๐๐๐ ๑๐๑ |
มนุษย์กับสังคม (Man and Society ) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาความหมายและความเป็นมาเกี่ยวกับมนุษย์กับสังคม ตามหลักการทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม สถาบันสังคม ประชาสังคม กระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม การวิเคราะห์ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบัน |
|
๐๐๐ ๑๐๒ |
กฎหมายทั่วไป (General Law) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป ที่มาของระบบกฎหมาย ลักษณะทั่วไปและประเภทของกฎหมาย กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชนที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ กฎหมายที่พระสงฆ์ควรรู้เป็นการเฉพาะ และกฎหมายศาสนาอื่น |
|
๐๐๐ ๑๐๗ |
เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Technique of Higher Learning) |
(๒)(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาเทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้ห้องสมุด การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต วิธีแสวงหาความรู้ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ การเขียนรายงานและภาคนิพนธ์ |
|
๐๐๐ ๑๐๘ |
ปรัชญาเบื้องต้น (Introduction to Philosophy) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาความหมายและขอบเขตของปรัชญา ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนาและวิทยาศาสตร์ สาขาปรัชญา และสาระสำคัญของปรัชญาสาขาต่างๆ พัฒนาการของปรัชญาตะวันออกและปรัชญาตะวันตก |
|
๐๐๐ ๑๐๙ |
ศาสนาทั่วไป (Religions) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาความหมาย ลักษณะ ความสำคัญ คุณค่าของศาสนา ประวัติ พัฒนาการ หลักในการศึกษาศาสนา หลักคำสอน พิธีกรรมและจุดมุ่งหมายของศาสนาต่าง ๆ วิเคราะห์ลักษณะที่เป็นสากลร่วมกันและต่างกันของศาสนาปัจจุบัน อิทธิพลของศาสนาต่อสังคมโลก วิธีการเผยแผ่ศาสนา ความร่วมมือระหว่างศาสนา และท่าทีของศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย |
|
๐๐๐ ๑๑๔ |
ภาษากับการสื่อสาร (Language and Communication) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษากับการสื่อสาร การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารผ่านทักษะการเรียนรู้ภาษา ๔ ด้าน ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และศึกษาระเบียบงานสารบรรณ |
|
๐๐๐ ๑๑๕ |
ภาษาศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Linguistics) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาความหมายของภาษาและภาษาศาสตร์ สาขาของวิชาภาษาศาสตร์ ลักษณะทั่วไปของภาษา ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัทศาสตร์ (Phonetics) สรศาสตร์ (Phonemics) สัทอักษรสากล สัทอักษรไทย และหลักวิเคราะห์ภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์ |
|
๐๐๐ ๑๓๙ |
คณิตศาสตร์เบื้องต้น (Basic Mathematics) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาหลักพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ข้อความ ประโยคเปิด ประพจน์ ตัวบ่งชี้ปริมาณ ค่าความจริง ตัวเชื่อมข้อความ และนิเสธ การหาค่าความจริง การสมมูลกัน การให้เหตุผล เซต ความหมายเซต ประเภทเซต เซตย่อย การเท่ากันของเซต การดำเนินการของเซต พีชคณิตของเซต และการประยุกต์เซต จำนวนจริง ระบบจำนวนจริง คุณสมบัติของจำนวนจริง สมการ อสมการ ค่าสัมบูรณ์ ความสัมพันธ์ ฟังก์ชั่น ฟังชั่นเชิงซ้อน แมตริกซ์ การดำเนินการแมตริกซ์ การเท่ากัน การบวก การคูณ ดีเทอร์มิเนนท์ อินเวอร์ส แมตริกซ์ |
|
๐๐๐ ๒๑๐ |
ตรรกศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Logic) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษานิมิต คำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน วิภาค การนิยามความหมาย ญัตติประพจน์ในแบบต่างๆ การแบ่งญัตติ ความเป็นปฏิปักษ์แห่งญัตติ ญัตติผสม การให้เหตุผล ปรัตถานุมานและปฤจฉาวาทีแบบต่างๆ ศึกษาหลักการและวิธีการให้เหตุผลจากบทสนทนาของพระพุทธเจ้าในอนัตตลักขณสูตรหรือในสูตรอื่นๆ บทสนทนาในคัมภีร์กถาวัตถุ ญาณวิทยาของนิกายสรวาสติวาท วิภาษวาทีของนาคารชุน เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างระหว่างตรรกศาสตร์ตะวันตก กับตรรกศาสตร์ตะวันออก โดยเฉพาะหลักการเชิงตรรกในคัมภีร์ |
|
๐๐๐ ๒๓๘ |
สถิติเบื้องต้นและการวิจัย (Basic Statistics and Research) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาหลักพื้นฐานทางสถิติ การจัดเก็บข้อมูล การรวบรวมข้อมูล การแจกแจงความถี่ การหาค่าแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การกระจายปกติ และความเบ้ ส่วนเบี่ยงเบน ความแปรปรวน ความน่าจะเป็น ค่าสถิติ Z T และ F ประชากรและการสุ่มตัวอย่าง การทดสอบสมมุติฐาน การวิจัยลักษณะและประเภทการวิจัย ขั้นตอนการวิจัย รูปแบบการวิจัย การเขียนโครงร่างการวิจัยและการเขียนรายงานผลการวิจัย |
|
๐๐๐ ๑๐๓ |
การเมืองกับการปกครองของไทย (Politics and Thai Government) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมืองและการปกครอง พัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย สถาบันทางการเมือง และการปกครองของไทย กระบวนการทางการเมืองของไทย การจัดระเบียบการปกครองของไทย และพระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครองของไทย |
|
๐๐๐ ๑๐๔ |
เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน (Economics in Daily Life) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาหลักการเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันรูปแบบต่าง ๆ ของระบบเศรษฐกิจ การทำงานของกลไกราคาในตลาด บทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจ เงินตราและสถาบันการเงิน เน้นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันในเรื่องที่เกี่ยวข้องเป็นข้อมูลประกอบการศึกษา และศึกษาเศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ |
