เมื่อจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ระดับหลักสูตร (SAR) เรียบร้อยแล้ว หลักสูตร/ผู้รับผิดชอบร่วมกับกลุ่มงานวิจัยและคุณภาพการศึกษา ต้องส่งข้อมูลรายงานเข้าสู่ระบบรายงานผลการประเมินออนไลน์ MCU e-SAR ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อให้คณะกรรมการได้ตรวจประเมินผ่านระบบ เป็นตามประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
จึงได้จัดทำผังการไหลของการรายงานการประเมินตนเองระดับหลักสูตร ในระบบรายงานผลการประเมินออนไลน์ MCU e-SAR ดังผังการไหลขั้นตอนการกรอกข้อมูลระบบรายงานผลการประเมินออนไลน์ MCU e-SAR ในแผนภาพที่ ๔.๒
จากแผนภาพได้อธิบายรายละเอียดของขั้นตอนการกรอกระบบรายงานผลการประเมินออนไลน์
MCU
e-SAR
เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น
แบ่งออกเป็น ๕ ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ จัดเตรียมข้อมูล
๑. จัดเตรียมไฟล์ข้อมูลรายละเอียด
รายงานการประเมินตนเอง ระดับหลักสูตร
๒. รวบรวมรายงานการประเมินตนเอง
ระดับหลักสูตร จัดเป็นหมวดตามองค์ประกอบทั้ง ๖
๓. สแกนเอกสารรายงานการประเมินตนเอง
ระดับหลักสูตร กำหนดชื่อเอกสารให้ตรงกับการกำหนดรหัสในเล่ม
๔. จัดเอกสารเป็นโฟลเดอร์ตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้
ขั้นตอนที่ ๒ ตรวจสอบความถูกต้อง
ระหว่างรายงานการประเมินตนเอง ระดับหลักสูตร ฉบับเอกสาร กับไฟล์ข้อมูลรายงานการประเมินตนเอง
ระดับหลักสูตร
ขั้นตอนที่ ๓ หากพบข้อผิดพลาด
ให้แก้ไขและปรับปรุง
ขั้นตอนที่ ๔ Admin หลักสูตร
ขอ username และ password จาก admin ส่วนงานต้นสังกัด เพื่อใช้ในการกรอกข้อมูลในระบบรายงานผลการประเมินออนไลน์
MCU
e-SAR
๑. เข้าไปที่เว็บไซต์ http://qa.mcu.ac.th/

