การประกันคุณภาพการศึกษา
——————————————————–
ความจำเป็นและวัตถุประสงค์
——————————————————–
กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร
——————————————————–
ภารกิจอาจารย์ประจำหลักสูตร
——————————————————–
ขั้นตอนการจัดทำรายงานการประเมินตนอง ระดับหลักสูตร
ก่อนเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติงานการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ระดับหลักสูตร (SAR)จะต้องมีการทบทวนรายละเอียดตัวบ่งชี้ มาตรฐาน และประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศ และการปรับเกณฑ์การประเมินในรอบปีที่ผ่านมา กำหนดแบบฟอร์ม และวิธีการเขียน รายงานการประเมินตนเอง (SAR)ทุกระดับ จัดให้มีการอบรม/สัมมนา/แลกเปลี่ยนเรียนรู้อาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้ปฏิบัติงาน มีความรู้ความเข้าใจตรงกันของผู้ปฏิบัติงานทุกส่วนงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้ผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงานของแต่ละหลักสูตร ทราบจุดแข็ง และจุดที่ควรพัฒนา สำหรับเป็นข้อมูลในการ วางแผนการดำเนินงาน ให้ส่วนงานต้นสังกัดมีข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการอุดมศึกษาในแนวทางที่เหมาะสมตามองค์ประกอบคุณภาพทั้ง ๖ ดังนี้
องค์ประกอบที่ ๑ การกำกับมาตรฐาน
องค์ประกอบที่ ๒ บัณฑิต
องค์ประกอบที่ ๓ นิสิต
องค์ประกอบที่ ๔ อาจารย์
องค์ประกอบที่ ๕ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
องค์ประกอบที่ ๖ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดทำระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรโดยมีการดำเนินงานได้ตามมาตรฐานเทียบเคียงกับมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทั้งนี้ ทุกระบบต้องได้รับการเห็นชอบจากสภาสถาบันและเสนอคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา พิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้มีการจัดส่งผลการประเมินพร้อมข้อมูลพื้นฐานให้กับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ ตัวอย่างการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ที่เทียบเคียงได้ เช่น ผลการประเมินหลักสูตรของ AUN QA ผลการประเมินหลักสูตรวิชาชีพที่ได้รับการรับรองจากองค์การวิชาชีพระดับนานาชาติ เช่น AACSB (สำหรับหลักสูตรทางด้านบริหารธุรกิจ) ABET (สำหรับหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์) และหลักสูตรที่ได้รับการตรวจประเมินเป็นประจำและผ่านการรับรองโดยสภาวิชาชีพ (คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา คณะอนุกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา, ๒๕๕๘ : ๔๔ – ๔๘) ดังกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ตามระบบ I–P-O ในตารางที่ ๓.๕
ตารางที่ ๓.๕ กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ตามระบบ I–P-O
องค์ประกอบในการประกันคุณภาพหลักสูตร | ตัวบ่งชี้ | ประเด็นพิจารณา | I–P-O |
๑.การกำกับมาตรฐาน | ๑.๑ การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดย สกอ. | ผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ปริญญาตรี เกณฑ์ ๓ ข้อ บัณฑิตศึกษา เกณฑ์ ๑๑ ข้อ | มาตรฐาน |
๒. บัณฑิต | ๒.๑ คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ | ผลประเมินคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ | O |
๒.๒ การได้งานทำหรือผลงานวิจัยของผู้สำเร็จการศึกษา – ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน ๑ ปี – ผลงานของนิสิตและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ผลงานของนิสิตและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ | – ผลบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ – ผลงานของนิสิตปริญญาโท/ปริญญาเอก ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ | O | |
๓. นิสิต | ๓.๑ การรับนิสิต | – การรับนิสิต – การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา | I |
๓.๒ การส่งเสริมและพัฒนานิสิต | – การควบคุมการดูแลให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นิสิตในระดับปริญญาตรี – การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา – การพัฒนาศักยภาพนิสิตและการเสริมสร้างทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ | I | |
๓.๓ ผลที่เกิดกับนิสิต | – อัตราการคงอยู่ของนิสิต – อัตราการสำเร็จการศึกษา – ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของ นิสิต | I | |
