ประวัติความเป็นมาวิทยาเขตขอนแก่น
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ พระราชสารเวที (ปัจจุบันที่พระธรรมวิสุทธาจารย์) เจ้าอาวาสวัดธาตุ (พระอารามหลวง) และรองเจ้าคณะภาค ๙ ในสมัยนั้น มีความดำริให้จัดตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตขอนแก่น เพื่อเป็นสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณรในจังหวัดขอนแก่น ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๙ และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยความสนับสนุนของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(อาจ อาสภมหาเถร) นายกสภา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและพระเถรานุเถระทุกระดับในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดขอนแก่น เมื่อทุกอย่างมีความพร้อมจึงเสนอเรื่องขออนุมัติการจัดตั้งไปยังมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้อนุมัติให้จัดตั้งวิทยาเขตขอนแก่นเมื่อวันที่ ๓ตุลาคม ๒๕๒๘ ตามหนังสือที่ ๗๑๔/๒๕๒๘ ลงวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๒๘ ซึ่งลงนามโดย พระมหานคร เขมปาลี (ปัจจุบันที่พระราชรัตนโมลี) เลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ตำแหน่งในขณะนั้น) โดยใช้ชื่อเป็นทางการว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตขอนแก่น
”
ต่อมาเนื่องจากมีพระภิกษุ สามเณร คฤหัสถ์ ในท้องถิ่ นและประเทศใกล้เคียง สนใจสมัครเข้าศึกษาเป็นจำนวนมาก อาคารเรียนที่มีอยู่เดิมที่วัดธาตุฯ ไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน พระครูสิริสารธรรม เจ้าคณะตำบลโคกสี จึงให้ใช้ที่ดินโคกสร้างหล่ม วัดป่าศรีเจริญธรรม เป็นที่ตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ ประกอบด้วย อาคารเรียน อาคารหอสมุดสารสนเทศ อาคารสถานีวิทยุกระจายเสียง และอาคารหอประชุม และเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดป้ายมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ตำบลโคกสี และทรงเปิดป้ายอาคารหอสมุดสารสนเทศ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร)
เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ วิทยาเขตขอนแก่นได้ขยายที่ทำการจาก วัดธาตุ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มาตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๓๐ หมู่ที่ ๑ ถนนขอนแก่น-น้ำพอง ตำบลลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ความเป็นมาของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
********************************
๑. ความเป็นมาของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Public Administration Program : B.P.A.) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ดำเนินการเรียนการสอนได้ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๐ เป็นต้นมา เป็นหลักสูตร ๔ ปี หน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร จำนวน ๑๔๐ หน่วยกิต รับผู้เข้าศึกษาทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย มีเอกสารตาราเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษประกอบ มุ่งเน้นสร้างบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เปี่ยมไปด้วยความรู้ ควบคู่คุณธรรม ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาดำเนินชีวิต มีภาวะผู้นำ ตระหนักถึงอุดมการณ์ประชาธิปไตยบนฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีจิตอาสาและการเสียสละรับใช้ท้องถิ่น คณะสงฆ์ ชุมชน สังคม ประเทศ และประชาคมอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑) เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารตามหลักทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ ๒) เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการของรัฐประศาสนศาสตร์เชิงพุทธ ๓) เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถใช้ความรู้ทางด้านการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพในการพัฒนาตนเอง คณะสงฆ์ องค์กร ชุมชน และสังคมโดยรวม และ ๔) เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถนำความรู้ทางด้านการบริหารไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สามารถ ๑) เป็นข้าราชการในสังกัด ก.พ. และอื่นๆ ๒) เป็นข้าราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๓) เป็นข้าราชการทหาร และตำรวจ ๔) เป็นพนักงานในภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ และ ๕) ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ
๒. ปรัชญา ความสำคัญ
๒.๑ ปรัชญาและความสำคัญ มุ่งเน้นสร้างบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เปี่ยมไปด้วยความรู้ ควบคู่คุณธรรม ใช้หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนาดาเนินชีวิต มีภาวะผู้นำ ตระหนักถึงอุดมการณ์ประชาธิปไตยบนฐานหลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา มีจิตอาสาและการเสียสละรับใช้ท้องถิ่น คณะสงฆ์ ชุมชน สังคม ประเทศ และประชาคม อาเซียน
๓. วัตถุประสงค์
๓.๑ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารตามหลักทฤษฎีรัฐประศาสน ศาสตร์สมัยใหม่
๓.๒ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการของรัฐประศาสนศาสตร์เชิงพุทธ
๓.๓ เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถใช้ความรู้ทางด้านการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพในการ พัฒนาตนเอง คณะสงฆ์ องค์กร ชุมชน และสังคมโดยรวม
๓.๔ เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถนำความรู้ทางด้านการบริหารไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา และพัฒนาสังคม