสนใจ เช่น วิมุตติมรรค วิสุทธิมรรค มหาวงศ์ ทีปวงศ์ ศาสนวงศ์ เตภูมิกถา  มังคลัตถทีปนี  กาพย์มหาชาติ สังคีติยวงศ์  มงคลวิเสสกถา  แก่นพุทธศาสน์  กรรมทีปนี  พุทธธรรม พุทธวิทยา และพระไตรปิฎกฉบับสากล: วิถีธรรมจากพุทธปัญญา  
๐๐๐ ๑๓๕ พระไตรปิฎกศึกษา (General  Law) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาประวัติและพัฒนาการของคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา โยชนา โครงสร้างและเนื้อหาสำคัญของพระไตรปิฎก เช่น มหาวิภังค์ ภิกขุณีวิภังค์ และมหาวัคค์ในพระวินัยปิฎก พระสูตรสำคัญ เช่น พรหมชาลสูตร มหาปรินิพพานสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร จูฬกัมมวิภังคสูตรในพระสุตตันตปิฎก ศึกษาสาระเบื้องต้นของปรมัตถธรรม คือ จิต เจตสิก รูป นิพพานในพระอภิธรรมปิฎก   การสืบทอดโดยมุขปาฐะและลายลักษณ์อักษร ความเป็นมาของพระไตรปิฎกในประเทศไทย พระไตรปิฎกบาลีอักษรต่างๆ และประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาพระไตรปิฎก  
๐๐๐ ๑๓๖   ภาษาบาลี  (Pali)                    ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาบาลีไวยากรณ์ ประกอบด้วย อักขรวิธี วจีวิภาค และหลักการแต่ง-แปลบาลีเบื้องต้น  
๐๐๐ ๒๓๗   ประวัติพระพุทธศาสนา  (History of Buddhism) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาประวัติพระพุทธศาสนาในอินเดีย การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดียไปในประเทศต่างๆ ความสำคัญ ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา ฐานะและบทบาทของพระพุทธศาสนาในนานาประเทศ พระพุทธศาสนากับสังคมวัฒนธรรมในนานาประเทศ ขบวนการและองค์กรทางพระพุทธศาสนาในปัจจุบันและทิศทางในอนาคต และบทบาทของคณะสงฆ์ไทยกับการสืบพระพุทธศาสนาตามพุทธปณิธานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  
๐๐๐ ๒๓๘   เทศกาลและพิธีกรรมพระพุทธศาสนา  (Buddhist Festival and Traditions) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาเทศกาลและพิธีกรรมที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลและสมัยหลังพุทธกาล ความสำคัญ คุณค่าทางจริยธรรมของเทศกาลและพิธีกรรม เทศกาลและพิธีกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ถือปฏิบัติในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อิทธิพลของเทศกาลและพิธีกรรมนั้นๆ ที่มีต่อสังคมไทย  
๐๐๐ ๒๓๙ ธรรมะภาคภาษาอังกฤษ  (Dhamma in English) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาศัพท์ธรรมะทางพระพุทธศาสนาที่นิยมใช้กันแพร่หลายในภาษาอังกฤษ และหนังสือที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่นักปราชญ์ได้รจนาไว้เป็นภาษาอังกฤษ ฝึกทักษะด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนธรรมภาคภาษาอังกฤษ  
๐๐๐ ๑๔๐   กรรมฐาน ๑ (Buddhist Meditation I) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาความเป็นมา ความหมาย หลักการ ประโยชน์และวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน อารมณ์ของสมถกรรมฐาน ๔๐  วิปัสสนาภูมิ ๖  สติปัฏฐาน  ๔  หลักธรรมที่ควรรู้  ได้แก่   ภาวนา ๓  นิมิต ๓  สมาธิ ๓  รูปฌาน ๔  อรูปฌาน ๔ วสี ๕  นิวรณ์ ๕  อุปกิเลส ๑๖  และฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม นั่งกำหนด  ส่งและสอบอารมณ์  
๐๐๐ ๒๔๑   กรรมฐาน ๒ (Buddhist Meditation II) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  ตามแนวกายานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร   และอานาปานสติสูตร วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทั้งแบบสมถยานิกะ และวิปัสสนายานิกะ หลักธรรมที่ควรรู้ ได้แก่ สิกขา ๓ วิชชา ๓ และสามัญญลักษณะ ๓ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม  นั่งกำหนด  ส่งและสอบอารมณ์  
๐๐๐ ๓๔๒   กรรมฐาน ๓ (Buddhist Meditation III) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  ตามแนวเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร วิธีการปรับอินทรีย์ ๕ หลักธรรมที่ควรรู้ได้แก่ วิปัลลาส ๓ อภิญญา ๖ วิสุทธิ ๗ วิชชา ๘ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม  นั่งกำหนด  ส่งและสอบอารมณ์  
๐๐๐ ๔๔๓   กรรมฐาน ๔ (Buddhist Meditation IV) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  ตามแนวจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานและธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในมหาสติปัฏฐานสูตร กระบวน การเกิดของไตรสิกขาและไตรลักษณ์ หลักธรรมที่ควรรู้ได้แก่ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ วิปัสสนาญาณ ๑๖ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม นั่งกำหนด  ส่งและสอบอารมณ์  

