หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติงานที่ดีในการแก้ไขปัญหาในองค์ประกอบทั้ง ๖
จากตัวบ่งชี้และวิธีปฏิบัติงานที่ดีเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาจากองค์ประกอบทั้ง ๖ ให้การผลิตบัณฑิตมีคุณลักษณะพึงประสงค์และเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ซึ่งต้องมีการพัฒนาปรับปรุงตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในระดับหลักสูตร ให้สามารถดำเนินการสอดคล้องกับตัวบ่งชี้การดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒ เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กำหนดหลักเกณฑ์และการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ดังที่ผู้เขียนได้บอกตัวบ่งชี้และแนวปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาในองค์ประกอบทั้ง ๖ ในตารางที่ ๓.๖
ตารางที่ ๓.๖ ตัวบ่งชี้และแนวปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาในองค์ประกอบทั้ง ๖
ตัวบ่งชี้ | ปัญหา | แนวปฏิบัติงานที่ดี |
๑.๑ การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดย สกอ. | มีบางหลักสูตรที่มีจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร ไม่ครบ ๕ รูป/คน เช่น มีอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ลาศึกษาต่อ | ควรเร่งพิจารณาสำรวจอาจารย์ประจำหลักสูตร และนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่อขออนุมัติเปลี่ยนแปลงอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ครบตามจำนวนที่เกณฑ์กำหนดจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร นับตามปีการศึกษาอาจารย์ประจำหลักสูตร ๕ รูป/คน (ตามที่เสนอใน มคอ. ๒) อาจารย์ประจำสามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้อีก ๑ หลักสูตรในระดับเดียวกันหรือพหุวิทยาการ เช่น ปริญญาตรีกับปริญญาตรีหรือปริญญาตรีพหุวิทยาการปริญญาโทกับปริญญาโทหรือปริญญาโทพหุวิทยาการแต่จะไม่สามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรข้ามระดับได้ เช่น ระดับปริญญาตรีไประดับปริญญาโท หรือระดับปริญญาโทไประดับปริญญาตรี |
ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก อาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์ | ในการแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ควรพิจารณาอาจารย์ประจำให้มีคุณสมบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์พิจารณาอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน ๕ รูป/คน | |
กรณีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่มีคุณสมบัติเป็นตามเกณฑ์ | ในการพิจารณาอาจารย์ประจำหลักสูตร ๕ รูป/คน ในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ต้องมีคุณสมบัติของอาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์จำนวนอย่างน้อย ๓ รูป/คนพิจารณาอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน ๕ รูป/คนอาจารย์ใหม่ที่มีคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก มีความหมายมากกว่าอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ เพราะสามารถมีคุณสมบัติเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้ทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอก | |
ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ส่วนใหญ่หลักสูตรทางด้านศิลปะ หรือวิชาชีพ มีอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกสถาบัน/อาจารย์พิเศษที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์ | ควรพิจารณาเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อขออนุมัติเทียบเคียงคุณวุฒิของอาจารย์ผู้สอนที่ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก/ อาจารย์พิเศษ ให้มีคุณวุฒิเป็นไปตามเกณฑ์เนื่องจากมีประสบการณ์/ความเชี่ยวชาญเฉพาะรายชื่ออาจารย์ผู้สอนสามารถพิจารณาจากตารางสอน เพื่อดูว่าเปิดสอนกี่รายวิชารายชื่ออาจารย์ผู้สอน ดูจาก มคอ. ๓ ว่ามีทั้งหมดกี่รายวิชาที่เปิดสอน และสามารถดูรายชื่ออาจารย์ผู้สอนอาจารย์ภายนอก/อาจารย์พิเศษ ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัย อาจารย์ใหม่ที่มีคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก จะไม่สามารถสอนในระดับปริญญาเอกได้ ยกเว้นต้องมีผลงานวิจัย จำนวน ๑ เรื่อง ภายในระยะเวลา ๒ ปี (นับตามปีปฏิทิน) นับจากวันที่เริ่มสอน ทั้งนี้งานวิจัยต้องตีพิมพ์/proceedings และสามารถเป็นงานวิจัยที่มีชื่อร่วมได้ | |
สืบเนื่องจากตัวบ่งชี้ที่ ๔ กรณีในกลุ่มด้านศิลปะหรือวิชาชีพที่มีอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกสถาบัน/ อาจารย์พิเศษ ที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์ทำให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก มีคุณวุฒิ และประสบการณ์ใน การทำวิจัยไม่เป็นไปตามเกณฑ์ | ควรพิจารณาเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อขออนุมัติเทียบเคียงคุณวุฒิของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระให้มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดกรณีอาจารย์ประจำที่ได้กิตติมศักดิ์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะจากที่อื่นนั้น สามารถเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักได้คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำเท่านั้น | |
กรณีที่คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ | ควรพิจารณาเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อขออนุมัติเทียบเคียงคุณวุฒิของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด | |
กรณีที่คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ | ควรพิจารณาเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อขออนุมัติเทียบเคียงคุณวุฒิของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ทั้งอาจารย์ประจำและอาจารย์จากภายนอกสถาบันมีคุณสมบัติเดียวกัน | |
ผลงานวิจัยของนิสิตอาจมีการตีพิมพ์เหลื่อมปี | สาขาวิชา/บัณฑิตวิทยาลัยต้องมีมาตรการผลักดันให้นิสิตจบการศึกษาผลงานนับตามปีปฏิทินสิ่งพิมพ์วิชาการซึ่งอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น รายงานวิจัยที่ขอ ISDN สามารถนับได้เอกสารวิชาการ ต้องมี peer review สาขาวิชาเป็นผู้เก็บข้อมูล | |
ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา มีสัดส่วนมากกว่าเกณฑ์ | บัณฑิตวิทยาลัยได้นำเสนอขออนุมัติสภามหาวิทยาลัย ในกรณีที่มีสัดส่วนอาจารย์ต่อนิสิตมากกว่าเกณฑ์ (คนที่ ๖ – ๑๐)นับนิสิตค้างท่อทั้งหมดนับนิสิตของมหาวิทยาลัยอื่นด้วยที่อาจารย์เป็น Adviserเงื่อนไขให้สัดส่วนอาจารย์ ๑ รูป/คนต่อนิสิต ๕ รูป/คน ถ้ามากกว่า ๕ รูป/คน แต่ไม่เกิน ๑๐ รูป/คน ให้นำเสนอขออนุมัติสภามหาวิทยาลัย ซึ่งในกรณีที่สัดส่วน อาจารย์ ๑ คน ต่อนิสิต ๑๐ คน คือ อาจารย์ ต้องมีศักยภาพในการดูแลนิสิต ดังนั้น คำว่า “ศักยภาพ” อาจารย์ประจำต้องมีตำแหน่งทางวิชาการ (บัณฑิตวิทยาลัย) | |
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา มีผลงานวิจัยไม่ต่อเนื่องในรอบ ๕ ปี | สาขาวิชาควรมีมาตรการผลักดันหรือสนับสนุนให้อาจารย์ประจำหลักสูตรมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัยต้องตีพิมพ์หรือ proceedings (รายงานสืบเนื่องฉบับเต็มในการประชุมทางวิชาการ)ผลงานในรอบ ๕ ปี คือ นับผลงานย้อน ๕ ปี โดยนับรวมปีที่ประเมิน เช่น รับการประเมินในปีการศึกษา ๒๕๕๗ ผลงานวิจัยในรอบ ๕ ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓, ๒๕๕๔, ๒๕๕๕, ๒๕๕๖ และ ๒๕๕๗ | |
