เหตุเกิดพระบรมสารีริกธาตุ

   การเกิดของพระธาตุเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ เพราะกระดูกที่เผาไฟหรือยังไม่เผาไฟก็ดี สามารถแปรเปลี่ยนเป็นผลึกรูปร่างต่างๆ สีสันสวยงาม คล้ายกรวด คล้ายแก้ว แม้กระทั่งผม เล็บ ฟัน ก็สามารถแปรเป็นพระธาตุได้เช่นตามคำอธิษฐานก่อนนิพพาน
ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาพระไตรปิฎก ตลอดทั้งตำราพระธาตุโบราณได้กล่าวถึงเหตุที่ทำให้เกิดพระบรมสารีริกธาตุว่า เป็นพุทธประสงค์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพานซึ่งจะแตกต่างกันไปแต่ละพระองค์ โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
   1. พระพุทธเจ้าที่ทรงมีพระชนมายุยืนยาว สามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคง พระบรมสารีริกธาตุจะมีลักษณะรวมกันเป็นแท่งเดียว ดุจทองธรรมชาติ
   2. พระพุทธเจ้าที่ทรงมีพระชนมายุไม่ยืนยาว เช่น พระโคดมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ซึ่งมีเวลาปฏิบัติพุทธกิจเพียง 45 ปี ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับพระพุทธเจ้าองค์ก่อนหน้า ได้ทรงอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แตกย่อยลงกระจายไปในที่ต่างๆ เพื่อที่พุทธศาสนิกชนจะได้นำไปเคารพสักการะ และเพื่อเป็นพุทธานุสติและธัมมานุสติ
   พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ได้ประดิษฐานอยู่บนมนุษยโลกชั่วระยะเวลาหนึ่ง จนเมื่อพระพุทธศาสนาได้เสื่อมลง พระบรมสารีริกธาตุก็จะอันตรธานไป จึงเรียกว่า “ธาตุอันตรธาน” ซึ่งหมายถึงพระบรมสารีริกธาตุได้หายไป ไม่ปรากฏให้เห็น แต่ไม่ได้หมายความว่าสูญสิ้นไปจากโลก ดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม”
   เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วผู้ประสงค์จะเห็นพระพุทธเจ้าขอให้อธิษฐานจิตบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนากล่าวคำอธิษฐานขอให้พระบรมสารีริกธาตุเสด็จมา ณ ภาชนะหรือสถานที่เหมาะสมซึ่งจัดเรียมเอาไว้ เมื่อทำความดีถึงขั้น พระบรมสารีริกธาตุก็จะเสด็จมาตามที่ปรารถนา

การแบ่งพระบรมสารีริกธาต

   เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรู ผู้เป็นพุทธบริษัทได้ทราบข่าวการปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ถึงกับวิสัญญีภาพ(สลบ) หลังจากคลายทุกขเวทนาก็มีดำที่จะขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุจากกษัตริย์เมืองกุสินารา พร้อมกันนั้นก็จัดเตรียมกองทัพไว้ด้วย หากไม่ได้พระบรมสารีริกธาตุแต่โดยดี นอกจากนี้ยังมีกษัตริย์จากเมืองต่างๆ ที่ได้ทราบข่าวการปรินิพพานของพระพุทธองค์ต่างก็ขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมทั้งยกทัพติดตามมาเช่นกัน รวม 6 เมือง และมีพราหมณ์อีก 1 เมือง ได้แก่
1. พระเจ้าอชาตศัตรู เมืองราชคฤห์
2. กษัตริย์ศากยราช เมืองกบิลพัสดุ์
3. กษัตริย์ลิจฉวี เมืองเวสาลี
4. กษัตริย์ถูลิยะ เมืองอัลลกัปปะ
5. กษัตยริย์โกลิยะ เมืองรามคาม
6. กษัตริย์มัลละ เมืองปาวา
7. มหาพราหมณ์ เมืองเวฎฐทีปกะ
   โดยกองทัพทั้ง 7 ได้ตั้งค่ายล้อมเมืองกุสินาราไว้ ร้องประกาศให้รีบแบ่งพระบรมสารีริกธาตุแต่โดยดี มิเช่นนั้นจะเกิดสงครามแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ ฝ่ายกษัตริย์เมืองกุสินาราก็ไม่ทรงยินยอม จึงเกิดการโต้เถียงกันขึ้น

โครงการ KM หอพุทธศิลป์ © สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
๓๐ หมู่ที่ ๑ บ้านโคกสี ถ.ขอนแก่น-น้ำพอง ต.โคกสี อ.เมือง จ.ขอนแก่น โทร.๐๔๓-๒๘๓๕๔๖-๗
เริ่ม ๑ กันยายน ๒๕๕๓ ปรับปรุงล่าสุด ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๘, ปรับปรุงโดย นายบูชิตร์ โมฆรัตน์