องค์ประกอบที่ ๓ นิสิต เป็นการอธิบายกระบวนการตั้งแต่ระบบการรับนิสิต การส่งเสริมและพัฒนานิสิต และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนิสิตภายใต้กระบวนการดำเนินการ มีแนวปฏิบัติที่ดีและเทคนิคการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ดังนี้
๓.๑ การรับนิสิต
การรับนิสิตเป็นการอธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการรับนิสิตและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา ว่าต้องการนิสิตที่มีคุณสมบัติอย่างไร และจัดเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตที่จะศึกษาในหลักสูตร โดยพิจารณาจาก มคอ. ๒ ที่ได้ระบุถึงปัญหาของนิสิตแรกเข้าและการแก้ปัญหา ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่ทำให้ได้นิสิตที่มีความพร้อมที่จะเรียนในหลักสูตร มีแนวปฏิบัติที่ดี ดังนี้
ข้อเสนอแนะในการรายงานผลการดำเนินงาน | ๑. คู่มือการรับสมัครนิสิต | P |
– ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการรับนิสิตและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา | ๒. แผนการรับสมัครพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไปเพื่อสอบคัดเลือกเข้าศึกษาหลักสูตร.. สาขาวิชา | P |
– ในการพิจารณาเกี่ยวกับการรับเข้าและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา ขอให้ดูเจตนารมณ์ของหลักสูตร ว่าต้องการนิสิตที่มีคุณสมบัติอย่างไร และจัดเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตที่จะศึกษาในหลักสูตร โดยพิจารณาจาก มคอ. ๒ ที่ได้ระบุถึงปัญหาของนิสิตแรกเข้าและการแก้ปัญหา | ๓. ขออนุมัติโครงการ/กิจกรรมประชาสัมพันธ์และแนะแนวการศึกษาระดับหลักสูตร….สาขาวิชา….. | D |
– ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่ทำให้ได้นิสิตที่มีความพร้อมที่จะเรียนในหลักสูตร ไม่ควรพิจารณาแต่ละประเด็นย่อย และกรณีจะให้คะแนนระดับ ๔ หรือ 5 ต้องมีคำอธิบายที่เห็นเป็นรูปธรรม มีแนวปฏิบัติที่ดี ดังนี้ | ๔. แต่งตั้งกรรมการสอบและพิจารณาข้อสอบคัดเลือกนิสิตหลักสูตร…. สาขาวิชา…. ปีการศึกษา …. | P |
๑. มีระบบมีกลไก | ||
๒. มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน | ๕. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบคัดเลือกนิสิตใหม่หลักสูตร…. สาขาวิชา…..ปีการศึกษา ….. (สอบข้อเขียน/สัมภาษณ์) | P |
๓. มีการประเมินกระบวนการ | ๖. แต่งตั้งคณะกรรมการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมนิสิตใหม่หลักสูตร… สาขาวิชา.. | P |
๔. มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน | ๗. รายงานผลการประชาสัมพันธ์และแนะแนวการศึกษาหลักสูตร…. สาขาวิชา….. | C |
๕. มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเป็นรูปธรรม | ๘. รายงานผลการรับนิสิตหลักสูตร…. สาขาวิชา… | C |
๖. มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน และกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน | ๙. ประเมินผลกระบวนการประชาสัมพันธ์และแนะแนวการศึกษาของหลักสูตรหลักสูตร….. สาขาวิชา….. | A |
โดยที่หลักสูตรต้องจัดโครงการประชาสัมพันธ์แนะแนวหลักสูตร และจัดให้มีกิจกรรมการเตรียมผู้สมัครเข้าเรียน และปฐมนิเทศเพื่อให้ผู้สมัครเรียนคุ้นเคย มีความสัมพันธ์ที่ดีกับอาจารย์ประจำหลักสูตร และมีการจัดอบรมแนะแนวการทำข้อสอบเข้าศึกษา และให้มีการประเมินกระบวนการรับนิสิตและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม มีตัวชี้วัดความสำเร็จและค่าเป้าหมายจากการรายงานผลดำเนินโครงการประชาสัมพันธ์หลักสูตร | ๑๐. รายงานผลการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมนิสิตใหม่หลักสูตร… สาขาวิชา.. | C |
๑๑. รายงานผลการประเมินกระบวนการปฐมนิเทศนิสิตใหม่ | A | |
๑๒. รายงานผลการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน | A | |
๑๓. รายงานผลการประเมินจากการปรับปรุงเห็นชัดเป็นรูปธรรม | A | |
๑๔. รายงานแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยันและสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน | A |
๓.๒ การส่งเสริมและพัฒนานิสิต