|
๐๐๐ ๑๐๕ |
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (Man and Environment) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับมนุษย์ แนวคิดการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และบทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย |
|
๐๐๐ ๑๐๖ |
เหตุการณ์โลกปัจจุบัน (Current World Affairs) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในโลก ทั้งมิติทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ความร่วมมือและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมโลก ประเทศไทยกับเหตุการณ์สำคัญของโลก ความร่วมมือของชาวพุทธในเวทีโลก บทบาทของพระพุทธศาสนากับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในโลกปัจจุบัน |
|
๐๐๐ ๑๑๖ |
ภาษาอังกฤษเบื้องต้น (Basic English) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษากฎเกณฑ์และการใช้ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการใช้คำนำหน้านาม (Article) การใช้กาล (Tense) การสร้างประโยค (Sentence) การใช้บุรพบท (Preposition) สันธาน (Conjunction) ฝึกทักษะเบื้องต้นในการฟัง พูด อ่านและเขียนในลักษณะที่สัมพันธ์กัน เน้นด้านการอ่านและความเข้าใจภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรูปประโยคและคำศัพท์ต่าง ๆ |
|
๐๐๐ ๑๑๗ |
ภาษาอังกฤษชั้นสูง (Advanced English) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาโครงสร้างประโยคตามหลักไวยากรณ์และฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน เน้นการอ่าน การเขียนและความเข้าใจข้อความภาษาอังกฤษ ซึ่งมีคำศัพท์และโครงสร้างประโยคสัมพันธ์กับเอกสารที่ใช้ศึกษา |
|
๐๐๐ ๑๑๘ |
ภาษาสันสกฤตเบื้องต้น (Basic Sanskrit) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาโครงสร้างของภาษาสันสกฤต อักษร เครื่องหมาย ระบบเสียง การเปลี่ยนแปลงอักษรและเสียง การเขียน การอ่านคำศัพท์ ส่วนประกอบของนามศัพท์ การแจกรูปนามศัพท์สระการันต์ สระสนธิ บุรุษสรรพนาม นิยมสรรพนาม ปฤจฉาสรรพนาม สัมพันธสรรพนาม กริยาศัพท์ ส่วนประกอบของกริยาอาขยาต การประกอบรูปเป็นอาขยาตกรรตุวาจกจากธาตุ การแจกรูปกริยา แปลและแต่งประโยคสันสกฤตที่เหมาะสมกับไวยากรณ์ที่ได้ศึกษา |
|
๐๐๐ ๑๑๙ |
ภาษาสันสกฤตชั้นสูง (Advanced Sanskrit) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษานามศัพท์ การแจกรูปนามศัพท์ พยัญชนะการันต์ พยัญชนะสนธิ สังขยาศัพท์ อัพยยศัพท์ กริยาศัพท์ การประกอบรูปเป็นอาขยาตกรรตุวาจกจากธาตุ กริยาอาขยาตกรรมวาจก ภาววาจก ณิชันตกรรตุวาจก ณิชันตกรรมวาจก การสลับเปลี่ยนประโยคกรรตุวาจกเป็นกรรมวาจก ประโยคคำถาม ประโยคปฏิเสธ แปลและแต่งประโยคสันสกฤตที่เหมาะสมกับไวยากรณ์ที่ได้ศึกษา |
|
๐๐๐ ๑๒๐ |
ภาษาไทยเบื้องต้น (Basic Thai) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาหน่วยเสียงพยัญชนะ หน่วยเสียงสระ หน่วยเสียงวรรณยุกต์ หน่วยคำ ระบบไวยากรณ์ ความหมายในภาษาไทย ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาไทย ฟังคำสั่ง คำบรรยาย จดบันทึกเรื่องที่ฟัง พูด ทักทาย ขอบคุณ ขอโทษ ขออนุญาต แนะนำตัวเอง แนะนำผู้อื่น บอกชื่อสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน สนทนาได้ทั้งคำที่แสดงความหมายรูปธรรมและนามธรรม |
|
๐๐๐ ๑๒๑ |
ภาษาไทยชั้นสูง (Advanced Thai) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาวิเคราะห์หน่วยเสียงพยัญชนะ หน่วยเสียงสระ หน่วยเสียงวรรณยุกต์ หน่วยคำระบบไวยากรณ์ ความหมายในภาษาไทย ฝึกทักษะการฟังข่าวจากวิทยุ โทรทัศน์ การพูดวาทศิลป์ การอ่านหนังสือพิมพ์และตำราวิชาการ การเขียนบทความ และฝึกแต่งกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ในภาษาไทย |
|
๐๐๐ ๑๒๘ |
ภาษาจีนเบื้องต้น (Basic Chinese) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาโครงสร้างของภาษาจีนในเรื่องระบบเสียง ระบบคำ และระบบประโยค ฝึกการอ่าน การเขียนภาษาจีน และการฝึกสนทนาโดยอาศัยข้อมูลจากสถานการณ์ปัจจุบัน |
|
๐๐๐ ๑๒๙ |
ภาษาจีนชั้นสูง (Advanced Chinese) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ฝึกทักษะในการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาจีน เน้นการสนทนาโดยอาศัยข้อมูลจากสถานการณ์ปัจจุบัน |
|
๐๐๐ ๑๓๐ |
ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น (Basic Japanese) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาโครงสร้างของภาษาญี่ปุ่น ในเรื่องระบบเสียง ระบบคำ และระบบประโยค ฝึกการอ่าน เขียนภาษาญี่ปุ่น และการสนทนาโดยอาศัยข้อมูลจากสถานการณ์ปัจจุบัน |
|
๐๐๐ ๑๓๑ |
ภาษาญี่ปุ่นชั้นสูง (Advanced Japanese) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ฝึกทักษะในการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาญี่ปุ่น เน้นการสนทนาโดยอาศัยข้อมูลจากสถานการณ์ปัจจุบัน |
|
๐๐๐ ๑๓๕ |
ภาษาฮินดีเบื้องต้น (Basic Hindi) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาโครงสร้างของภาษาฮินดี ในเรื่องระบบเสียง ระบบคำ และระบบประโยค ฝึกการฟัง อ่านเขียน สนทนาภาษาฮินดี และระบบไวยากรณ์พื้นฐานที่นิยมใช้ในชีวิตประจำวัน |
|
๐๐๐ ๑๓๖ |
ภาษาฮินดีชั้นสูง (Advanced Hindi) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ฝึกทักษะในการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาฮินดี เน้นการสนทนา โดยอาศัยข้อมูลจากสถานการณ์ปัจจุบัน |
|
๐๐๐ ๒๑๑ |
วัฒนธรรมไทย (Thai Culture) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาความหมายและเนื้อหาของวัฒนธรรม พัฒนาการของวัฒนธรรมไทย ประเภทของวัฒนธรรม พระพุทธศาสนากับวัฒนธรรม การอนุรักษ์ การเผยแพร่และสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมไทยกับการพัฒนา ผลกระทบของวัฒนธรรมต่างชาติต่อวัฒนธรรมไทย |