๒.๒ วิชาแกนทางรัฐประศาสนศาสตร์

๔๐๒ ๒๐๑  ความรู้เบื้องต้นทางรัฐประศาสนศาสตร์  (Principle of Public Administration)   ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎีและขอบข่ายการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ ปทัสถานและวิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์  การบริหารการพัฒนา ปัจจัยแวดล้อมทางรัฐประศาสนศาสตร์  นโยบายและการวางแผนของรัฐ องค์การและการจัดการภาครัฐแนวใหม่  แนวโน้มรัฐประศาสนศาสตร์ของไทย  
๔๐๑ ๒๐๒ ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์  (Introduction to Political Science)          ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาธรรมชาติและวิธีการทางรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับศาสตร์ทางสังคมอื่นๆ ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์และหลักเกี่ยวกับอำนาจ การใช้อำนาจ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับบุคคล อำนาจกับกฎหมาย สถาบันทางการเมืองการปกครอง พลังและกระบวนการทางการเมืองและประชาคมนานาชาติ  
๔๐๒ ๓๐๓   ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration Theory) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาทฤษฎีและพฤติกรรมองค์การ โดยเริ่มจากแนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับองค์การสมัยดั้งเดิมถึงสมัยปัจจุบัน ความหมายและองค์ประกอบขององค์การ ตัวแปรในองค์การ วิธีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับองค์การ ปัจจัยพื้นฐานที่กำหนดพฤติกรรมการทำงานของมนุษย์ พฤติกรรมในการบริหาร อิทธิพลของโครงสร้างและกระบวนการในองค์การที่มีต่อพฤติกรรมการทำงานของมนุษย์  
๔๐๒  ๓๐๔ องค์การและการจัดการ (Organizational and Public Administration) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญขององค์การและการบริหาร สิ่งแวดล้อมการบริหาร กลไกในการบริหารงานสาธารณะ พัฒนาการของทฤษฎีองค์การและการบริหาร โครงสร้างและการออกแบบองค์การภาครัฐ กระบวนการบริหารองค์การภาครัฐ  
๔๐๒ ๓๐๕ นโยบายสาธารณะ (Public Policy) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะและการวางแผน ประเภทและวิธีการกำหนดนโยบายของรัฐ อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อนโยบาย การนำนโยบายไปกำหนดเป็นแผนงานและโครงการ เทคนิคและหลักการของการวางแผน และให้มีการศึกษาเฉพาะกรณี โดยเน้นการกำหนดนโยบายสาธารณะและการวางแผนของประเทศไทย  
๔๐๒ ๔๐๖ เทคนิคและเครื่องมือการบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์  (Technicque and tools in Public Administration) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาผลการวิจัยและแนวคิดใหม่ๆ ในการบริหาร การใช้เครื่องมือสมัยใหม่ในการบริหารงานและการวิจัย วิธีการทางคณิตศาสตร์ที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ การวิเคราะห์เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นในการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือบริหาร และพุทธวิธีเพื่อการบริหารงานสมัยใหม่  
๔๐๒ ๓๐๗ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Administration ) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาหลักสำคัญการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อรองรับความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจของประเทศและของโลก การรับบุคลากรภาครัฐ การฝึกอบรม การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน คุณธรรมจริยธรรมของผู้ปฏิบัติงาน การประเมินผลการทำงาน สิทธิประโยชน์ของทรัพยากรมนุษย์ ขวัญกำลังใจในการทำงานและแนวโน้ม  
๔๐๒ ๓๐๘   การบริหารงบประมาณและการคลังสาธารณะ  (Public Budgeting and Fiscal Administration) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎี และนโยบายเกี่ยวกับงบประมาณและการคลังสาธารณะ บทบาทและอิทธิพลของการเมืองที่มีต่องบประมาณและการคลังของประเทศ กระบวนการงบประมาณ เทคนิคและวิธีการวิเคราะห์งบประมาณ การสรุปการใช้จ่ายงบประมาณ โดยเน้นศึกษาการบริหารงบประมาณและการคลังสาธารณะของประเทศไทย  