๔.อาจารย์ | ๔.๑ การบริหารและพัฒนาอาจารย์ | – การรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร – การบริหารอาจารย์ – การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ | I |
๔.๒ คุณภาพอาจารย์ | – ร้อยละอาจารย์ที่จบปริญญาเอก – ร้อยละอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ – จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญา ชเอกที่ได้รับการอ้างอิงในฐานข้อมูล TCI และ SCOPUS ต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร | I | |
๔.๓ ผลที่เกิดกับอาจารย์ | – อัตราการคงอยู่ของอาจารย์ – ความพึงพอใจของอาจารย์ | I | |
๕. หลักสูตรการเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน | ๕.๑ สาระของรายวิชาในหลักสูตร | – หลักคิดในการออกแบบหลักสูตรข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร – การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขาวิชานั้นๆ – การพิจาณาอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา | I |
๕.๒ การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน | ผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน – การพิจารณากำหนดผู้สอน – การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำ มคอ. ๓ และ มคอ. ๔ – การแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา – การกำกับกระบวนการเรียนการสอน – การจัดการเรียนการสอนที่มีการฝึกปฏิบัติในระดับปริญญาตรี – การบูรณาการพันธกิจต่างๆ กับการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี – การช่วยเหลือ กำกับ ติดตามในการทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ และการตีพิมพ์ผลงานในระดับ บัณฑิตศึกษา | P | |
๕.๓ การประเมินผู้เรียน | – การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ – การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิต – การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.๕ มคอ.๖ และ มคอ.๗) – การประเมินวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ในระดับ บัณฑิตศึกษา | P | |
๕.๔ ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ | – ผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ | P | |
๖. สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | ๖.๑ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | – ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบันโดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน – กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนิสิตและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | P |
การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ระดับหลักสูตร ผู้รับผิดชอบต้องมีความเข้าใจในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีขั้นตอนการดำเนินงานตามหลัก PDCA เพื่อให้เข้าใจแผนผังการปฏิบัติงาน (Work Flow) ได้ดียิ่งขึ้น ดังปฏิทินการบริหารงานและกระบวนการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร กระบวนการ PDCA ตามกรอบเวลา ๑๒ เดือน ดังนี้
เดือน | ตัวบ่งชี้ | งานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร | กระบวนการ |
มิถุนายน | ๓.๑ | รายงานผลโครงการประชาสัมพันธ์และแนะแนวการศึกษาหลักสูตร…บัณฑิต สาขาวิชา…. | C |
๓.๑ | รายงานผลการประเมินกระบวนการปฐมนิเทศนิสิตใหม่ หลักสูตร…บัณฑิต สาขาวิชา.. | C | |
๓.๑ | รายงานผลการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจากผลการประเมินโครงการปฐมนิสิตใหม่ | A | |
๓.๑ | รายงานผลการประเมินจากการปรับปรุงเห็นชัดเป็นรูปธรรมจากผลการประเมินโครงการปฐมนิสิตใหม่ | A | |
๓.๒ | นำเสนอแต่งตั้งกรรมการพัฒนาศักยภาพนิสิตและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ หลักสูตร…บัณฑิต สาขาวิชา…… | P | |
๕.๑ | จัดทำแผนพัฒนาระดับหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ (เป็นแผน ๕ ปีการศึกษา) | D | |
๕.๒ | เสนอคำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…. | P | |
๕.๒ | เสนอคำสั่งแต่งตั้งกรรมการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำ มคอ.๓ รายวิชาพื้นฐานทั่วไป/ แกนพระพุทธศาสนา/วิชาเอก/วิชาเลือกเสรี หลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… | P | |
๕.๒ | เสนอคำสั่งแต่งตั้งกรรมการกำกับกระบวนการเรียนการสอนหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… | P | |