|
๐๐๐ ๒๑๒ |
มนุษย์กับอารยธรรม (Man and Civilization) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยปัจจุบัน ความหมายของอารยธรรม บ่อเกิดและพัฒนาการของอารยธรรมตะวันออกและตะวันตกในยุคต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของสังคมตะวันออกและตะวันตก ที่ก่อให้เกิดผลกระทบและความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ การแลกเปลี่ยนกันระหว่างอารยธรรมตะวันออกกับตะวันตก และอิทธิพลของอารยธรรมทั้งสองที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน |
|
๐๐๐ ๒๑๓ |
ชีวิตกับจิตวิทยา (Life and Psychology) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาพัฒนาการและองค์ประกอบของชีวิต ความสัมพันธ์ของจิตวิทยากับการดำรงชีวิต วิเคราะห์คุณสมบัติของจิตใจลักษณะต่างๆ ผลของสุขภาพจิตที่มีต่อพฤติกรรมของมนุษย์และการดำรงอยู่ร่วมกันในสังคมและสิ่งแวดล้อม |
|
๐๐๐ ๒๔๑ |
วิทยาศาสตร์กายภาพและประยุกตวิทยา (Physical Science and Technology) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาหลักพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ประวัติและผลงานของนักวิทยาศาสตร์ในยุคสมัยต่างๆ ความคิดเกี่ยวกับเอกภพ ระบบสุริยะ เทคโนโลยี เทคโนโลยีทางการเกษตร เทคโนโลยีอุตสาหกรรม การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การขนส่ง การสื่อสาร เทคโนโลยีภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิทยาศาสตร์กับชีวิตประจำวัน พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ |
|
๐๐๐ ๒๔๒ |
พื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Introduction to Computer and Information Technology) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประวัติของคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ระบบดิจิทัล ภาษาคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ประเภทต่างๆ แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ ระบบการประมวลผล การวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาระบบ ข้อมูลและการบริหารข้อมูล เครือข่ายและการสื่อสาร อินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ ภัยคุกคามและความมั่นคงของระบบ จริยธรรมและสังคมไซเบอร์ |
|
๐๐๐ ๒๖๔ |
สันติศึกษา (Peace Education) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความขัดแย้ง ความรุนแรง สันติภาพและปฏิบัติการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดและแนวปฏิบัติของนักสันติวิธีทั้งตะวันออก ตะวันตกและศาสนาต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในการป้องกันแก้ไขและเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งและความรุนแรงอีกทั้งพัฒนาทักษะในกระบวนการการเสริมสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมพหุวัฒนธรรมและมีขันติธรรมในการฟังและอยู่ร่วมกับศาสนาและชาติพันธุ์ต่างๆอย่างสันติสุข |
|
๐๐๐ ๒๖๕ |
ภาวะผู้นำ (Leadership) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่นำการเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์งานในศตวรรษที่ ๒๑ รวมถึงศึกษา คุณลักษณะและบทบาทของผู้นำกับการใช้การสื่อสารที่เอื้ออาทรผู้นำกับความเห็นที่ถูกต้องดีงามและความเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์คุณธรรมและจริยธรรมของผู้นำ วิสัยทัศน์ผู้นำ ผู้นำกับการสร้างความสัมพันธ์แห่งกรุณาโดยอาศัยองค์ความรู้ภาวะผู้นำตามทฤษฎีตะวันตกและภาวะผู้นำในทางพระพุทธศาสนาถอดบทเรียนภาวะผู้นำของบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กรทั้งในประเทศและระดับโลกที่สามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จและเกิดสันติสุขแก่สังคมและชุมชนทั้งในประเทศและระดับโลก |
|
๐๐๐ ๒๖๖ |
หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาความหมาย องค์ประกอบ ความสำคัญของหลักธรรมาภิบาล ๖ ประการ คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบและหลักความคุ้มค่า |
|
ก. กลุ่มวิชาภาษาบาลีและพระพุทธศาสนา ๑๔ หน่วยกิต |
๐๐๐ ๑๔๔ |
วรรณคดีบาลี (Pali Literature) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาประวัติความหมายประเภทและพัฒนาการของคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา โยชนาและปกรณ์วิเสส วรรณกรรมบาลีในประเทศไทย และคุณค่าของวรรณกรรมบาลีต่อสังคมไทย |
|
๐๐๐ ๑๔๕ |
บาลีไวยากรณ์ (Pali Grammar) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาการเขียน การอ่านภาษาบาลี ฐานกรณ์ การออกเสียงพยัญชนะสังโยค การเชื่อมอักษรด้วยสนธิกิริโยปกรณ์ ประเภทและวิธีแจกคำนาม สังขยา อัพยยศัพท์ กิริยาอาขยาต นามกิตก์ กิริยากิตก์ สมาสและตัทธิต |
|
๐๐๐ ๑๔๖ |
แต่งแปลบาลี (Pali Composition and Translation) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาการแต่งบาลี การแปลบาลีทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะให้ถูกต้องตามหลักภาษา การแต่งและการแปลประโยคพิเศษและสำนวนที่ควรทราบ การแปลบาลีเป็นไทยและแปลไทยเป็นบาลีจากหนังสือที่กำหนด |
|
๐๐๐ ๑๔๗ |
พระไตรปิฎกศึกษา(Tipitaka Studies) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษากำเนิด ความเป็นมา และพัฒนาการของคัมภีร์พระไตรปิฎก การจำแนกโครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก คำอธิบายโดยย่อของพระอรรถกถาจารย์ การรักษาสืบทอดโดยมุขปาฐะและลายลักษณ์อักษร ลำดับคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ความเป็นมาของพระไตรปิฎก ในประเทศไทย และประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระไตรปิฎก |
|
๐๐๐ ๑๔๘ |