๔๐๒ ๓๐๙ การบริหารการพัฒนาและการบริหารโครงการ (Development management and project management) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาความหมาย ทฤษฎี หลักการ และองค์ประกอบของการบริหารการพัฒนา ปัจจัยแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ส่งผลต่อการบริหารการพัฒนา องค์การที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารงานพัฒนาของประเทศ ปัญหาพื้นฐานในการบริหารโครงการพัฒนา โดยเน้นการบริหารการพัฒนาในประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาและศึกษาแนวความคิดและวิธีการวิเคราะห์โครงการ การจัดทำโครงการ การบริหารทรัพยากรของโครงการ การแก้ปัญหาและการปรับปรุงโครงการ การประสานงานกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การบริหารโครงการภายใต้การมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน การกำหนดเป้าหมายและวิธีการในการประเมินผลของโครงการ และให้มีการศึกษากรณีเฉพาะเรื่อง เน้นการบริหารโครงการพัฒนาของประเทศไทย โดยฝึกให้มีการเขียนโครงการเพื่อนำไปสู่การบริหารโครงการได้อย่างแท้จริง  
๔๐๒ ๓๑๐ พฤติกรรมองค์การ  (Organizational Behaviors) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาถึงพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การและการบริหารงาน  พฤติกรรมองค์การกับสภาพแวดล้อม  เศรษฐกิจ  การใช้พลังงานของกลุ่มให้เป็นประโยชน์ต่อองค์การ  พื้นฐานพฤติกรรมบุคคลเกี่ยวกับการรับรู้  ค่านิยม ทัศนคติ การจูงใจ การสร้างขวัญ กำลังใจและความพึงพอใจในงาน พื้นฐานพฤติกรรมกลุ่ม  การสื่อสารและการตัดสินใจของกลุ่ม  ภาวะผู้นำ อำนาจและการเมือง  ความขัดแย้งและพฤติกรรมระหว่างกลุ่ม  
๔๐๒ ๔๑๑ การบริหารเชิงกลยุทธ์  (Strategic Management) ๓ (๓-๐-๖)  
      ศึกษากระบวนการบริหาร นักบริหารกับการสื่อสาร การตัดสินใจ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคนิควิธีการเพื่อความสำเร็จขององค์กร การบริหารเชิงปฏิบัติการและการควบคุมคุณภาพ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การจัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม กฎหมายกับกิจกรรมการบริหาร การเสริมสร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนาความพร้อม การพัฒนาระบบคุณธรรมของนักบริหาร กระบวนการสานสัมพันธ์ กิจกรรมการดูงานและอื่นๆ  

๒.๓ วิชาเฉพาะด้านทางรัฐประศาสนศาสตร์

๔๐๑ ๔๑๒ กฎหมายปกครอง  (Administrative Law) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาประวัติ แนวคิดและสาระสำคัญของกฎหมายปกครอง การบริการสาธารณะ การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ระบบข้าราชการ ความเกี่ยวพันระหว่างข้าราชการกับรัฐตามกฎหมาย ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร บำเหน็จบำนาญข้าราชการ และการจัดตั้งศาลปกครองของไทย  
๔๐๑ ๔๑๓ กฎหมายอาญา  (Criminal Law) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาลักษณะกฎหมายอาญา ทฤษฎีว่าด้วยความรับผิดชอบ ขอบเขตบังคับกฎหมายอาญา การพยายามกระทำความผิด ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดเหตุยกเว้นความผิด ยกเว้นโทษ ลดโทษ การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง การกระทำความผิดอีก อายุความอาญา โทษในทางอาญาและวิธีการเพื่อความปลอดภัย รวมทั้งศึกษาทฤษฎีอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยาอีกด้วย  
๔๐๒ ๓๑๔ การบริหารการคลังส่วนท้องถิ่น (Local Fiscal Management) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเงินการคลังท้องถิ่น การบริหารรายได้และรายจ่ายของหน่วยปกครองระดับท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างระบบการคลังท้องถิ่นกับรัฐบาลแห่งชาติ กระบวนการบริหารงบประมาณที่เน้นผลงานบริการสาธารณะและการพัฒนาท้องถิ่น  ข้อจำกัดและแนวทางการพัฒนาระบบการคลังของท้องถิ่น  
๔๐๒ ๓๑๕ นวัตกรรมการบริหารสมัยใหม่ (Innovation in modern management) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาแนวความคิดการจัดการแนวความคิดใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นท่ามกลางศตวรรษที่ ๒๑ โดยศึกษาถึงความสำคัญของผู้นำกับการจัดการแบบใหม่ ประกอบด้วย การจัดการเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจ การจัดองค์กรสมัยใหม่ที่สอดคล้องกับกระบวนการการจัดการ การบริหารการเปลี่ยนแปลง และเทคนิคการจัดการสมัยใหม่   
๔๐๒ ๓๑๖ พุทธจริยธรรมทางการบริหาร  (Buddhist ethics in administration) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาจริยธรรมทางการบริหารที่มีมาตรฐานทางการสร้างระบบ กำกับ และตรวจสอบ ซึ่งคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่องค์การ โดยนำพุทธธรรมประกอบด้วย หลักอิทธิบาท ๔ หลักพละ ๕ หลักสาราณียธรรม หลักพรหมวิหารธรรม และหลักธรรมอื่นๆ มาใช้ในการพัฒนาจริยธรรมทางการบริหาร  
