โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๔ และระดับนานาชาติ ครั้งที่ ๒
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

เรื่อง “พุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศไทย”
(Buddhism Innovation for Developing Thailand)

หลักการและเหตุผล

   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น มีนโยบายดำเนินการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เป็นไปตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย คือ “ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม” นอกเหนือจากกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว วิทยาเขตขอนแก่น มีความมุ่งมั่นที่จะเผยแพร่ความรู้สู่สังคมให้หลากหลายและต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือจากองค์กรในวิทยาเขตขอนแก่นเองเป็นตัวขับเคลื่อน และสำนักวิชาการก็เป็นองค์กรหนึ่งที่ดำเนินบทบทและหน้าที่เกี่ยวกับข้อมูลภูมิปัญญา แหล่งคดีศึกษาค้นคว้าวิจัย เผยแพร่ เวทีทางวิชาการ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและเป็นการจัดประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา
   ด้วยความสำคัญในด้านการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการวิจัย สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น จึงสนับสนุนให้มีการจัดโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๔ และระดับนานาชาติ ครั้งที่ ๒ ในประเด็น “พุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศไทย” ด้วยความสำคัญที่ว่า ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะนวัตกรรมการวิจัยทางพระพุทธศาสนา เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
   ดังนั้นเพื่อเป็นพื้นฐานทางวิชาการให้แก่นิสิต นักศึกษา เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา และเป็นเวทีให้กับนิสิตได้นำเสนอผลงานวิจัยสู่สาธารณชน รวมถึงเป็นการสร้างองค์กรเครือข่ายการวิจัยในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งทำให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ๒๕๕๘ ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการถือเป็นกลไกที่สำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่มีคุณภาพ

วัตถุประสงค์โครงการ

๑ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย งานวิชาการ และวิทยานิพนธ์ของคณาจารย์และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน สู่สาธารณชน
๒ เพื่อสร้างองค์กรเครือข่ายการวิจัยแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างคณาจารย์ นิสิต จากมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศและต่างประเทศ
๓ เพื่อพัฒนาคุณภาพงานวิจัย งานวิชาการ และวิทยานิพนธ์ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
๔ เพื่อส่งเสริมการนำองค์ความรู้จากงานวิจัย งานวิชาการ และวิทยานิพนธ์ไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศ

ลักษณะกิจกรรม

๑ การบรรยายพิเศษขององค์ปาฐกถา
๒ การนำเสนอบทความ
๓ จัดพิมพ์หนังสือรวบรวมบทความวิจัย/DVD
๔ การจัดทำรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceeding)

วัน เวลา สถานที่ดำเนินการโครงการ

วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ หอประชุมเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

องค์กรร่วมประชุมวิชาการ

เครือข่ายภายในประเทศ

๑ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
๒ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๓ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
๔ มหาวิทยาลัยนครพนม
๕ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
๖ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
๗ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
๘ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
๙ มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์
๑๐ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
๑๑ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
๑๒ วิทยาลัยสันตพล
๑๓ วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู
๑๔ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร
๑๕ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ
๑๖ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครพนม
๑๗ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย
๑๘ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย
๑๙ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
๒๐ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
๒๑ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
๒๒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
๒๓ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
๒๔ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์
๒๕ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
๒๖ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอนแก่น

เครือข่ายต่างประเทศ

๑ Jesult School of Theology of Santa Clara University USA.
๒ University of Madras India
๓ Nava Nalanda Mahavihara (Deemed University) India
๔ Lancaster University England
๕ Minzu University of chaina
๖ Bharti Vidyapeeth (Deemed University) India
๗ Pannasastra University Combodia