พระวินัยปิฎก (Vinaya Pitaka) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาประวัติ ความเป็นมา ความหมาย โครงสร้างของพระวินัยปิฎก เลือกศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่สำคัญในคัมภีร์มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร โดยอาศัยอรรถกถาและฎีกาประกอบ และประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระวินัยปิฏก |
|
๐๐๐ ๑๔๙ |
พระสุตตันตปิฎก (Suttanta Pitaka) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาประวัติ ความเป็นมา ความหมาย โครงสร้างของพระสุตตันตปิฎก เลือกศึกษาวิเคราะห์พระสูตรที่สำคัญ คือ พรหมชาลสูตร มหาปรินิพพานสูตร อัคคัญญสูตร รวมทั้งประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ จากนิกายทั้ง ๕ นิกาย คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย โดยอาศัยอรรถกถา และฎีกาประกอบ |
|
๐๐๐ ๑๕๐ |
พระอภิธรรมปิฎก (Abhidhamma Pitaka) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาประวัติ ความเป็นมา ความหมาย โครงสร้างของพระอภิธรรมปิฎก เนื้อหาสาระ ประเด็นที่น่าสนใจในพระอภิธรรมปิฏกทั้ง ๗ คัมภีร์ โดยเน้นให้เข้าใจหลักปรมัตถธรรม คือ จิต เจตสิก รูปและนิพพาน โดยอาศัยอรรถกถาและฏีกาประกอบ |
|
ข. กลุ่มวิชาพระพุทธศาสนาทั่วไป ๑๒ หน่วยกิต |
๐๐๐ ๑๕๘ |
ประวัติพระพุทธศาสนา (History of Buddhism) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาประวัติศาสนาพระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความสำคัญและลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา การแยกนิกายของพระพุทธศาสนา การขยายตัวของพระพุทธศาสนาเข้าไปในนานาประเทศ และอิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อวัฒนธรรมในประเทศนั้นๆ รวมทั้งศึกษาขบวนการและองค์การใหม่ๆ ในวงการพระพุทธศาสนายุคปัจจุบันและอนาคต |
|
๐๐๐ ๒๕๙ |
เทศกาลและพิธีกรรมพระพุทธศาสนา (Buddhist Festival and Traditions) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาเทศกาลและพิธีกรรมที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ความหมาย คุณค่าของเทศกาลและพิธีกรรมนั้น ๆให้สามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง |
|
๐๐๐ ๒๖๐ |
การปกครองคณะสงฆ์ไทย (Thai Sangha Administration) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาพัฒนาการของระบบการปกครองคณะสงฆ์ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงปัจจุบันศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับต่างๆ กฎ ระเบียบ คำสั่งและประกาศที่สำคัญของคณะสงฆ์ การประยุกต์การปกครองและการบริหารในปัจจุบันสำหรับคณะสงฆ์ไทย |
|
๐๐๐ ๒๖๑ |
ธรรมะภาคภาษาอังกฤษ(Dhamma in English) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาศัพท์ธรรมะทางพระพุทธศาสนาที่นิยมใช้กันแพร่หลายในภาษาอังกฤษ และหนังสือที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่นักปราชญ์ได้รจนาไว้ในภาษาอังกฤษ |
|
๐๐๐ ๒๖๒ |
ธรรมนิเทศ (Dhamma communication) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษาหลักการและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ศิลปะการเขียนบทความ การพูดและการพัฒนาบุคลิกภาพเกี่ยวกับการพูด การเทศนา การแสดงปาฐกถาธรรม การอภิปราย และการใช้สื่อประกอบการบรรยาย |
|
๐๐๐ ๒๖๓ |
งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา (Research and Literary Works on Buddhism) |
๒(๒-๐-๔) |
|
ศึกษางานวิจัยทางพระพุทธศาสนา และวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิเคราะห์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่น่าสนใจ เช่น เตภูมิกถาของพญาลิไท มังคลัตถทีปนีของพระสิริมังคลาจารย์ กาพย์มหาชาติของพระเจ้าทรงธรรม สังคีติยวงศ์ของสมเด็จพระวันรัต (แก้ว) วัดพระเชตุพน พระมงคลวิเสสกถาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แก่นพุทธศาสน์ ของพุทธทาส กรรมทีปนีของพระพรหมโมลี (วิลาส ญาณวโร) พุทธธรรมของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พุทธวิทยาของอาจารย์พร รัตนสุวรรณ และงานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
|
ค. กลุ่มวิชาวิปัสสนาธุระ ๔ หน่วยกิต |
๐๐๐ ๑๕๑ |
ธรรมะภาคปฏิบัติ ๑ (Buddhist Meditation I) |
(๒)(๑-๒-๔) |
|
ศึกษาความเป็นมา ความหมาย หลักการ วิธีการ และประโยชน์ของการปฏิบัติกรรมฐาน อารมณ์ของสมถกรรมฐาน ๔๐ วิปัสสนาภูมิ ๖ สติปัฏฐาน ๔ หลักธรรมที่ควรรู้ ได้แก่ ภาวนา ๓ นิมิต ๓ สมาธิ ๓ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ วสี ๕ นิวรณ์ ๕ อุปกิเลส ๑๖ ให้มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติและนำไปใช้ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๑ ระยะ นั่งกำหนด ๑ ระยะ หรือ ๒ ระยะ |
|
๐๐๐ ๑๕๒ |
ธรรมะภาคปฏิบัติ ๒ (Buddhist Meditation II) |
๑(๑-๒-๔) |
|
ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติกายานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร และอานาปานสติสูตร วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทั้งแบบสมถยานิกะ และวิปัสสนายานิกะ หลักธรรมที่ควรรู้ ได้แก่ สิกขา ๓ วิชชา ๓ และสามัญญลักษณะ ๓ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๒ ระยะ นั่งกำหนด ๒ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์ |
|
๐๐๐ ๒๕๓ |
ธรรมะภาคปฏิบัติ ๓ (Buddhist Meditation III) |
(๒)(๑-๒-๔) |
|
ศึกษาหลักการและวิธีปฏิบัติเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร วิธีการปรับอินทรีย์ ๕ หลักธรรมที่ควรรู้ได้แก่ วิปัลลาส ๓ อภิญญา ๖ วิสุทธิ ๗ วิชชา ๘ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๓ ระยะ นั่งกำหนด ๓ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์ |
|
๐๐๐ ๒๕๔ |