สาขาวิชาเข้าใจว่าการปรับปรุงหลักสูตรต้องปรับปรุงตามรอบระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น | สำหรับการปรับปรุงหลักสูตรสามารถปรับปรุงหลักสูตรได้ก่อนถึงรอบระยะเวลาที่กำหนดถ้าคณะวิชามีหลักสูตรการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๔ ควรเร่งดำเนินการแต่งตั้งกรรมการทบทวนและปรับปรุงหลักสูตรภายในภาคการศึกษา ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ (ปี พ.ศ. ๒๕๕๘) และเริ่มใช้หลักสูตรใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ | |
ตัวชี้วัดที่ ๒.๑ คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ | คณะวิชาไม่ชัดเจนในปีที่สำรวจข้อมูล | – สำรวจจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา – การสำรวจข้อมูลต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๒๐ ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา โดยสำรวจข้อมูลเป็นรายหลักสูตร – ระดับปริญญาโท/เอก บัณฑิตวิทยาลัยเป็นผู้สำรวจข้อมูล ในกรณีหลักสูตรปรับปรุงที่ยังไม่ครบรอบ สถาบันอุดมศึกษาต้องประเมินตัวบ่งชี้ ๒.๑ ด้วย “แม้ว่าหลักสูตรนั้นจะยังไม่ครบรอบการปรับปรุงก็ตาม โดยนำผลการดำเนินงานของหลักสูตรในรอบที่ผ่านมาใช้ประกอบการประเมิน • กรณีบัณฑิตที่มีอาชีพอิสระ ไม่ต้องเอามานับในการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ในกรณีบัณฑิตหลักสูตรนานาชาติ เป็นนิสิตต่างชาติประมาณ ๙๐% การประเมินบัณฑิต อาจไม่ถึงร้อยละ ๒๐ เนื่องจากเดินทางกลับประเทศไปแล้ว สามารถอนุโลมให้ใช้บัณฑิตที่ เป็นนิสิตชาวไทยเป็นฐานในการคิด เช่น มีนิสิตต่างชาติ ๙๐ คน มีนิสิตไทย ๑๐ คน ให้ประเมินโดยคิดจากนิสิตไทยจำนวน ๑๐๐ |
การนับจำนวนผลงานที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ และจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา | – จำนวนผลงานของนิสิตให้นับปีปฏิทิน – จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาให้นับปีการศึกษา – ผลงานของนิสิตที่มีอาจารย์ร่วมด้วย สามารถนำมานับในตัวบ่งชี้นี้ และนับในตัวบ่งชี้ที่ ๔.๒ ข้อ ๓ – กรณีที่ไม่มีผู้สำเร็จการศึกษาไม่นำมาพิจารณาในตัวบ่งชี้นี้ ผลงานวิจัยที่มีชื่อนิสิตและอาจารย์ร่วมกันและนับในตัวบ่งชี้นี้แล้วสามารถนำไปนับในตัวบ่งชี้ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ ผลงานของนิสิตและผู้สำเร็จการศึกษาให้นับผลงานทุกชิ้นที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในปีการประเมินนั้นๆ ในกรณีที่ไม่มีผู้สำเร็จการศึกษาไม่พิจารณาตัวบ่งชี้นี้ |
|
การนับจำนวนผลงานวิจัยและจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา | จำนวนผลงานวิจัยให้นับปฏิทิน – จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาให้นับปีการศึกษา – ผลงานของนิสิตที่มีอาจารย์ร่วมด้วย สามารถนำมานับในตัวบ่งชี้นี้และตัวบ่งชี้ที่ ๔.๒ ข้อ ๓ และ ๔.๒ ข้อ ๔ (กรณีระดับปริญญาเอก) • การนับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของนิสิตและผู้สำเร็จการศึกษา นับ ณ วันที่ได้รับการตีพิมพ์ผลงานในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ มิได้นับจากวันที่ได้รับการตอบรับ(Accepted) • กรณีวารสารทางวิชาการที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลตามประกาศ ก.พ.อ. /ระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษา ว่าด้วย หลักเกณฑ์การพิจารณาวาสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการ พ.ศ.