องค์ประกอบที่ ๔ ด้านอาจารย์ เริ่มดำเนินการตั้งแต่การบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ มีแนวปฏิบัติที่ดีและเทคนิคการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ดังนี้
๔.๑ การบริหารและพัฒนาอาจารย์
การบริหารและพัฒนาอาจารย์ เป็นระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร ระบบการบริหารอาจารย์ ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่ทำให้หลักสูตรมีอาจารย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งในด้านวุฒิการศึกษาและตำแหน่งทางวิชาการ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง และมีการส่งเสริมให้มีการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของอาจารย์เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของหลักสูตร มีแนวปฏิบัติที่ดี ดังนี้
แนวปฏิบัติที่ดี | เอกสารและหลักฐาน | กระบวนการ |
ข้อเสนอแนะในการรายงานผลการดำเนินงาน | ๑. ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร เช่น คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร | P |
– ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจน สามารถทำซ้ำได้ (ระบุได้ว่าใครทำอะไร ช่วงใด อย่างไร) วัดและประเมินประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลอย่างไร มีการปรับปรุงอย่างไร และควรอธิบายให้ครบทุกประเด็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร ระบบการบริหารอาจารย์ประจำหลักสูตร ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตร | ๒. ระบบการบริหารอาจารย์ส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผนติดตามและทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร | P |
– ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่ทำให้หลักสูตรมีอาจารย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งในด้านวุฒิการศึกษาและตำแหน่งทางวิชาการเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง และมีการส่งเสริมให้มีการเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถของอาจารย์เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของหลักสูตร | ๓. ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในการประเมินให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการอุดมศึกษา ทั้งนี้หลักสูตรก็จะมีแผนการบริหารอาจารย์ประจำหลักสูตร | P |
– ความหมายของอาจารย์ตามตัวบ่งชี้นี้ หมายถึง อาจารย์ประจำหลักสูตรเท่านั้น | ๔. รายงานการพิจารณาผลการประเมินอาจารย์ประจำหลักสูตร…. | C |
การบริหารและพัฒนาอาจารย์เริ่มต้นตั้งแต่ระบบการรับอาจารย์ใหม่ต้องกำหนดเกณฑ์คุณสมบัติอาจารย์ที่สอดคล้องกับสภาพบริบท ปรัชญา วิสัยทัศน์ของสถาบันและของหลักสูตร มีกลไกการคัดเลือกอาจารย์ที่เหมาะสม โปร่งใส นอกจากนี้ ต้องมีระบบการบริหารอาจารย์โดยการกำหนดนโยบาย แผนระยะยาว เพื่อให้ได้อาจารย์ที่มีคุณสมบัติทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ มีการวางแผน และการลงทุนงบประมาณและทรัพยากรและกิจกรรมการดำเนินงาน ตลอดจนการกำกับดูแล และการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ | ๕. รายงานผลการพิจารณาภาระงานตามเกณฑ์การสอนหลักสูตร….. สาขาวิชา…. ภาคเรียนที่ …/…… | C |
ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานอย่างน้อยให้ครอบคลุมระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร ระบบการบริหารอาจารย์ ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่ทำให้หลักสูตรมีอาจารย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งในด้านวุฒิการศึกษาและตำแหน่งทางวิชาการ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง และมีการส่งเสริมให้มีการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของอาจารย์เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของหลักสูตร มีแนวปฏิบัติที่ดี ดังนี้ | ๖. รายงานผลการพิจารณาภาระงานตามเกณฑ์การสอนหลักสูตร.. สาขาวิชา… ภาคเรียนที่ …/…… | C |
๑. มีระบบมีกลไก | ๗. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตร | P |
๒. มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน | ๘. รายงานผลการประเมินการพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตร… สาขาวิชา….ภาคเรียนที่ ……/….. | C |
๓. มีการประเมินกระบวนการ | ๙. รายงานผลการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน | A |
๔. มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน | ๑๐. รายงานผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเป็นรูปธรรม | A |
๕. มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเป็นรูปธรรม | ๑๑. รายงานผลการดำเนินงานที่โดดเด่นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน จนสามารถให้เหตุผลอธิบายว่าเป็นผลการดำเนินงานที่โดดเด่นอย่างแท้จริง | A |
๖. มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน และกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน | ||
โดยที่หลักสูตรต้องประชุมเพื่อวางแผนการบริหารและพัฒนาอาจารย์ โดยดำเนินการจัดทำปฏิทินการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร สำรวจความต้องการของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อจัดทำแผนพัฒนาอาจารย์รายบุคคล |
๔.๒ คุณภาพอาจารย์
คุณภาพอาจารย์
เป็นการประเมินตามรอบปีการศึกษา
การนับอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริงรวมที่ลาศึกษาต่อในรอบปีการศึกษา และการนับจำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
จะนับเมื่ออาจารย์ได้รับใบรับรองการสำเร็จการศึกษา มีประเด็นในการพิจารณา
ตัวบ่งชี้นี้จะประกอบด้วย
– ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