ธรรมะภาคปฏิบัติ ๔(Buddhist Meditation IV) |
๑(๑-๒-๔) |
|
ศึกษาหลักการและวิธีปฏิบัติจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในมหาสติปัฏฐานสูตร กระบวน การเกิดของไตรสิกขาและไตรลักษณ์ หลักธรรมที่ควรรู้ได้แก่ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ วิปัสสนาญาณ ๑๖ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๔ ระยะ นั่งกำหนด ๔ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์ |
|
๐๐๐ ๓๕๕ |
ธรรมะภาคปฏิบัติ ๕ (Buddhist Meditation V) |
(๒)(๑-๒-๔) |
|
ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร กระบวนการเกิดดับของรูปนามตามแนวปฏิจจสมุปบาท หลักธรรมที่ควรรู้ ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๕ ระยะ นั่งกำหนด ๕ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์ |
|
๐๐๐ ๓๕๖ |
ธรรมะภาคปฏิบัติ ๖ (Buddhist Meditation VI) |
๑(๑-๒-๔) |
|
ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในพระสูตรที่เชื่อมโยงกับมหาสติปัฏฐานสูตร เช่น อปัณณกสูตร สติสูตร อาการบรรลุมรรคผลและคุณธรรมของพระอริยบุคคล ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๖ ระยะ นั่งกำหนด ๖ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์ |
|
๐๐๐ ๔๕๗ |
ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗(Buddhist Meditation VII) |
๑(๑-๒-๔) |
|
ศึกษาวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน สภาวธรรมที่เกิดดับในขณะปฏิบัติฯ วิธีแก้สภาวธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมในสมัยปัจจุบัน เปรียบเทียบกับมหาสติปัฏฐานสูตร ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม และนั่งกำหนด ส่งและสอบอารมณ์ |
|
๔๐๑ ๒๐๑ |
ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น (Introduction to Political Philosophy) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาความหมายและที่มาของวิชาปรัชญาการเมืองในประเด็นที่สำคัญ เช่น จุดมุ่งหมายปลายทางของมนุษย์ จุดมุ่งหมายของรัฐ ความยุติธรรม ปรัชญาการเมืองสมัยโบราณ ปรัชญาการเมืองสมัยกลางและปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ ผลงานของนักปรัชญาตะวันตกและตะวันออกคนสำคัญ รวมถึงพุทธปรัชญาทางการเมือง |
|
๔๐๑ ๒๐๒ |
ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์ (Introduction to Political Science) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาธรรมชาติและวิธีการทางรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับศาสตร์ทางสังคมอื่นๆ แนวคิด ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์และสิทธิอำนาจ การใช้อำนาจ องค์ประกอบของรัฐและอำนาจอธิปไตย ความคิดทางการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับบุคคล อำนาจกับกฎหมาย การจัดระเบียบปกครอง สถาบันทางการเมืองการปกครอง พลังและกระบวนการทางการเมืองและประชาคมนานาชาติรวมถึงระบบการเมืองการปกครองที่เหมาะสมที่สุดที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมทางการเมืองและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีอันมีคุณค่ากับการดำรงอยู่ของสังคมที่มั่นคง มีความสุขเกิดความปรองดองของคนในชาติ |
|
๔๐๒ ๓๐๑ |
ความรู้เบื้องต้นทางรัฐประศาสนศาสตร์ (Introduction to Public Administration) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎีและขอบข่ายการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ ปทัสถานและวิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารการพัฒนา ปัจจัยแวดล้อมทางรัฐประศาสนศาสตร์ นโยบายและการวางแผนของรัฐ องค์การและการจัดการภาครัฐแนวใหม่ แนวโน้มรัฐประศาสนศาสตร์ของไทย |
|
๔๐๑ ๓๐๔ |
ความรู้เบื้องต้นทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Introduction to International Relation) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาความรู้พื้นฐานของการเมืองระหว่างประเทศ ธรรมชาติและโครงสร้างของระบบการเมืองระหว่างประเทศ ปัจจัยทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการทหาร วัฒนธรรม อุดมการณ์ที่มีผลต่อแนวพฤติกรรมของรัฐ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ พัฒนาการความร่วมมือระหว่างประเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย สถาบันระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนวพระพุทธศาสนา |
|
๔๐๑ ๓๐๕ |
การวิเคราะห์การเมืองการปกครองของไทย (Analysis of Thai Politics and Government) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาแนวคิดทฤษฎีการเมือง เช่น ทฤษฎีระบบ ทฤษฎีโครงสร้าง และหน้าที่ ทฤษฎีการพัฒนา ทางการเมือง พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยทางภูมิประวัติศาสตร์ โครงสร้างสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจการเมืองของไทย ลักษณะเฉพาะและอุดมการณ์ประจำชาติ กลุ่มผลประโยชน์ บทบาทของทหารต่อการเมืองการปกครองของไทย |
|
๔๐๑ ๓๐๖ |
ทฤษฎีการเมือง (Political Theories) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการเมืองตะวันตกที่สำคัญ ทฤษฎีการเมือองตะวันออกที่สำคัญ รวมทั้งปรัชญาการเมือง ความคิดทางการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง ลัทธิการเมือง ลัทธิชาตินิยม ลัทธิประชาธิปไตย ระบอบเผด็จการ ลัทธิสังคมนิยม ลัทธิอนาธิปไตย |
|
๔๐๑ ๓๐๘ |
การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ (Comparative Politics and Government) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาแนวทางการศึกษาเปรียบเทียบและพัฒนาการทางการเมือง ในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นแม่แบบประชาธิปไตย และประเทศกำลังพัฒนา และวิเคราะห์เหตุการณ์ทางการเมืองในแต่ละประเทศในปัจจุบัน |
|
๔๐๑ ๓๐๙ |