๔๐๒ ๔๑๗ วิธีวิทยาการวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์  (Research Methodology for Public Administration) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาวิธีวิทยาการวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์ ทั้งที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยครอบคลุมถึงการสร้างแนวความคิด ประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์ การตั้งสมมติฐาน การสร้างขอบข่าย การประมวลผล การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการรายงานการวิจัย ทั้งนี้ให้มีการฝึกหัดจัดทำโครงการวิจัยเสนอเป็นภาคปฏิบัติด้วย  
๔๐๒ ๔๑๘ ภาษาอังกฤษในสาขารัฐประศาสนศาสตร์  (English in the Field of  Public  Administration) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาโครงสร้าง ศัพท์และสำนวนที่ใช้กันมากในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และฝึกการใช้ศัพท์และสำนวนเหล่านั้นในการเขียนและการพูด ตลอดทั้งฝึกการอ่าน วิเคราะห์และตีความงานเขียนรัฐประศาสนศาสตร์ การเขียนย่อความ เรียงความ และอภิปรายเป็นภาษาอังกฤษในเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์  
๔๐๒ ๔๑๙ การศึกษาอิสระทางรัฐประศาสนศาสตร์  (Independent Study on Public Administration) ๓ (๐-๖-๖)
      ศึกษาค้นคว้าวิจัยภาคสนามทางรัฐประศาสนศาสตร์หรือเรื่องอื่นโดยความเห็นชอบและควบคุมดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา  
๔๐๒ ๓๒๐ สัมมนาทางรัฐประศาสนศาสตร์  (Seminar in Buddhist Public Administration) ๒ (๒-๐-๔)
      สัมมนาทางรัฐประศาสนศาสตร์ด้านต่างๆ โดยจะเน้นปัญหารัฐประศาสนศาสตร์ของประเทศที่กำลังพัฒนและบูรณาการบริบททางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การบริหารงานภาครัฐและเอกชนกับการบูรณาการหลักทางพระพุทธศาสนา เช่น การบริหารบุคคล การจัดองค์การ การคลัง  การงบประมาณ ในการศึกษาอาจมีการค้นคว้ารายงาน การศึกษาเฉพาะกรณีเกี่ยวกับปัญหารัฐประศาสนศาสตร์ของไทยและเปรียบเทียบกับของต่างประเทศ  
๔๐๒ ๓๒๑ รัฐประศาสนศาสตร์เชิงพุทธ (Buddhist Public Administration) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาแนวคิดทางการเมือง การบริหาร และการปกครองของพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก ตำราทางพระพุทธศาสนาและจากผลงานของนักวิชาการสมัยใหม่  
๔๐๒ ๓๒๒ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการภาครัฐ (Information Technology for Government Management)    ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาแนวคิด หลักการและประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการภาครัฐ องค์ประกอบของข้อมูล การประมวลข้อมูลและการบริหารศูนย์ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการวางแผน การควบคุม การตัดสินใจในการบริหารภาครัฐ แนวโน้มของการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการบริหารภาครัฐ  

๒.๔ วิชาเลือกเฉพาะสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ๙ หน่วยกิต

๔๐๑ ๔๒๓ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  (Law of Criminal Procedure) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตั้งแต่อำนาจพนักงานสอบสวนและศาล การฟ้องคดีอาญา มาตรการบังคับทางอาญาเกี่ยวกับ หมายเรียก หมายอาญา การจับ การค้น ควบคุม ขัง จำคุก ปล่อยชั่วคราว หลักการสอบสวน เทคนิคการสืบสวนและสอบสวน การสั่งคดีอาญาของพนักงานอัยการ การชันสูตรพลิกศพ การฟ้องคดีอาญา การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณาพิพากษา การอุทธรณ์ การฎีกา การบังคับคดี การอภัยโทษ การเปลี่ยนโทษ การลดโทษ นิติวิทยาศาสตร์ และพยานหลักฐานในคดีอาญา  
๔๐๑ ๔๒๔ กฎหมายลักษณะพยาน  (Law of Witness) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายลักษณะพยาน หลักทั่วไปเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐาน การนำสืบ ข้อเท็จจริงที่ไม่ต้องนำสืบด้วยพยานหลักฐาน พยานหลักฐานที่ห้ามมิให้รับฟัง พยานหลักฐานที่ต้องห้ามโดยกฎหมายปิดปาก การนำสืบพยานบุคคลแทนเอกสาร พยานต่างๆ เช่น พยานบอกเล่า พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานที่เป็นความเห็น วิธีนำสืบพยานโดยหลักฐานทั่วไป มาตรฐานการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน และการคุ้มครองพยานตามกฎหมาย  
๔๐๑ ๔๒๕ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relation) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาความรู้พื้นฐานของการเมืองระหว่างประเทศธรรมชาติและโครงสร้างของระบบการเมืองระหว่างประเทศปัจจัยทางด้านการเมืองเศรษฐกิจสังคม และการทหาร วัฒนธรรม อุดมการณ์ที่มีผลต่อแนวพฤติกรรมของรัฐ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ พัฒนาการความร่วมมือระหว่างประเทศในรูปแบบต่างๆเช่นระเบียบปฏิบัติกฎหมายสถาบันระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนวพระพุทธศาสนา  
๔๐๒ ๔๒๖ ประชาคมอาเซียนศึกษา  ( ASEAN Community Studies ) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษากำเนิด พัฒนาการ และบทบาทของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) แนวคิดเกี่ยวกับภูมิภาคนิยม การบูรณาการภูมิภาค และประชาคมด้านความมั่นคงกับพลวัตความร่วมมือของอาเซียน อาทิ ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค  ความสำเร็จและข้อจำกัดของอาเซียน  ความผูกพันธ์ต่อการเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา สถานภาพทางการเมืองภายในประเทศภูมิภาคสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรม สันติภาพและเสถียรภาพ เศรษฐกิจ การเมือง หลักความยุติธรรมและหลักนิติธรรมระหว่างประเทศในภูมิภาค และบทบาทของไทยในการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน  
๔๐๒ ๔๒๗ พุทธธรรมกับการบริหารเชิงกลยุทธ์  (Buddha Dharma and Strategic Management)  ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาความหมายและขอบข่ายของการบริหาร บทบาทด้านการบริหารของพระพุทธเจ้า วิเคราะห์พุทธธรรมเกี่ยวกับหลักการและวิธีการบริหาร คุณธรรมและจริยธรรมของนักบริหาร การประยุกต์พุทธวิธีบริหารเพื่อใช้ในการบริหาร  
๔๐๒ ๔๒๘ การระดมมวลชนและเคลื่อนไหวทางสังคม (Mobilization and Mass Social Movements) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาแนวคิดและหลักการในการในการระดมมวลชนและเคลื่อนไหวทางสังคมโดยเริ่มจากบริบทของสภาพปัญหาทางสังคมที่นำไปสู่การระดมมวลชน กระบวนการแก้ปัญหา การตั้งกฎ กติกา สำหรับการแข่งขันต่อสู้ระหว่างกลุ่มต่างๆ การประนีประนอม และสร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ การแสดงผลของการประนีประนอมในรูปของนโยบายสาธารณะ การบังคับใช้ข้อตกลงหรือนโยบายสาธารณะดังกล่าวอันเป็นผลมาจากการระดมมวลชนและการเคลื่อนไหวทางสังคม  
๔๐๒ ๔๒๙ ดิจิตอลเพื่อการบริหารงานภาครัฐ  (Digital for Public Administration) ๓ (๓-๐-๖)
      เพื่อศึกษารูปแบบของการพัฒนาดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ อันเป็นการยกระดับคุณภาพงานบริการและการบริหารจัดการภาครัฐที่ต้องการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุค Digital Government เป็นพลังแห่งการขับเคลื่อนทุกภาคส่วนของประเทศเข้าสู่ยุคดิจิตอลเพื่อให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  
๔๐๒ ๔๓๐ นวัตกรรมการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  (Innovation in Local Governmental Organization) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาแนวคิดและหลักการในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระบบการบริหาร รูปแบบและโครงสร้างขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น การจัดองค์กรและการบริหารงานองค์กรส่วนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหาร การบริหารองค์กรส่วนท้องถิ่นของไทย บทบาทของการบริหารองค์กรส่วนท้องถิ่นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารองค์กรส่วนท้องถิ่นของไทย แนวทางในการแก้ไขปัญหาและแนวโน้มการบริหารส่วนท้องถิ่นของไทย  
๔๐๒ ๔๓๑ การต่อต้านการทุจริตภาครัฐ  (Anti-Corruption) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตที่เป็นการปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหรือการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบในทุกรูปแบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์อันมิควรได้ ทั้งต่อองค์กร ตนเอง ผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือการช่วยเหลือ  สนับสนุน  เพื่อประโยชน์อื่นใดแก่พรรคการเมือง นักการเมือง หรือบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเมือง ตลอดจนกิจกรรมทางการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม รวมถึงการกระทำใดๆ ที่ขัดหรือแย้งกับหลักจริยธรรม ยกเว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น หรือจารีตทางการค้าให้กระทำได้ ทั้งนี้ด้วยตระหนักดีถึงภัยร้ายแรงของการทุจริตที่ทำลายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ทั้งยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติ  
๔๐๒ ๔๓๒ กฎหมายแรงงาน  (Labour Law)  ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้างองค์การของนายจ้าง และองค์กรของลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการที่กำหนด ให้นายจ้าง ลูกจ้าง และ องค์กรดังกล่าวต้องปฏิบัติต่อกันและรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้การจ้างงาน และการใช้งาน การประกอบกิจการ และ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยเหมาะสม ต่างได้รับประโยชน์ที่พอเพียง  