๒๕๕๖ แต่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้พิจารณาและให้ความเห็นชอบแล้ว สถาบันอุดมศึกษาต้องแจ้งให้คณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบด้วย จึงจะสามารถนับผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ประกาศฉบับดังกล่าวสามารถนำมาใช้ได้ถึงวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๙ และใช้ได้เป็นการเฉพาะสถาบันเท่านั้น • การส่งบทความเพื่อพิจารณาคัดเลือกให้นำเสนอในการประชุมวิชาการต้องส่งเป็นฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) และเมื่อได้รับการตอบรับและตีพิมพ์แล้ว การตีพิมพ์ต้องตีพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบเอกสาร หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ • ผลงานสร้างสรรค์ทุกชิ้นต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการที่มีองค์ประกอบไม่น้อยกว่า ๓ คน โดยมีบุคคลภายนอกสถาบันร่วมพิจารณาด้วย |
|
๒.๒ การได้งานทำหรือผลงานวิจัยของผู้สำเร็จการศึกษา | – (ปริญญาตรี) ร้อยละของของบัณฑิตบรรพชิตปริญญาตรีที่ปฏิบัติหน้าที่สนองงานคณะสงฆ์และบัณฑิตคฤหัสถ์ปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน ๑ ปี – (ปริญญาโท) ผลงานของนิสิตและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ – (ปริญญาเอก) ผลงานของนิสิตและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ได้รับการ ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ • กรณีหลักสูตรใหม่ ไม่ต้องประเมินตัวบ่งชี้ที่ ๒.๑ และ ๒.๒ เนื่องจากไม่มีผู้สำเร็จการศึกษา สำหรับหลักสูตรปรับปรุงที่มีนิสิตเรียนอยู่ ต้องประเมินตัวบ่งชี้ที่ ๒.๑ และ ๒.๒ ด้วย เนื่องจากมีผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว |
|
๓.๑ การรับนิสิต | – การรับนิสิต – การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา |
|
๓.๒ การส่งเสริมและพัฒนานิสิต | การเขียนบรรยายผลการดำเนินงาน และการให้คะแนนประเมิน | – การอธิบายกระบวนการ PDCA ให้อธิบายเกี่ยวกับ – การควบคุมการดูแลให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นิสิตปริญญาตรี – การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์แก่บัณฑิตศึกษา – การพัฒนาศักยภาพนิสิตและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ลักษณะภาพรวม โดย Peer Review จะพิจารณาคะแนนการประเมินในภาพรวมของผลการดำเนินงาน PDCA |
๓.๓ ผลที่เกิดกับนิสิต | การเขียนบรรยายผลการดำเนินงาน และการให้คะแนนประเมิน | – การอธิบายกระบวนการ PDCA ให้อธิบายเกี่ยวกับ – การคงอยู่ – การสำเร็จการศึกษา (แสดงข้อมูลย้อนหลัง ๓ ปี) – ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนิสิตลักษณะภาพรวมโดย Peer Review จะพิจารณาคะแนนการประเมินในภาพรวมของผลการดำเนินงาน PDCA |
๔.๑ การบริหารและพัฒนาอาจารย์ | การเขียนบรรยายผลการดำเนินงาน และการให้คะแนนประเมิน | – การอธิบายกระบวนการ PDCA ให้อธิบายเกี่ยวกับ – ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร – ระบบการบริหารอาจารย์ – ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ ลักษณะภาพรวม โดย Peer Review จะพิจารณาคะแนนการประเมินในภาพรวมของผลการดำเนินงาน PDCA • การบริหารและการพัฒนาอาจารย์ ให้หมายถึง อาจารย์ประจำหลักสูตรเท่านั้น • กรณีผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติว่าจ้างให้ดำเนินการ ให้ดูจากรายชื่อ ผู้วิจัยที่ปรากฏในสัญญาว่าจ้าง • พิจารณาจากผลงานของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีรายชื่อ ณ วันสิ้นสุดปีการศึกษานั้นๆ โดยไม่ต้องนำระยะเวลาในการประจำหลักสูตรมาพิจารณา • กรณีอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก ที่ใช้อาจารย์ประจำหลักสูตรชุดเดียวกัน การนับผลงานวิชาการสามารถนับได้ทั้ง ๒ หลักสูตร • กรณีผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำที่อยู่คนละคณะ/สถาบัน ให้พิจารณาดังนี้ – ในระดับหลักสูตรให้นับเป็นผลงานของอาจารย์ประจำหลักสูตรตามที่ทำหน้าที่อาจารย์ประจำหลักสูตร – ในระดับคณะ ให้นับเป็นผลงานของอาจารย์ประจำสังกัดคณะนั้นระดับสถาบันให้นับเป็นผลงานเดียว แต่ถ้าอยู่คนละสถาบันก็นับตามสถาบันที่สังกัดของทุกคน |
๔.๒ คุณภาพอาจารย์ | การพิจารณาคะแนนประเมิน | จำนวนอาจารย์ประจำนับตามปีการศึกษา – พิจารณาอาจารย์ประจำหลักสูตร ๕ คน – ประเด็นย่อยในการพิจารณาตัวบ่งชี้มี ๔ ประเด็นๆ ละ ๕ คะแนน (ข้อละ ๑.๒๕) กรณีที่ไม่มีหลักสูตรปริญญาเอกไม่ต้องนำข้อ ๔ มาพิจารณาให้พิจารณา ๓ ข้อ คะแนนเต็ม ๕ (ข้อละ ๑.๖๖ คะแนน) – การนับจำนวนอาจารย์ประจำ ให้นับระยะเวลาการทำงานสำหรับอาจารย์ที่บรรจุใหม่ในปีที่ประเมิน ดังนี้ ๙ – ๑๒ เดือน คิดเป็น ๑ คน ๖ เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง ๙ เดือน คิดเป็น ๐.๕ คน น้อยกว่า ๖ เดือน ไม่สามารถนำมานับได้ |
การนับจำนวนอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกไม่ตรงกับงานบุคคล | งานบุคคลเป็นผู้เก็บข้อมูลโดยสาขาวิชาสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลกับงานบุคคล คุณวุฒิปริญญาเอก พิจารณาจากระดับคุณวุฒิที่ได้รับหรือเทียบเท่าตามหลักเกณฑ์การพิจารณาคุณวุฒิของกระทรวงศึกษาธิการ กรณีที่มีการปรับวุฒิการศึกษาให้มีหลักฐานการสำเร็จการศึกษาภายในรอบปีการศึกษานั้น จำนวนอาจารย์ประจำนับปีการศึกษา พิจารณาอาจารย์ประจำหลักสูตร ๕ คน | |
การนับจำนวนอาจารย์ประจำที่มีตำแหน่งทางวิชาการไม่ตรงกับงานบุคคล | (๑) งานบุคคลเป็นผู้เก็บข้อมูล โดยสาขาวิชาสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลกับงานบุคคล (๒) การนับตำแหน่งทางวิชาการให้นับตำแหน่งที่ได้รับอนุมัติล่าสุด ในรอบปีการประเมิน (ตำแหน่ง รศ. และ ผศ. สภามหาวิทยาลัยฯ เป็นผู้อนุมัติ /ศ. ต้องได้รับการโปรดเกล้าฯ) (๓) จำนวนอาจารย์ประจำ นับปีการศึกษา (๔) พิจารณาอาจารย์ประจำหลักสูตร ๕ คน |
|
การนับผลงานทางวิชาการ | (๑) จำนวนผลงานทางวิชาการของอาจารย์นับปีปฏิทิน (๒) จำนวนอาจารย์ประจำ นับปีการศึกษา (๓) พิจารณาอาจารย์ประจำหลักสูตร ๕ คน (๔) กรณีอาจารย์ประจำที่อยู่หลักสูตรเดียวกัน หรืออยู่ต่างหลักสูตร ถ้ามีการทำผลงานร่วมกัน สามารถนับแยกได้แต่ในระดับคณะวิชาจะนับได้หนึ่งเท่านั้น |
|
การนับจำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงของอาจารย์ | – จำนวนผลงานทางวิชาการของอาจารย์นับปีปฏิทิน – จำนวนอาจารย์ประจำนับตามปีการศึกษา – พิจารณาอาจารย์ประจำหลักสูตร ๕ คน – การอ้างอิงบทความของอาจารย์ (citation) เช่น การ citation ของตัวเอง/บุคคลใดก็ได้ที่นำไปอ้างอิง/การอ้างอิงงานวิทยานิพนธ์ของนิสิตเหล่านี้สามารถนับได้โดยต้องได้รับการอ้างอิงในฐานข้อมูล TCI และ Scopus – การ citation มากกว่า ๑ ครั้ง ให้นับ ๑ เท่านั้น |
|
๔.๓ ผลที่เกิดกับอาจารย์ | การเขียนบรรยายผลการดำเนินงาน และการให้คะแนนประเมิน | การอธิบายกระบวนการ PDCA ให้อธิบายเกี่ยวกับ – การคงอยู่ของอาจารย์ – ความพึงพอใจของอาจารย์ ลักษณะภาพรวม โดย Peer Review จะพิจารณาคะแนนการประเมินในภาพรวมของผลการดำเนินงาน PDCA – ความพึงพอใจของอาจารย์ ๑) ประเมินด้านการบริหารหลักสูตร ๒) ประเมินด้านการสอนของตนเอง ๓) ประเมินสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ • ในการพิจารณาประเด็นความพึงพอใจของอาจารย์ ให้พิจารณาความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรทั้ง ๕ คน ที่ได้ทำหน้าที่ประจำหลักสูตร เป็นการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรต่อกระบวนการที่ได้ดำเนินการให้กับอาจารย์ตามกิจกรรมต่างๆ ในตัวบ่งชี้ที่ ๔.๑ อัตราการคงอยู่ของอาจารย์ให้พิจารณาจากรายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรว่ามีการ เปลี่ยนแปลงในแต่ละปี ตั้งแต่หลักสูตรใหม่/ปรับปรุงที่ได้รับการอนุมัติ/เห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยให้เปิดดำเนินการ |