ภาษาอังกฤษในสาขารัฐศาสตร์ (English the Field of Political Science) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาศัพท์ทางวิชารัฐศาสตร์ และฝึกการใช้ศัพท์และสำนวนเหล่านั้นในการเขียนและการพูด ตลอดทั้งฝึกการอ่าน วิเคราะห์ และตีความงานเขียนรัฐศาสตร์ การเขียนบทความ เรียงความเป็นภาษาอังกฤษในเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐศาสตร์ |
|
๔๐๑ ๔๑๐ |
สถาบันการเมืองและรัฐธรรมนูญ (Political Institutions and Constitutions) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาสถาบันทางการเมือง รูปแบบ และ สถาบันการเมืองต่างๆ ของรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐธรรมนูญกับสถาบันทางการเมือง พัฒนาการ ขบวนการแนวคิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ รูปแบบของรัฐธรรมนูญ การแก้ไขและสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญไทยฉบับปัจจุบัน และ ขบวนการทางสังคมและการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ |
|
๔๐๑ ๔๑๑ |
ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์ (Political Science Research Methodology) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์ ทั้งที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยครอบคลุมถึงการสร้างแนวความคิด ประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์ การตั้งสมมติฐาน การสร้างขอบข่าย การประมวลผล การวิเคราะห์ข้อมูล |
|
๔๐๑ ๓๐๗ |
การเมืองการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นของไทย (Thai Local Government and Politics) |
๓(๓-๐-๖) |
|
ศึกษารูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นของไทยเปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบัน แนวคิดหลักการบริหารราชการแผ่นดิน กลไกการพัฒนาประเทศ การปกครองส่วนภูมิภาคกับการการเมืองภาคประชาชน การปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและการมีส่วนร่วมของประชาชน แนวโน้มของการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นไทยในอนาคต |
|
๔๐๑ ๓๑๓ |
พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง (Political Parties, Interest Groups and Elections) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาความหมาย บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง ความเป็นมาของพรรคการเมือง ลักษณะทั่วไปของโครงสร้างพรรค การจัดองค์การพรรค ปัจจัยและรูปแบบการดำเนินงานของพรรค ลักษณะทั่วไปของกลุ่มผลประโยชน์ ระบบการเลือกตั้ง ปัญหาและอุปสรรคของพรรคการเมือง โดยเปรียบเทียบกรณีการเลือกตั้งของไทยกับประเทศอื่นๆ |
|
๔๐๑ ๓๑๔ |
การเมือง นโยบายสาธารณะและยุทธศาสตร์ชาติ (Politics and National strategy) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาแนวคิด วิธีการทางการเมือง ที่มีต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ นโยบายทางการเมืองกับยุทธศาสตร์ชาติ การเมืองที่เกี่ยวกับการตัดสินใจกำหนดนโยบายสาธารณะ และการนำไปสู่แผนงานความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง การบริหารและนโยบายสาธารณะปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปปฏิบัติ การวิเคราะห์นโยบายและการนำไปสู่การจัดทำแผน ปัญหาและอุปสรรคในการกำหนดนโยบาย |
|
๔๐๑ ๔๑๖ |
การศึกษาอิสระทางรัฐศาสตร์ (Independent Study on Political Science) |
๓ (๐-๖-๖) |
|
ศึกษาค้นคว้าวิจัยภาคสนามทางรัฐศาสตร์หรือเรื่องอื่นโ ดยความเห็นชอบและควบคุมดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา |
|
๔๐๑ ๔๑๗ |
กฎหมายปกครอง (Administrative Law) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาประวัติ แนวคิดและสาระสำคัญของกฎหมายปกครอง การบริการสาธารณะ การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ระบบข้าราชการ ความเกี่ยวพันระหว่างข้าราชการกับรัฐตามกฎหมาย ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร บำเหน็จบำนาญข้าราชการ และการจัดตั้งศาลปกครองของไทย |
|
๔๐๑ ๔๑๘ |
กฎหมายอาญา 1 (Criminal Law) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาลักษณะกฎหมายอาญา ทฤษฎีว่าด้วยความรับผิดชอบ ขอบเขตบังคับกฎหมายอาญา การพยายามกระทำความผิด ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดเหตุยกเว้นความผิด ยกเว้นโทษ ลดโทษ การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง การกระทำความผิดอีก อายุความอาญา โทษในทางอาญาและวิธีการเพื่อความปลอดภัย รวมทั้งศึกษาทฤษฎีอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยาอีกด้วย |
|
401 414 |
นวัตกรรมกับการเมืองไทย (Innovation and Thai politics) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาแนวคิด หลักการ กระบวนการและวิธีการของนวัตกรรมที่ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาการเมืองไทยส่งเสริมคุณค่าต่อการเมืองไทยในเชิงโครงสร้างและกระบวนการทางการเมืองไทย |
|
๔๐๑ ๔๒๐ |
การเมืองกับการสื่อสารทางการเมือง (Politics and Political Communication) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารทางการเมืองและองค์กรทางการเมืองกับสาธารณชน บทบาทของการสื่อสารและสื่อมวลชนในทางการเมือง การรณรงค์ทางการเมืองและการเลือกตั้ง กระบวนการนโยบายและการพัฒนา การแสดงความคิดเห็นสาธารณะ การสำรวจ รูปแบบ องค์กร โครงสร้าง และกระบวนการของการสื่อสารทางการเมือง ความสัมพันธ์ของการสื่อสารกับประชาธิปไตย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวาทกรรมทางการเมือง การสื่อสารและสื่อมวลชน การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาสำคัญของการสื่อสารกับการเมือง |
|
401 423 |
ประสบการณ์วิชารัฐศาสตร์ (Experience in political science) |
๓ (0-6-๖) |
|