๕.๒ | นำเสนอคำสั่งแต่งตั้งกรรมการบูรณาการพันธกิจต่าง ๆ กับการเรียนการสอนหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… | P | |
๕.๒ | กำหนดขั้นตอนและกระบวนการบริการทางวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนและส่งผลต่อการเรียนรู้ของนิสิตหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… | P | |
๕.๒ | พิจารณารับรอง มคอ.๓ หลักสูตร..บัณฑิต สาขาวิชา… ภาคเรียนที่ ๑/… | C | |
๖.๑ | เสนอคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | P | |
สิงหาคม | ๓.๑ | พิจารณาแผนการรับสมัครพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไปเพื่อสอบคัดเลือกเข้าศึกษาหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… | D |
๓.๑ | เสนออนุมัติโครงการ/กิจกรรมประชาสัมพันธ์และแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรต่างๆ | D | |
๕.๒ | จัดทำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอนและส่งผลต่อการเรียนรู้ของนิสิตหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… | D | |
๕.๒ | กำหนดขั้นตอนการนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอนและส่งผลต่อการเรียนรู้ของนิสิตหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… | P | |
๕.๓ | เสนอคำสั่งแต่งตั้งกรรมการประเมินผลการเรียนในรายวิชาหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…..ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติที่มีหลายกลุ่มเรียนให้ได้มาตรฐานเดียวกัน | P | |
กันยายน | ๕.๓ | เสนอคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการวิเคราะห์/ตรวจสอบคุณภาพ/ปรับปรุงพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณภาพนิสิตหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… (มีการวิพากษ์ข้อสอบ ปรับปรุงข้อสอบ สร้างข้อสอบใหม่ ๆ เสมอ มีคลังข้อสอบ ข้อสอบ หรือเครื่องมือประเมินสามารถวัดความรู้และการคิดขั้นสูงได้ เครื่องมือประเมินสะท้อนความสามารถในการปฏิบัติงานได้จริงในโลกแห่งการทำงาน) | P |
๕.๓ | เสนอคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการเรียนในรายวิชาหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา.. ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติที่มีหลายกลุ่มเรียนให้ได้มาตรฐานเดียวกัน | P | |
๕.๓ | พิจารณารับรองข้อสอบหลักสูตร…บัณฑิต สาขาวิชา.. ภาคเรียนที่ ๑/…ง… | C | |
๕.๔ | เสนอคำสั่งแต่งตั้งกรรมการการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนิสิตหลักสูตร….บัณฑิต สาขาวิชา…. ตามกรอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ใน มคอ.๓ อย่างน้อยร้อยละ ๒๕ ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา | P | |
ตุลาคม | ๓.๒ | รายงานผลการประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ/กิจกรรมหลักสูตร…. สาขาวิชา ….. ภาคเรียนที่ ๑/………… | A |
๔.๒ | รายงานผลการประเมินการสอนของคณาจารย์หลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… ภาคเรียนที่ ๑/…. | C | |
๕.๓ | รายงานผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา……ตามรายละเอียดใน มคอ. ๕ ภาคเรียนที่ ๑/…. | C | |
๕.๓ | ตรวจสอบการประเมินผลการเรียนนิสิตหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา……ภาคเรียนที่ ๑/….. | C | |
พฤศจิกายน | ๓.๒ | รายงานผลการประเมินกิจกรรมที่นิสิตบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ต่อสังคมกิจกรรมมาปรับปรุงและพัฒนา | C |
๓.๒ | รายงานผลการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจากผลการประเมินการส่งเสรมและพัฒนานิสิตหลักสูตร…บัณฑิต สาขาวิชา…. | A | |
๕.๔ | เสนอคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอนหรือการประเมินผลการเรียนรู้หลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… (จากผลการประเมินการดำเนินงานใน มคอ.๗ ปีที่แล้ว) | P | |
๕.๔ | พิจาณารับรองมาตรฐานรายงานผลรายวิชา มคอ. ๕ หลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… ภาคเรียนที่ ๑/….. จำนวน ……. รายวิชา | C | |
ธันวาคม |
๒.๑ ๕.๔ | รายงานผลการประเมินความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อการปฏิบัติงานและอัตลักษณ์ของนิสิตหลักสูตร…บัณฑิต สาขาวิชา…ที่สำเร็จการศึกษา | C |
๖.๑ | เสนอคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อวัสดุการศึกษาและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้แก่นิสิต | P | |