๔๐๒ ๔๓๓ ภาวะผู้นำกับการบริหารสมัยใหม่ (Leadership and modern management) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีภาวะผู้นำ รูปแบบภาวะผู้นำ บทบาทของผู้นำในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในองค์การ รวมถึงแนวคิดพฤติกรรมมนุษย์และหลักปฎิบัติที่เป็นประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพของบุคคลในองค์การ วิธีการจัดการในระดับปัจเจกบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์กร แนวความคิดและทฤษฎีการจูงใจ อำนาจและอิทธิพล พฤติกรรมกลุ่ม การตัดสินใจ การจัดการความขัดแย้งและการประสานความร่วมมือ การออกแบบโครงสร้างองค์กร วัฒนธรรมขององค์กร หัวข้อปัจจุบันในงานวิจัยภาวะผู้นำและพฤติกรรมองค์การ    
๔๐๑ ๔๓๔ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์  (Civil and Commercial Code) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยได้จำแนกออกเป็น ๖ บรรพ คือว่าด้วยของหลักทั่วไทย,หนี้,เอกเทศสัญญา,ทรัพย์สิน,ครอบครัว และมรดก ตามลำดับ โดยเหตุผลที่ทางประเทศไทยได้ทำการจัดทำประมวลฏหมายขึ้นมาโดยนำเอากฎหมายแพงและกฎหมายพาณิชย์รวมกันเป็นฉบับเดียวนั้นเนื่องจากการค้าพาณิชย์ในด้านการร่างกฏหมายยังไม่เจริญก้าวหน้าที่อีกทั้งยังหลักทั่วไทยในกฏหมายแพ่งสามารถที่จะนำมาใช้ร่วมกับกฏหมายพาณิชย์ได้  
๔๐๑ ๔๓๕ กฎหมายรัฐธรรมนูญ   (Constitutional law) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายรัฐธรรมนูญ  ประเภทรัฐธรรมนูญ  ลักษณะของกฎหมายรัฐธรรมนูญ  พัฒนาการของรัฐธรรมนูญนิยม  ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญไทยในอดีต รัฐธรรมนูญไทยฉบับปัจจุบันกับความพยายามในการปฏิรูปการเมือง ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ  อำนาจก่อตั้งระบอบและองค์กรทางการเมือง – รัฐธรรมนูญในฐานะที่มาสูงสุดของความชอบด้วยกฎหมาย  การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ  ศาลรัฐธรรมนูญ : องค์ประกอบ อำนาจหน้าที่และวิธีพิจารณา  กระบวนการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ  กระบวนการวินิจฉัยชี้ขาดคดีรัฐธรรมนูญในประเทศไทย ศาลรัฐธรรมนูญกับการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ  ผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ  
๔๐๒ ๔๓๖ การจัดการความขัดแย้ง  (Conflict management) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย แนวคิด และหลักการเกี่ยวกับความขัดแย้ง ทฤษฎีความขัดแย้ง การวิเคราะห์ความขัดแย้ง ปฏิกิริยา การตอบสนอง และผลพวงของความขัดแย้ง มิติทางสังคม ความสัมพันธ์ทางอำนาจ และความเป็นมนุษย์ในความขัดแย้ง บทบาทผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการขัดแย้ง การสร้างกรอบเจรจาไกล่เกลี่ย เทคนิคและทักษะการจัดการความขัดแย้ง ปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในระดับครอบครัว ชุมชน ชาติ และระหว่างประเทศ การจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี และบทเรียนจากความขัดแย้ง  
๔๐๒ ๔๓๗ การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน อย่างยืน  (Sustainable of Economic  social and Community Development) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ชุมชน และสังคมอย่างยั่งยืน ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาที่อย่างยั่งยืน ศึกษาประวัติความเป็นมา ปรัชญา หลักการดำเนินงาน และขั้นตอนการปฏิบัติงาน ในการน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ และการปฏิรูปประเทศ เพื่อนำความรู้ วิธีการต่างๆ มาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีความสอดคล้องกับการทำงาน พัฒนาระบบเศรษฐกิจ ชุมชน และสังคมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน  
๔๐๒ ๔๓๘ ธุรกิจชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  (Community business according to the sufficiency economy philosophy) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตัวแบบการขยายผลในกระบวนการทำงาน ศึกษาชุมชนต้นแบบตามศักยภาพด้านจิตใจและสังคมของชุมชน ศักยภาพด้านเศรษฐกิจของชุมชน ศักยภาพด้านการเรียนรู้ของชุมชน ศักยภาพด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ศึกษาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบตามตัวชี้วัด “พออยู่ พอกิน” “อยู่ดี กินดี” และ มั่งมี ศรีสุข”  