การส่งเสริมและพัฒนานิสิต เป็นการอธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม การดูแล การให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นิสิตปริญญาตรี การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์แก่บัณฑิตศึกษา และการพัฒนาศักยภาพนิสิตและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่ทำให้ได้นิสิตเรียนอย่างมีความสุข และมีทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพในอนาคต มีแนวปฏิบัติที่ดี ดังนี้
ข้อเสนอแนะในการรายงานผลการดำเนินงาน | ๑. ระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนานิสิต | C |
ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการดูแล การให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นิสิตปริญญาตรี การควบคุมดูแล การให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์แก่บัณฑิตศึกษา และการพัฒนาศักยภาพนิสิตและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู’ในศตวรรษที่ ๒๑ | ๒. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นิสิต/การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์แก่บัณฑิตศึกษา หลักสูตร….. สาขาวิชา….. | P |
การประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่ทำให้ได้นิสิตเรียนอย่างมีความสุขและมีทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพในอนาคต ไม่ควรพิจารณาแต่ละประเด็นย่อย และกรณีจะให้คะแนนระดับ ๔ หรือ ๕ ต้องมีคำอธิบายที่เห็นเป็นรูปธรรม | ๓. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการพัฒนาศักยภาพนิสิตและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ | P |
การรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานอย่างน้อยให้ครอบคลุมการควบคุม (๑) การดูแลให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นิสิตปริญญาตรีการควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์แก่บัณฑิตศึกษา (๒) การพัฒนาศักยภาพนิสิตและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ มีแนวปฏิบัติที่ดี ดังนี้ | ๔. คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษานิสิตและคู่มือการใช้งานระบบอาจารย์ที่ปรึกษา (ส่วนของอาจารย์) | P |
๑. มีระบบมีกลไก | ๕. รายงานผลสถานภาพนิสิตและการติดตามผลการเรียนนิสิตหลักสูตร….. สาขาวิชา….ปีการศึกษา … ที่มีเกรดเฉลี่ยไม่ถึง ๒.๐๐ | C |
๒. มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน | ๖. รายงานผลการพัฒนาศักยภาพนิสิตและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ | C |
๓. มีการประเมินกระบวนการ | ๗. รายงานผลการดำเนินงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับกับตัวบ่งชี้นี้ | C |
๔. มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน | ๘. รายงานผลการประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ/กิจกรรมหลักสูตร | C |
๕. มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเป็นรูปธรรม | ๙. รายงานผลการประเมินกิจกรรมมาปรับปรุงโดยการให้นิสิตบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่อสังคม | A |
๖. มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน และกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน | ๑๐. รายงานผลการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน | A |
โดยที่หลักสูตรต้องมีวิธีการดำเนินงานจากการจัดทำแผนการส่งเสริมและพัฒนานิสิต เช่น แผนพัฒนาศักยภาพและทักษะการเรียนรู้ของนิสิตศตวรรษที่ ๒๑ แผนสัมมนาเชิงปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้นิสิตได้ขับเคลื่อนและนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปบูรณาการกับกิจกรรมต่างๆ ของวัดหรือชุมชนนั้นๆ | ๑๑. รายงานผลการประเมินผลจากการปรับปรุงการส่งเสริมและพัฒนานิสิตให้เห็นชัดเป็นรูปธรรม | A |
๑๒. รายงานแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยันและสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน | A |
๓.๓ ผลที่เกิดขึ้นกับนิสิต
ผลที่เกิดขึ้นกับนิสิต เป็นการอธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้อง คือ การคงอยู่ของนิสิตในหลักสูตร การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ความพึงพอใจของนิสิตต่อกระบวนการที่ดำเนินการให้แก่นิสิตตามกิจกรรมในตัวบ่งชี้ที่ ๓.๑ และ ๓.๒ และผลการจัดการข้อร้องเรียนของนิสิต มีแนวปฏิบัติที่ดี ดังนี้
แนวปฏิบัติที่ดี | เอกสารและหลักฐาน | กระบวนการ |
มีข้อเสนอแนะในการรายงานผลการดำเนินงาน | ๑. รายงานผลการคงอยู่ของนิสิตในหลักสูตร | C |
– ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องคือ การคงอยู่ของนิสิตในหลักสูตร การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ความพึงพอใจของนิสิตต่อกระบวนการที่ดำเนินการให้กับนิสิตตามกิจกรรมในตัวบ่งชี้ที่ ๓.๑ และ ๓.๒ และผลการจัดการข้อร้องเรียนของนิสิต | ๒. รายงานผลการสำเร็จการศึกษาของนิสิตหลักสูตร… | C |
– การจัดการข้อร้องเรียน หมายถึง การอธิบายการจัดการข้อร้องเรียนที่มีนัยสำคัญ ไม่ได้เน้นที่ปริมาณหรือจำนวนข้อร้องเรียน | ๓. รายงานผลความพึงพอใจของนิสิตต่อกระบวนที่ดำเนินการให้กับนิสิตตามกิจกรรมในตัวบ่งชี้ที่ ๓.๑ และ ๓.๒ | C |
– อัตราการคงอยู่ของนิสิต คิดจากจำนวนนิสิตที่เข้าในแต่ละรุ่น ลบด้วยจำนวนนิสิตที่ออกทุกกรณีนับถึงสิ้นปีการศึกษาที่ประเมิน ยกเว้นการเสียชีวิต การย้ายสถานที่ทำงานของนิสิตในระดับบัณฑิตศึกษาคิดเป็นร้อยละของจำนวนที่รับเข้าแต่ละรุ่นที่บัณฑิตสำเร็จการศึกษาแล้ว | ๔. รายงานผลความพึงพอใจของนิสิตปีสุดท้ายต่อคุณภาพหลักสูตร | C |
– การคิดร้อยละของจำนวนนิสิตที่ยังคงอยู่ของแต่ละรุ่น | ๕. รายงานผลการประเมินความพึงพอใจของนิสิตต่อเรียนรู้และการบริการ | C |
ในประเด็นการประเมิน “มีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น” ควรนำเสนอผลการดำเนินงานเทียบเคียงอย่างน้อย ๓ ปี | ๖. รายงานผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนิสิต | A |
จากผลการประกันคุณภาพการศึกษา ควรทำให้นิสิตมีความพร้อมทางการเรียน มีอัตราการคงอยู่ของนิสิตในหลักสูตรสูง อัตราการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรสูง นิสิตมีความพึงพอใจต่อหลักสูตร และผลการจัดการข้อร้องเรียนของนิสิตในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการคงอยู่ การสำเร็จการศึกษา โดยมีการ | ๗. รายงานผลการดำเนินงานครบทุกเรื่องตามคำอธิบายในตัวบ่งชี้ | A |
๑. วิเคราะห์ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนิสิต | ๘. รายงานผลการวิเคราะห์แนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในทุกเรื่อง | A |
๒. มีการรายงานผลการดำเนินงานครบทุกเรื่องตามคำอธิบายในตัวบ่งชี้ | ๙. รายงานผลการดำเนินงานที่โดดเด่นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยันจนสามารถให้เหตุผลอธิบายว่าเป็นผลการดำเนินงานที่โดดเด่นอย่างแท้จริง | A |
๓. วิเคราะห์แนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในทุกเรื่อง | ||
๔. มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น เทียบเคียงกับหลักสูตรนั้นในสถาบันกลุ่มเดียวกันโดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน และกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายว่าเป็นผลการดำเนินงานที่โดดเด่นอย่างแท้จริง | ||
โดยที่หลักสูตรต้องจัดทำรายงานผลเกี่ยวกับการคงอยู่ การสำเร็จการศึกษา ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนิสิต เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่ทำให้จำนวนนิสิต และผู้สำเร็จการศึกษามีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการข้อร้องเรียนของนิสิต ให้ประธานหลักสูตรเรียกประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรข้อมูลตามข้อร้องเรียน รวบรวมเอกสารหลักฐาน ตรวจงานเอกสารของนิสิตโดยละเอียด พิจารณาผลการเรียนของนิสิตอีกครั้ง ผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นว่าผู้ร้องเรียนมีความพึงพอใจต่อระบบวิธีการจัดการต่อข้อร้องเรียน และยอมรับผลการพิจารณาผลของผู้ร้องเรียนนั้น |
สำนักงานประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้กำหนดให้ใช้แบบประเมินและแบบรายงาน ดังนี้
๑. แบบประเมินความพึงพอใจของนิสิตระดับปริญญาตรี (ปค.๐๔ นิสิตปริญญาตรี) (ใช้เป็นหลักฐานในองค์ประกอบที่ ๖.๑ ด้วย)
๒. แบบประเมินความพึงพอใจของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาต่อการบริหารจัดการหลักสูตร….. (ปค.๐๕ นิสิตโท/เอก) (ใช้เป็นหลักฐานในองค์ประกอบที่ ๖.๑ ด้วย) หลักสูตรต้องแสดงผลการประเมินความพึงพอใจทุกรายการ ๓ ปีย้อนหลัง
ที่มา : ฤดี แสงเดือนฉาย, แนวทางการพัฒนางาน เรื่อง การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ระดับหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น, (กลุ่มงานวิจัยและคุณภาพการศึกษา สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ๒๕๖๒), หน้า ๙๑-๙๕.