๖.๑ | รายงานผลการเรียนรู้โดยดำเนินการตามวงจร PDCA ในกระบวนการดำเนินงานเกี่ยวกับสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | C | |
๖.๑ | รายงานผลการประเมินกระบวนการเกี่ยวกับสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้แก่นิสิต | A | |
มกราคม | ๒.๒ | รายงานผลแบบสำรวจการปฏิบัติหน้าที่สนองงานคณะสงฆ์ของบัณฑิตบรรพชิตที่ปฏิบัติหน้าที่สนองงานคณะสงฆ์ของบัณฑิตบรรพชิตและภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิตคฤหัสถ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น | C |
๕.๓ | เสนอรายชื่อผู้สำเร็จการศึกษา….บัณฑิต สาขาวิชา…..ต่อกรรมการบริหารหลักสูตร….บัณฑิต | C | |
๖.๑ | รายงานผลการจัดการความรู้ในกระบวนการดำเนินงานเกี่ยวกับสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | C | |
๖.๑ | รายงานผลจากแนวทางปฏิบัติที่ดีได้เทียบเคียงกับหลักสูตรเดียวกันในกลุ่มสถาบันเดียวกันที่เหมาะสม หรือได้รับรางวัลในระดับชาติหรือนานาชาติ | A | |
กุมภาพันธ์ | ๔.๑ | รายงานผลการพิจารณาภาระงานตามเกณฑ์การสอนหลักสูตร….. สาขาวิชา…. ภาคเรียนที่ …/…… | C |
๔.๑ | รายงานผลการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจากผลการประเมินการบริหารและพัฒนาอาจารย์ | A | |
๕.๓ | เสนอคำสั่งแต่งตั้งกรรมการการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนิสิตหลักสูตร….. สาขาวิชา…(ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ใน มคอ.๓ อย่างน้อยร้อยละ ๒๕ ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา) | P | |
๕.๓ | ติดตามผลการเรียนนิสิตหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… ปีการศึกษา ….. ที่มีเกรดเฉลี่ยไม่ถึง ๒.๐๐ | C | |
๕.๓ | รายงานผลการพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้หลักสูตร…..ที่โดดเด่นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน จนสามารถให้เหตุผลอธิบายว่าเป็นผลการดำเนินงานที่โดดเด่นอย่างแท้จริงหรือได้รับรางวัลระดับชาติหรือนานาชาติ | A | |
มีนาคม |
๓.๓ ๕.๔ | รายงานผลการประเมินความพึงพอใจของนิสิตปีสุดท้ายต่อคุณภาพหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา… มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น | C |
๓.๓ | รายงานผลการวิเคราะห์แนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในทุกเรื่องเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นกับนิสิต | A | |
๓.๓ | รายงานผลการดำเนินงานที่โดดเด่นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน จนสามารถให้เหตุผลอธิบายว่าเป็นผลการดำเนินงานที่โดดเด่นอย่างแท้จริง | A | |
๓.๓ | รายงานผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนิสิต | C | |
๓.๓ | รายงานผลการวิเคราะห์แนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในทุกเรื่องเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นกับนิสิต | A | |
๓.๓ | รายงานผลการดำเนินงานที่โดดเด่นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน จนสามารถให้เหตุผลอธิบายว่าเป็นผลการดำเนินงานที่โดดเด่นอย่างแท้จริง | A | |
๔.๑ | รายงานผลการประเมินการบริหารจัดการอาจารย์ประจำหลักสูตร (๓ ปี ต่อเนื่อง) | C | |
๔.๑ | รายงานผลการนำระบบกลไกการบริหารและพัฒนาอาจารย์ไปสู่การปฏิบัติ | C | |
๕.๑ | รายงานผลการกระบวนการออกแบบหลักสูตรและสาระรายวิชาในหลักสูตร | C | |
๕.๑ | รายงานผลการพัฒนาทักษะด้านการวิจัยและการเรียนรู้ด้วยตนเองในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ (หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา) | C | |
๕.๑ | รายงานผลการประเมินจุดแข็ง/จุดอ่อนเพื่อการปรับปรุงหลักสูตร | C | |
๕.๑ | รายงานผลการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจากผลการประเมินอย่างเห็นได้ชัดอย่างเป็นรูปธรรม | A | |
๕.๓ | พิจารณาข้อสอบวัดผลปลายภาคหลักสูตร….บัณฑิต สาขาวิชา….. ปีการศึกษา ๒/…. | C | |
๕.๔ | เสนอคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษา หลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… | P | |
๕.๔ | ประเมินความพึงพอใจของบัณฑิตต่อคุณภาพหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… | C | |
๕.๔ | รายงานผลการจัดทำรายงานการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้หลักสูตร…บัณฑิต สาขาวิชา… จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.๗ ปีการศึกษา ….. | A | |