ฝึกปฏิบัติงานและอบรมในประเด็นต่อไปนี้การรวมตัว การสร้างพลังทางการเมือง การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง การสร้างอำนาจต่อรองของประชาชน กลุ่มผลักดันกระบวนการนโยบายสาธารณะ ขบวนการทางสังคมและการเมือง และประชาชนภาคพลเมืองในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมือง ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษา |
|
๔๐๑ ๔๒๒ |
สัมมนาปัญหาทางการเมืองการปกครองของไทย (Seminar on Problems of Politics and Government of Thailand) |
๒ (๒-๐-๔) |
|
สัมมนาปัญหาทางการเมืองการปกครองของไทย ตามหัวข้อที่กำหนดให้ |
|
๔๐๑ ๒๒๓ |
การเมืองการปกครองกับพระพุทธศาสนา (Politics and Government on Buddhism) |
3 (3-๐-6) |
|
ศึกษาความหมายกับพระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครอง การกำเนิดรัฐในทางพระพุทธศาสนา การปกครองและรัฐในมุมมองของพระพุทธศาสนา ปรัชญาทางสังคมของพระพุทธศาสนา รูปแบบการปกครองของพระเจ้าอโศก ความสัมพันธ์ของพระพุทธศาสนากับการเมือง ระบบสาธารณรัฐของพระเจ้าลิจฉวี ระบอบประชาธิปไตยกับพระพุทธศาสนา ระบอบคอมมิวนิสต์กับพระพุทธศาสนา |
|
๔๐๑ ๓๒๕ |
รัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา (Political Science in Buddhism) |
3 (3-๐-6) |
|
ศึกษาแนวคิดทางการเมือง การบริหาร และการปกครองของพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก เอกสาร ตำราทางพระพุทธศาสนาและจากผลงานของนักวิชาการสมัยใหม่ |
|
๔๐๑ ๓๒๖ |
สิทธิมนุษยชนตามแนวพระพุทธศาสนา (Human Rightsin Buddhism) |
3 (3-๐-6) |
|
ศึกษาความหมาย ความเป็นมา และแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน หลักความเท่าเทียมกันทางพระพุทธศาสนา ความเป็นปัจเจกภาพ เสรีภาพ และประโยชน์ส่วนรวม ความเท่าเทียมกันตามหลักสากล ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเสรีภาพตามกฎหมายสูงสุดของรัฐ |
|
๔๐๑ ๓๑๕ |
การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการระดมมวลชน (Political Participation and crowd storming) |
๓(๓-๐-๖) |
|
พื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชน พัฒนาการของการมีส่วนร่วมในอดีต สิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ และการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มชนที่ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นแนวทางสู่การวางแผนดำเนินการ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีในการระดมมวลชน การจัดการอารมณ์ของมวลชน การวิเคราะห์มวลชนและการจัดตั้งกลุ่มแกนนำในการเคลื่อนไหวมวลชน |
|
๔๐๑ ๔๒๘ |
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (Law of Criminal Procedure) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตั้งแต่อำนาจพนักงานสอบสวนและศาล การฟ้องคดีอาญา มาตรการบังคับทางอาญาเกี่ยวกับ หมายเรียก หมายอาญา การจับ การค้น ควบคุม ขัง จำคุก ปล่อยชั่วคราว หลักการสอบสวน เทคนิคการสืบสวนและสอบสวน การสั่งคดีอาญาของพนักงานอัยการ การชันสูตรพลิกศพ การฟ้องคดีอาญา การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณาพิพากษา การอุทธรณ์ การฎีกา การบังคับคดี การอภัยโทษ การเปลี่ยนโทษ การลดโทษ นิติวิทยาศาสตร์ และพยานหลักฐานในคดีอาญา |
|
๔๐๑ ๔๒๙ |
กฎหมายลักษณะพยาน (Law of Witness) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายลักษณะพยาน หลักทั่วไปเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐาน การนำสืบ ข้อเท็จจริงที่ไม่ต้องนำสืบด้วยพยานหลักฐาน พยานหลักฐานที่ห้ามมิให้รับฟัง พยานหลักฐานที่ต้องห้ามโดยกฎหมายปิดปาก การนำสืบพยานบุคคลแทนเอกสาร พยานต่างๆ เช่น พยานบอกเล่า พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานที่เป็นความเห็น วิธีนำสืบพยานโดยหลักฐานทั่วไป มาตรฐานการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน และการคุ้มครองพยานตามกฎหมาย |
|
๔๐๑ ๔๓๐ |
การเมืองการปกครองของประเทศประชาคมอาเซียน (Politics and Government of Asian Community) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาระบบการเมืองและพัฒนาการทางการเมืองรูปแบบของรัฐ ของประเทศประชาคมอาเซียนจากอดีตถึงปัจจุบัน และวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันของแต่ละประเทศ |
|
๔๐๑ ๔๓๑ |
การพัฒนาระบบราชการไทย (Development of Thai Bureaucratic System) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาแนวคิดการจัดองค์การราชการ วิวัฒนาการของระบบราชการไทย โครงสร้างของระบบราชการไทย รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน การปฏิบัติงานของระบบราชการไทย บทบาทข้าราชการกับการบริหารงานบุคคลของระบบราชการไทย การบริหารงานคลังและงบประมาณของระบบราชการไทย การพัฒนาระบบราชการตามหลักธรรมาภิบาล การปฏิรูประบบราชการและแนวโน้มการการพัฒนาของระบบราชการไทย |
|
๔๐๑ ๔๓๒ |
การต่อต้านการทุจริต (Anti-Corruption) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตที่เป็นการปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหรือการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบในทุกรูปแบบ |
|
๔๐๑ ๔๓๓ |
เหตุการณ์ปัจจุบันในการเมืองไทย (Current Affairs of Thai Politics) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงต่างๆ ทั้งอดีตและปัจจุบัน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องและกระทบต่อการเมือง เศรษฐกิจและสังคมไทย โดยเน้นเหตุการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันเป็นสำคัญ และแนวโน้มการเมืองไทยในอนาคต |
|
๔๐๑ ๔๓๔ |