๒. เข้าไปที่รายงานประเมินตนเองออนไลน์

๑. มีรูปแบบการประเมิน ๓ ประเภท คือ
๑) ประเมินการกำกับมาตรฐาน ใช้ประเมินองค์ประกอบที่ ๑ มี ๑ ตัวบ่งชี้ แต่มีเกณฑ์มาตรฐานแตกต่างกัน คือ หลักสูตรปริญญาตรีมี ๔ เกณฑ์มาตรฐาน หลักสูตรปริญญาโทและเอก มี ๑๒ เกณฑ์
๒) ตัวบ่งชี้เชิงปริมาณหรือสถิติ ตัวบ่งชี้เชิงปริมาณหรือสถิติ ได้แก่ ตัวบ่งชี้จำนวนร้อยละในการประเมิน จะต้องมีตัวเลขที่เป็นตัวตั้งกับตัวหาร ในการหาค่าของตัวเลขดังกล่าวมี ๒ รูปแบบ คือ
ก. ตัวเลขไม่มีการคำนวณเพิ่มเติม
ข. ตัวเลขที่มีการคำนวณเพิ่มเติม ใช้ประเมินองค์ประกอบที่ ๒, ๔
๓) ตัวบ่งชี้แบ่งคะแนนตามระดับการทำงาน ตัวบ่งชี้แบ่งคะแนนตามระดับการทำงาน ให้เลือกว่าหลักสูตรมีการดำเนินการถึงระดับไหน โดยคะแนนแบ่งตามระดับขั้นที่มีการดำเนินการ โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น ๕ ระดับ หากไม่มีการดำเนินการเลย ได้คะแนน 0 คะแนน ใช้ประเมินองค์ประกอบที่ ๓, ๕, ๖
การคิดคะแนนการประเมินหลักสูตร ดังนี้
องค์ประกอบที่ ๑ จะมีผลว่า “ผ่าน-ไม่ผ่าน” เท่านั้น
หากองค์ประกอบที่ ๑ ไม่ผ่าน ผลการประเมินหลักสูตรจะเป็น 0
หากองค์ประกอบที่ ๑ ผ่าน คะแนนประเมินหลักสูตร คือ ผลเฉลี่ยคะแนนขององค์ประกอบที่ ๒ – ๖
ในการประเมินตัวบ่งชี้ที่ ๔.๒ คุณภาพของอาจารย์ ให้ประเมินตัวบ่งชี้ย่อยก่อน
๑. อาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
๒. อาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
๓. ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร
๔. จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิง
จากนั้น จึงประเมินข้อ ๔.๒ ภายหลัง
ขั้นตอนที่ ๖ กรอกข้อมูลทั่วไปของหลักสูตร ได้แก่
๑. ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา (ใช้ข้อมูลจาก มคอ. ๒)
๒. คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน (ใช้ข้อมูลจาก มคอ. ๒)
๓. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร (ใช้ข้อมูลจาก มคอ. ๒)
๔. อาจารย์ประจำหลักสูตรอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (เฉพาะปริญญาโทและปริญญาเอก) จำนวนนิสิตปัจจุบัน จำนวนบัณฑิตสำเร็จการศึกษา
๕. สรุปรายวิชาที่เปิดสอนทุกชั้นปีและทุกภาคการศึกษา
๖. การวิเคราะห์รายวิชาที่มีผลการเรียนไม่ปกติ
๗. รายวิชาที่สอนเนื้อหาไม่ครบ
๘. คุณภาพการสอน
ขั้นตอนที่ ๗ กรอกผลดำเนินงานตามองค์ประกอบคุณภาพ ๑-๖ ได้แก่
องค์ประกอบที่ ๑ การกำกับมาตรฐาน : ประเมินการกำกับมาตรฐาน
องค์ประกอบที่ ๒ บัณฑิต : ตัวบ่งชี้เชิงปริมาณหรือสถิติ (ในกรณีที่หลักสูตรยังไม่มีนิสิตจบการศึกษาให้ตัดองค์ประกอบที่ ๒ ออก ตัวหารจะลด)
องค์ประกอบที่ ๓ นิสิต : ตัวบ่งชี้แบ่งคะแนนตามระดับการทำงาน
องค์ประกอบที่ ๔ อาจารย์ : ตัวบ่งชี้เชิงปริมาณหรือสถิติ
องค์ประกอบที่ ๕ หลักสูตร การเรียนการสอนการประเมินผู้เรียน : ตัวบ่งชี้แบ่งคะแนนตามระดับการทำงาน
องค์ประกอบที่ ๖ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ : ตัวบ่งชี้แบ่งคะแนนตามระดับการทำงาน
ขั้นตอนที่ ๘ ตรวจสอบ เมื่อกรอกข้อมูลรายงานการประเมินตนเอง ระดับหลักสูตร ครบทุกตัวบ่งชี้แล้ว นักวิชาการประจำกลุ่มงานวิจัยและคุณภาพการศึกษา อาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่กรอกลงไป และตรวจสอบการกรอกข้อมูลรายละเอียดทุกขั้นตอน ตรวจสอบผลการประเมินที่ได้รับจากระบบรายงานผลการประเมินออนไลน์ MCU e-SAR

โดยมี ๒ รูปแบบ คือ
๑ แบบตาราง ส.๑
๒ แบบตาราง ส.๒

โดยตารางจะแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน
ส่วนที่ ๑ ผลการประเมินตัวบ่งชี้ที่ ๑ มีผล คือ ผ่าน – ไม่ผ่าน
ส่วนที่ ๒ คะแนฤนเฉลี่ยผลการประเมินตั้งแต่องค์ประกอบที่ ๒ – ๖
หากส่วนที่ ๑ ผ่าน ส่วนที่ ๒ ถึงจะมีคะแนน แต่ถ้าหากส่วนที่ ๑ ไม่ผ่าน ส่วนที่ ๒ คะแนนจะเป็น 0
ส่วนที่ ๓ ส่งผลการประเมินหลักสูตร เพื่อให้ส่งผลคะแนนไปสู่การประเมินตัวบ่งชี้ระดับวิทยาเขต ข้อที่ว่าด้วยการจัดการหลักสูตรได้
ขั้นตอนที่ ๙ การส่งผลคะแนนการประเมิน กดส่งคะแนนในส่วนที่ ๓ เพื่อรับการประเมินจากคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร (SAR) ได้เป็นกระจกที่สะท้อนคุณภาพ ประสิทธิภาพการทำงานของหลักสูตร ว่ามีหลักสูตรมีคุณภาพ ได้ประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้หรือไม่ หัวใจสำคัญที่ทำให้รายงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ได้สะท้อนผลการดำเนินงาน จากการเขียนผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้องค์ประกอบทั้ง ๖ และหลักฐานประกอบรายงานผลที่สอดคล้องกับผลการดำเนินงานอีกด้วย