เมษายน | ๓.๑ | เสนอคำสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบและพิจารณาข้อสอบคัดเลือกนิสิตหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… ปีการศึกษา …. | P |
๓.๑ | เสนอคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบคัดเลือกนิสิตใหม่หลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา……ปีการศึกษา ….. (สอบข้อเขียน/สัมภาษณ์) | P | |
๓.๑ | รายงานผลการให้คำปรึกษาแก่นิสิตหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… ภาคเรียนที่ ๒/……. | C | |
๓.๒ | รายงานผลการประเมินกิจกรรมมาปรับปรุงโดยการให้นิสิตบรรพชิตและคฤหัสถ์…..บัณฑิต สาขาวิชา…. ที่บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ต่อสังคม ปีการศึกษา ……. | A | |
๔.๑ | พิจารณาผลการประเมินการสอนของคณาจารย์หลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… ภาคเรียนที่ ๒/…… | C | |
๔.๓ | รายงานผลการดำเนินงานที่โดดเด่นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน จนสามารถให้เหตุผลอธิบายว่าผลที่เกิดกับอาจารย์เป็นผลการดำเนินงานที่โดดเด่นอย่างแท้จริงหรือได้รับรางวัลระดับชาติหรือนานาชาติ | A | |
๕.๒ | รายงานผลการนำกระบวนการบริการทางวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนและส่งผลต่อการเรียนรู้ของนิสิตหลักสูตร….. สาขาวิชา…… | C | |
๕.๒ | รายงานผลการนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอนและส่งผลต่อการเรียนรู้ของนิสิตหลักสูตร… สาขาวิชา.. | C | |
๕.๒ | รายงานผลการประเมินกระบวนการซึ่งเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อการเรียนรู้ของนิสิตจนทำให้การเรียนรู้บรรลุตามเป้าหมาย | A | |
๕.๒ | รายงานผลการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมินเห็นชัดเป็นรูปธรรม | A | |
๕.๒ | รายงานผลการดำเนินงานที่โดดเด่นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน จนสามารถให้เหตุผลอธิบายว่าเป็นผลการดำเนินงานที่โดดเด่นอย่างแท้จริงหรือได้รับรางวัลระดับชาติหรือนานาชาติ | A | |
๕.๓ | รายงานผลการประเมินผู้เรียนจากรายงาน มคอ. ๕ และ มคอ. ๗ หลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา… ปีการศึกษา …… | C | |
๕.๓ | รายงานผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตร…บัณฑิต สาขาวิชา…..ตามรายละเอียดใน มคอ. ๕ ภาคเรียนที่ ๑/….. | C | |
พฤษภาคม | ๓.๑ | การจัดโครงการปฐมนิเทศนิสิตใหม่ | D |
๓.๑ | รายงานผลการจัดพิธีปฐมนิเทศนิสิตใหม่ | C | |
๓.๒ | เสนอคำสั่งแต่งตั้งกรรมการควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นิสิตหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…..ปีการศึกษา… | P | |
๓.๒ | รายงานการประเมินผลจากการปรับปรุงการส่งเสริมและพัฒนานิสิตให้เห็นชัดเป็นรูปธรรม | A | |
๓.๒ | รายงานแนวทางปฏิบัติที่ดีโดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยันและสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน จากผลการประเมินการส่งเสรมและพัฒนานิสิต | A | |
๔.๑ | พิจารณาภาระงานตามเกณฑ์การสอนหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… ภาคเรียนที่ ๑/…… | P | |
๔.๑ | พิจารณาแนวทางการพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตรหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… ปีการศึกษา …. | P | |
๕.๑ | พิจารณาแผนปฏิบัติการบริหารหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… ปีการศึกษา …. | P | |
๕.๑ | พิจารณาแผนการจัดการศึกษาตามรายละเอียดหลักสูตร….บัณฑิต สาขาวิชา… ตามแบบ มคอ. ๒ ภาคเรียนที่ ๒/… | P | |
๕.๒ | รายงานผลการควบคุมกำกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนและการประเมินนิสิตหลักสูตร…บัณฑิต สาขาวิชา… ปีการศึกษา .. | C | |
๕.๒ | พิจารณาแนวทางการติดตาม มคอ.๓ หลักสูตร…บัณฑิต สาขาวิชา……ภาคเรียนที่ ๑/…. | P | |
๕.๒ | กำหนดรายวิชาที่เปิดสอนและกำหนดผู้สอนหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา…… ปีการศึกษา …. | P | |
๕.๒ | รายงานผลการสอดแทรกศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในกระบวนการเรียนการสอนและส่งผลต่อการเรียนรู้ของนิสิตหลักสูตร…..บัณฑิต สาขาวิชา……ปีการศึกษา ….. | C | |
๕.๓ | รายงานผลการประเมินหลักสูตร…บัณฑิต สาขาวิชา… ตามรายละเอียดใน มคอ. ๕ | C | |
๕.๓ | พิจารณารับรองการรายงานผลรายวิชาตามแบบ มคอ. ๕ ภาคเรียนที่ ๒/…. | C | |
๕.๓ | ตรวจสอบการประเมินผลการเรียนนิสิตหลักสูตร….บัณฑิต สาขาวิชา….. ภาคเรียนที่ ๒/… | C |