จิตวิทยาการเมือง (Political Psychology) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลในสังคม เช่น การเลือกระบบการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับรัฐบาล ทัศนคติของรัฐบาลที่มีต่อประชาชนและของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยใช้ทฤษฏีเกี่ยวกับสิ่งกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์จากจิตวิทยามาเป็นเครื่องมืออธิบาย |
|
๔๐๑ ๔๓๕ |
แนวคิดทางการเมืองของนักคิดสำคัญในตะวันออก (Eastern Political Thoughts) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาแนวคิดทางการเมืองของนักคิดสำคัญในตะวันออก อาทิ ประเทศอินเดีย ประเทศจีน ประเทศอื่นๆ ในตะวันออก และแนวคิดในอุดมคติทางพระพุทธศาสนาเป็นต้น |
|
๔๐๑ ๔๓๖ |
ระบอบประชาธิปไตยเปรียบเทียบ (Comparative Democracy) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาแนวคิดประชาธิปไตย ความเป็นมาของประชาธิปไตย เปรียบเทียบสมัยโบราณและสมัยปัจจุบัน ประชาธิป ไตยของอังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เปรียบเทียบประชาธิปไตยระบบทุนนิยมกับประชาธิปไตยสังคมนิยมประชาธิปไตยระบบอังกฤษกับอเมริกา และฝรั่งเศส ประชาธิปไตยระบบของไทยกับญี่ปุ่น และประชาธิปไตยในศตวรรษที่ ๒๑ |
|
๔๐๑ ๔๓๗ |
การเมืองกับความคิดเห็นสาธารณะ (Politics and Public Opinions) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาเกี่ยวกับความคิดเห็นสาธารณะ รูปแบบการแสดงความคิดเห็นการทำความเข้าใจ การตีความและประเด็นปัญหาในกระบวนการสำรวจความคิดเห็นสาธารณะ บทบาทและผลกระทบของความคิดเห็นสาธารณะต่อประชาธิปไตย นโยบายสาธารณะและการสร้างสถาบันทางการเมือง การตอบสนองของสังคมและสถาบันทางการเมืองต่อความคิดเห็นสาธารณะ การครอบงำและการเมืองของความคิดเห็นสาธารณะ การบริหารจัดการและการระดมความคิดเห็นสาธารณะต่อประเด็นปัญหาทางการเมือง |
|
๔๐๑ ๔๓๘ |
พฤติกรรมทางการเมือง (Political Behavior) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ความเป็นมาของการศึกษาแบบพฤติกรรมในทางรัฐศาสตร์ และความแตกต่างระหว่างการศึกษา รูปแบบธรรมดา หรือแบบปรัชญาการเมืองกับแบบพฤติกรรม ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อกิจกรรมทางการเมือง ความเกี่ยวข้องระหว่างการอบรม และการเรียนรู้ทางการเมือง บุคลิกภาพและวัฒนธรรมทางการเมืองกับพฤติกรรมทางการเมือง โดยจะเน้นเปรียบเทียบระหว่างพฤติกรรมในระบบประเพณีประชาธิปไตยตะวันตกกับประเทศไทยเป็นสำคัญ |
|
๔๐๑ ๔๓๙ |
การเมืองกับธุรกิจ (Politics and Business) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
แนวการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับธุรกิจ รัฐและระบบตลาด ผลประโยชน์ทางธุรกิจและนโยบายสาธารณะ บทบาทและอิทธิพลทางการเมืองของ กลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจ บรรษัทขนาดใหญ่และบรรษัทข้ามชาติ |
|
๔๐๑ ๔๔๐ |
ชนชั้นนำทางการเมือง (Political Elites) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาทฤษฎีชนชั้นปกครอง หลักการแนวโน้มในชนชั้นปกครองโดยเปรียบชนชั้นปกครองในระบอบประชาธิปไตย ศึกษาเกี่ยวกับตัวผู้ปกครองและชนชั้นผู้ปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครอง รวมตลอดถึงรูปแบบสังคม (Social types) ในการศึกษา วิเคราะห์เปรียบเทียบชนชั้นปกครองในกลุ่มประเทศฟาสซิสต์คอมมิวนิสต์และเสรีประชาธิปไตยในยุคปัจจุบัน |
|
๔๐๑ ๔๔๑ |
สันติวิธีและสมานฉันท์ (Peaceful means and Reconciliation) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาสาเหตุและปัญหาของความขัดแย้ง วิธีระงับความขัดแย้งโดยสันติวิธี การสร้างสันติวิธีและสมานฉันท์ การสร้างความปรองดอง การจัดการความขัดแย้งโดยใช้วิธีการสร้างการมีส่วนร่วม การขอโทษ การให้อภัย การสื่อสารอย่างสันติ การฟื้นคืนดี และการเยียวยา |
|
๔๐๑ ๓๑๕ |
การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการระดมมวลชน (Political Participation and Mass Mobilization) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
พื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชน พัฒนาการของการมีส่วนร่วมในอดีต สิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ และการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มชนที่ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นแนวทางสู่การวางแผนดำเนินการ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีในการระดมมวลชน การจัดการอารมณ์ของมวลชน การวิเคราะห์มวลชนและการจัดตั้งกลุ่มแกนนำในการเคลื่อนไหวมวลชน |
|
XXX XXX |
ภาวะผู้นำกับการบริหารสมัยใหม่ (Leadership and modern management) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีภาวะผู้นำ รูปแบบภาวะผู้นำ บทบาทของผู้นำในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในองค์การ รวมถึงแนวคิดพฤติกรรมมนุษย์และหลักปฎิบัติที่เป็นประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพของบุคคลในองค์การ วิธีการจัดการในระดับปัจเจกบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์กร แนวความคิดและทฤษฎีการจูงใจ อำนาจและอิทธิพล พฤติกรรมกลุ่ม การตัดสินใจ การจัดการความขัดแย้งและการประสานความร่วมมือ การออกแบบโครงสร้างองค์กร วัฒนธรรมขององค์กร หัวข้อปัจจุบันในงานวิจัยภาวะผู้นำและพฤติกรรมองค์การ |
|
XXX XXX |
การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน อย่างยั่งยืน (Sustainable of Economic social and Community Development) |
๓ (๓-๐-๖) |
|
ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาที่อย่างยั่งยืน ศึกษาประวัติความเป็นมา ปรัชญา หลักการดำเนินงาน และขั้นตอนการปฏิบัติงาน ในการน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ และการปฏิรูปประเทศ เพื่อนำความรู้ วิธีการต่างๆ มาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีความสอดคล้องกับการทำงาน พัฒนาระบบเศรษฐกิจ ชุมชน และสังคมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน |
|