–
ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
–
ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร
–
จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิงในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร
มีแนวปฏิบัติที่ดี ดังนี้
แนวปฏิบัติที่ดี | เอกสารและหลักฐาน | กระบวนการ |
ข้อเสนอแนะในการรายงานผลการดำเนินงาน | ๑. อาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก | C |
– ประเมินตามรอบปีการศึกษา (มิถุนายน – พฤษภาคม) | ๒. อาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ | C |
– นับอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริงรวมที่ลาศึกษาต่อในรอบปีการศึกษา | ๓. ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร | C |
– การนับจำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก จะนับเมื่ออาจารย์ได้รับใบรับรองการสำเร็จการศึกษา | ๔. บทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิงในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร (นับตามปีปฏิทิน) | C |
การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ต้องทำให้อาจารย์ในหลักสูตรมีคุณสมบัติที่เหมาะสมและเพียงพอ โดยทำให้อาจารย์มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางสาขาวิชาที่เปิดให้บริการ และมีประสบการณ์ที่เหมาะสมกับการผลิตบัณฑิต อันสะท้อนจากวุฒิการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการและความก้าวหน้าในการผลิตผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่องประเด็นในการพิจารณา ตัวบ่งชี้นี้ประกอบด้วย | ||
๑. ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก | ||
๒. ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ | ||
๓. ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร | ||
๔. จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิงในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร | ||
โดยที่หลักสูตรต้องจัดทำแผนพัฒนา ส่งเสริมอาจารย์เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการและเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ส่งเสริมอาจารย์ให้มีการพัฒนาตนเอง ทั้งในแง่การอบรมพัฒนาทักษะการสอน การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการทำวิจัย |
๔.๓ ผลที่เกิดกับอาจารย์
ผลที่เกิดกับอาจารย์ อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้อง คือ การคงอยู่ของอาจารย์ ความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรต่อกระบวนการที่ได้ดำเนินการให้กับอาจารย์ตามกิจกรรมต่างๆ ในตัวบ่งชี้ที่ ๔.๑ ส่วนประเด็นการประเมินมีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น มีแนวปฏิบัติที่ดี ดังนี้แนวปฏิบัติที่ดี | เอกสารและหลักฐาน | กระบวนการ |
ข้อเสนอแนะในการรายงานผลการดำเนินงาน | ๑. คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร….. สาขาวิชา….. | P |
– ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้อง คือ การคงอยู่ของอาจารย์ ความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรต่อกระบวนการที่ได้ดำเนินการให้กับอาจารย์ตามกิจกรรมต่างๆ ในตัวบ่งชี้ที่ 4.1 | ๒. คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร… สาขาวิชา… (๓ ปี ย้อนหลัง) | C |
– อัตราการคงอยู่ของอาจารย์ให้พิจารณาจากรายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรว่ามีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี ตั้งแต่หลักสูตรใหม่/ปรับปรุง ที่ได้รับการอนุมัติ/เห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยให้เปิดดำเนินการ | ๓. รายงานผลการคงอยู่ของอาจารย์ประจำหลักสูตร | C |
– ในประเด็นการประเมิน “มีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น” ควรนำเสนอผลการดำเนินงานเทียบเคียงอย่างน้อย 3 ปี | ๔. รายงานผลความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรต่อกระบวนการที่ได้ดำเนินการให้กับอาจารย์ตามกิจกรรมต่างๆ ในตัวบ่งชี้ที่ 4.1 (๓ ปีต่อเนื่อง) | C |
ผลการประกันคุณภาพการศึกษาต้องนำไปสู่การมีอัตรากำลังอาจารย์ที่มีจำนวนเหมาะสมกับจำนวนนิสิตที่รับเข้าในหลักสูตร อัตราคงอยู่ของอาจารย์สูง และอาจารย์มีความพึงพอใจต่อการบริหารหลักสูตร ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานมีแนวปฏิบัติ ที่ดี ดังนี้ | ๕. รายงานผลความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรต่อการบริหารจัดการหลักสูตร….สาขาวิชา…. ปีการศึกษา …. (๓ ปี ต่อเนื่อง) | C |
๑. มีการรายงานผลการดำเนินงานครบทุกเรื่องตามคำอธิบายในตัวบ่งชี้ | ๖. รายงานผลการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน | A |
๒. มีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในทุกเรื่อง | ๗. รายงานผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเป็นรูปธรรมที่ดีขึ้นในทุกเรื่อง | A |
๓. มีผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ/โดดเด่น โดยเทียบเคียงกับหลักสูตรนั้นในสถาบันกลุ่มเดียวกันที่เหมาะสม หรือได้รับรางวัลระดับชาติหรือนานาชาติ | ๘. รายงานผลการดำเนินงานที่โดดเด่นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยันจนสามารถให้เหตุผลอธิบายว่าเป็นผลการดำเนินงานที่โดดเด่นอย่างแท้จริงหรือได้รับรางวัลระดับชาติหรือนานาชาติ | A |
โดยที่หลักสูตรต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดกับอาจารย์จากรายงานผลการเปรียบเทียบความพึงใจของอาจารย์ต่อการบริหารหลักสูตรเพื่อหาแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาอาจารย์และการส่งเสริมสวัสดิการ โดยเสนอมหาวิทยาลัยเพื่อของบประมาณสนับสนุนดำเนินการให้เป็นไปตามแผน |