๔๐๒ ๔๓๙ การบริหารงานยุติธรรม  (Good Governance for the Administration)  ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาความหมายของการบริหารงานยุติธรรม การบริหารจัดการงาน ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานยุติธรรม การบังคับใช้กฎหมายอาญา การแก้ปัญหาการกระทำความผิดในสังคม ตลอดทั้งการบริหารเพื่อความปลอดภัยภายในองค์กรภาครัฐ และเอกชน  
๔๐๒ ๔๔๐ สหกิจศึกษา  (Cooperative Education)  ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และสังเคราะห์องค์ความรู้ในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ นำองค์ความรู้ลงสู่ภาคปฏิบัติในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถานประกอบการ หรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ โดยความร่วมมือจากภาคี เพื่อสร้างประสบการณ์ทำงานให้นิสิต เพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ตลอดจมีทักษะในการวิเคราะห์และประเมิน โดยมีบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบปฏิบัติงาน  
๔๐๒ ๔๔๑ การบริหารธุรกิจและการเงิน  (Business and Financial Management) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐานทางธุรกิจ ระบบธุรกิจ สิ่งแวดล้อมของธุรกิจ รูปแบบการประกอบธุรกิจ การเป็นผู้ประกอบการ หน้าที่ธุรกิจด้านการตลาด การผลิต การบัญชี การเงิน และทรัพยากรบุคคล การจัดการองค์กร ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ธุรกิจระหว่างประเทศ จริยธรรมธุรกิจและความรับผิดชอบต่อสังคม  แนวคิดและวิธีการในการสร้างและพัฒนาธุรกิจใหม่ เทคนิคการพยากรณ์ด้านการตลาดและการเงิน การวิจัยตลาด การค้นหาโอกาสทางธุรกิจ การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อการสร้างและพัฒนาธุรกิจใหม่ การวิเคราะห์ความไว ปัญหาและอุปสรรคในการสร้างและพัฒนาธุรกิจใหม่    
๔๐๒ ๔๔๒ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐประศาสนศาสตร์   ๓ (๐-๖-๖)
      ปฏิบัติงานในสถานที่ปฏิบัติงานการเสมือนเป็นพนักงานชั่วคราวเต็มเวลาของสถานที่ปฏิบัติงาน ในตำแหน่งตามที่ตรงกับวิชาชีพและเหมาะสมกับความรู้ความสามารถของนิสิตเพื่อเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีกับการปฏิบัติงาน เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๘ สัปดาห์ ปฏิบัติตนตามระเบียบการบริหารงานบุคคลของสถานที่ปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน  นิสิตต้องรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการอย่างเต็มความสามารถ มีอาจารย์นิเทศและผู้นิเทศงานทำหน้าที่ให้คำปรึกษาระหว่างปฏิบัติงาน มีการติดตามและการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ ตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการเตรียมนิสิตสู่งานที่นิสิตสนใจและพัฒนาทักษะวิชาชีพสำหรับการทำงาน  
๔๐๒ ๔๔๓ รัฐประศาสนศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา (Public Administration Science in Buddhism) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาแนวคิดทางการเมือง การบริหาร และการปกครองของพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก ตำราทางพระพุทธศาสนาและจากผลงานของนักวิชาการสมัยใหม่  
๔๐๒ ๔๔๔ รัฐประศาสนศาสตร์ในวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา (Public Administration in Buddhist Literature) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่ปรากฏในวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาสมัยใหม่ เช่น ไตรภูมิพระร่วง โลกนีติ ราชนีติ ธรรมนีติ จักกวาฬทีปนี ภูมิวิลาสินี มงคลทีปนี โลกทีปกสาร โลกบัญญัติ วิเคราะห์หลักการบริหารในวรรณกรรมเหล่านี้และวรรณกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ  
๔๐๒ ๔๔๕ ธรรมาภิบาลตามแนวพระพุทธศาสนา (Buddhist Good Governance) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาความหมาย ทฤษฎี หลักการและองค์ประกอบของธรรมาภิบาล หลักธรรมาภิบาลในพระไตรปิฎก เปรียบเทียบหลักธรรมาภิบาลกับธรรมาภิบาลเชิงพุทธ การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลเชิงพุทธสำหรับการบริหารจัดการภาครัฐภาคธุรกิจ ภาคเอกชนและประชาชน  
๔๐๒ ๔๔๖ การจัดการทุนมนุษย์เชิงพุทธ (Buddhist human capital management)  ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาปรัชญา ความเป็นมา แนวคิดของการจัดการทุนมนุษย์ ภายใต้หลักการจัดการทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม และทุนทางอารมณ์ และนโยบายการบริหารทุนมนุษย์ตั้งแต่การวางแผนกำลังคน ทิศทางการพัฒนาฝีมืองาน การปรับเปลี่ยนหมุนเวียนโยกย้ายฝีมือแรงงานในประชาคมอาเซียน  