๕.๑ สาระของรายวิชาในหลักสูตร | การเขียนบรรยายผลการดำเนินงาน และการให้คะแนนประเมิน การตีความกรณีหลักสูตรมีความทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานหรือไม่ ควรดูที่เนื้อหาสาระรายวิชาที่เปิดสอนว่าทันสมัย เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของโลกหรือไม่ | ให้อธิบายกระบวนการ PDCA เกี่ยวกับ – การออกแบบหลักสูตรและสาระรายวิชาในหลักสูตร – การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ ลักษณะภาพรวมโดย Peer Review จะพิจารณาคะแนนการประเมินในภาพรวมของผลการดำเนินงาน PDCA |
๕.๒ การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน | การเขียนบรรยายผลการดำเนินงาน และการให้คะแนนประเมิน ประเด็นการบูรณาการกับการบริการวิชาการทางสังคมไม่จำเป็นต้องเป็นโครงการเดียวกับที่อยู่ในแผนบริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา แต่ให้ดูเจตนารมณ์ว่าเกิดผลการเรียนรู้ บรรลุตามเป้าหมายหรือไม่ | การอธิบายกระบวนการ PDCA ให้อธิบายในประเด็นที่เกี่ยวข้องในลักษณะภาพรวม โดย Peer Review จะพิจารณาคะแนนการประเมินในภาพรวมของผลการดำเนินงาน PDCA – การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำ มคอ. ๓ และ มคอ. ๔ (นวัตกรรมการสอนแบบใหม่) – การจัดการเรียนการสอนที่มีการฝึกปฏิบัติในระดับปริญญาตรี เป็นการฝึกสหกิจ แหล่งฝึกงาน – การช่วยเหลือ กำกับ ติดตาม ในการทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระและการตีพิมพ์ผลงานในระดับบัณฑิตศึกษา (บัณฑิตวิทยาลัย) |
การเขียนบรรยายผลการดำเนินงาน และการให้คะแนนประเมิน | การอธิบายกระบวนการ PDCA ให้อธิบายในประเด็นที่เกี่ยวข้องในลักษณะภาพรวม โดย Peer Review จะพิจารณาคะแนนการประเมินในภาพรวมของผลการดำเนินงาน PDCA | |
๕.๓ การประเมินผู้เรียน | ขาดการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ | – การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ – การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิต – การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร (มคอ.๕ มคอ.๖ และ มคอ.๗) – การประเมินวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา |
๕.๔ ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ | คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มีประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการ ปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเพิ่มเติมไว้] ข้อ ๒ ระบุว่า “กรณีที่สถาบันอุดมศึกษาจะจัดทำรายละเอียดของรายวิชา รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) รายงานผลการดำเนินงานของรายวิชา รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) และรายงานผลการ ดำเนินงานของหลักสูตรในลักษณะอื่น สถาบันอุดมศึกษาสามารถดำเนินการจัดทำระบบละเอียดตามแนวทางของ มคอ. ๓, มคอ. ๔, มคอ.๕ มคอ. ๖ และ มคอ.๗ โดยสามารถปรับเปลี่ยนหัวข้อรายละเอียดให้เหมาะสมกับบริบทเฉพาะของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ ได้ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงเจตนารมณ์ของการจัดทำ มคอ.๓ มคอ.๔ มคอ.