๔๐๒ ๔๔๗ แพลตฟอร์มเพื่อการบริหารองค์การ (Platform  for Organization Management) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาเกี่ยวกับการวางรากฐานขององค์การสู่อนาคต และเป็นกลไกขับเคลื่อนประเทศสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยต้องตอบโจทย์ภารกิจของภาครัฐใน ๔ แพลตฟอร์ม (Platform) ประกอบด้วย การสร้างและพัฒนาคน ให้เป็น Smart Citizen การสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ ไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value Based Economy) การสร้างและพัฒนานวัตกรรม ไปสู่ประเทศฐานนวัตกรรม (Innovation Nation) การยกเครื่ององค์การ (Reinvent) องค์การจะต้องเป็นหลักในการกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ที่เป็นรูปธรรมของประเทศ (Future Setting)  
๔๐๒ ๔๔๘ การบริหารความหลากหลายในองค์การ (Diversity Management in Organization) ๓ (๓-๐-๖)
      หลักการบริหารความหลากหลายในองค์การ ความหลากหลายทางเพศ เชื้อชาติศาสนา ผู้ด้อยโอกาสและการบริหารผู้มีความสามารถสูง กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ท่ามกลางความหลากหลาย การนำความหลากหลายไปใช้ในการบริหารพนักงานในองค์การ การบริหารความหลากหลายของพนักงานในองค์การต่างประเทศ  
๔๐๒ ๔๔๙ การจัดการธุรกิจเพื่อสังคมในบริบทนานาชาติ (Social Enterprise Management in international context) ๓ (๓-๐-๖)
      ความหมายและแนวคิดการทำธุรกิจเพื่อสังคม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจและการจัดการธุรกิจในบริบทนานาชาติ ด้านการผลิต การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การเงิน และการจัดการระบบข้อมูล ความรับผิดชอบต่อสังคม การจัดการธุรกิจแต่ละด้านเชื่อมโยงกับการทำประโยชน์เพื่อสังคมและความรับผิดชอบต่อสังคม การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจและสังคมอย่างยั่งยืน   
๔๐๒ ๔๕๐ การจัดการภาวะวิกฤตและความเสี่ยง  (Crisis and Risk Management) ๓ (๓-๐-๖)
      ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และกระบวนการในการจัดการภาวะวิกฤตและความเสี่ยงในภาครัฐและภาคเอกชน ตัวแบบการจัดการในลักษณะองค์รวม วิกฤตการณ์และความเสี่ยงในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ แนวทางและกลยุทธ์การจัดการภาวะวิกฤต กระบวนการในวางแผนจัดการวิกฤตการณ์โดยบูรณาการแนวคิดกับการปฏิบัติ การวิเคราะห์สถานการณ์และกรณีศึกษาทั้งในและต่างประเทศ และการสังเคราะห์บทเรียนเพื่อแสวงหาโอกาสและจะใช้แนวในการวิเคราะห์ลักษณะปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหา ผลกระทบ และผลที่ตามมาของการตัดสินใจในสถานการณ์ภาวะวิกฤต  
๔๐๒ ๔๕๑ การบริหารกิจการท้องถิ่น  (Local Affairs Administration)                                                                          ๓ (๓-๐-๖)
      การกระจายอำนาจในการบริหารและนโยบายไปสู่ท้องถิ่น โครงสร้างหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิธีการการบริหารกิจการของท้องถิ่น การศึกษาปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจการท้องถิ่น การบริหารระบบสาธารณูปโภคขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ประกอบด้วย งานด้านถนน  ทางเดินเท้า  ไฟฟ้าสาธารณะ  ประปา  โทรศัพท์สาธารณะ  รวมทั้งพื้นที่สาธารณะระดับต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของคนท้องถิ่น  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบบสาธารณสุขท้องถิ่น  การวิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาสาธารณสุขท้องถิ่น  การบริหารงานสาธารณสุขท้องถิ่นเชิงกลยุทธ์  การประเมินโครงการสาธารณสุขท้องถิ่น  การถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุข รวมไปถึงเรื่องของการจัดการศึกษา แนวคิดและหลักการการบริหารการศึกษา  องค์ประกอบของการบริหาร  
๔๐๒ ๔๕๒ ภาวะผู้นำกับการบริหารในองค์การและชุมชน (Leadership with Administation in Organization and Community) ๓ (๓-๐-๖)
      แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับผู้นำและภาวะผู้นำ แนวคิดและทฤษฎีความขัดแย้ง คุณสมบัติ สถานภาพบทบาทหน้าที่ และประเภทของผู้นำ ที่มาของผู้นำ องค์ประกอบที่มีต่อความสำเร็จของผู้นำ การใช้ภาวะผู้นำ การพัฒนาผู้นำและภาวะความเป็นผู้นำ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ตาม ผู้นำกับการจัดการความขัดแย้ง ประโยชน์และโทษของความขัดแย้งในองค์การและชุมชน แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การทำงานแบบมีส่วนร่วม และการทำงานเป็นทีม เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในองค์การและชุมชน