๕ มคอ.๖ และ มคอ.๗” ข้อ ๓ ระบุว่า “ให้ถือว่าตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ จำนวน ๑๒ ตัวบ่งชี้ เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น โดยสถาบันอุดมศึกษาสามารถกำหนดตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิได้ แต่ละหลักสูตรมีอิสระกำหนดตัวบ่งชี้ ผลการดำเนินงานที่ใช้ในการติดตาม ประเมิน และรายงานคุณภาพของหลักสูตรประจำปีที่ระบุไว้ในหมวด ๑-๖ ของแต่ละหลักสูตร ตามบริบทและวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิต ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติจากสภาสถาบันอุดมศึกษา ในระหว่างที่สถาบันอุดมศึกษายังไม่สามารถเสนอขอปรับตัวบ่งชี้ใหม่ได้แล้วเสร็จ ให้ใช้ตัวบ่งชี้เดิมก่อน ได้ หรือหากหลักสูตรใดมีความประสงค์กำหนดตัวบ่งชี้แบบเดิมก็สามารถกระทำได้ กรณีหลักสูตรมีการปรับตัวบ่งชี้ใหม่ ให้นำเสนอสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบในการปรับปรุงหลักสูตรครั้งต่อไป” • ในประเด็นตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตาม TQF ข้อ 8 อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคนได้รับการปฐมนิเทศหรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน คำว่า “อาจารย์ใหม่” ให้หมายถึง อาจารย์ประจำหลักสูตรที่เพิ่งย้ายเข้ามาอยู่ในหลักสูตรใหม่ แม้ว่าจะเป็นอาจารย์เก่าที่มาจากหลักสูตร/ภาควิชาอื่นก็ถือว่าเป็นอาจารย์ใหม่ • ในประเด็นตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตาม TQF ข้อ 11 ระดับความพึงพอใจของนิสิตปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า ๓.๕ จากคะแนนเต็ม ๕.๐ กรณีหลักสูตรใหม่ที่ยังไม่มีบัณฑิตไม่ต้องประเมินประเด็นนี้แต่หากเป็นหลักสูตรปรับปรุง ต้องประเมินประเด็นนี้ด้วย |
ผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ |
๖.๑ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | – ระบบการดำเนินงานของวิทยาเขต/วิทยาลัยสงฆ์/หลักสูตร โดยการมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ – จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน – กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนิสิตและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
องค์ประกอบที่ดีภายใต้กฎเกณฑ์การประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรนั้น เพื่อยกระดับให้การบริหารระดับหลักสูตรก้าวไปสู่ความเป็นเลิศ โดยอาจจัดทำเป็นตารางวิเคราะห์ (สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์, ๒๕๖๑ : ๑๐๘) ดังตารางการวิเคราะห์องค์ประกอบและหลักฐานอ้างอิงภายใต้เกณฑ์การประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร
ลำดับ | องค์ประกอบ | การวิเคราะห์ | หลักฐานอ้างอิง |
มี | ไม่มี | ||
๑ | มีวิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนหรือไม่ | √ | |
๒ | มีวิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนปฏิบัติทีทำให้หลักสูตรประสบความสำเร็จหรือสู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมายอย่างไร | √ | |
๓ | มีการสรุปวิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานหรือไม่ | √ | |
๔ | มีการสรุปเป็นความรู้หรือถอดประสบการณ์บันทึกเป็นเอกสารหรือไม่ | √ | |
๕ | มีการเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง | √ |
จากการแสดงตัวบ่งชี้ วิธีปฏิบัติงาน เพื่อการแก้ไขปัญหาในองค์ประกอบทั้ง ๖ ตามตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีหลักเกณฑ์และการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นระบบและกลไกการทำงานให้เป็นไปตามระบบ PDCA มีปรากฏแล้ว