ปางสมาธิเพชร

   

ลักษณะพุทธรูป

    พระพุทธรูปปางนี้  อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิเพชรคือนั่งเป็นพิเศษ  โดยนั่งขัดสมาธิไขว้พระชงฆ์  ยกฝ่าพระบาททั้งสองหงายขึ้นมาวางบนพระเพลา  พระหัตถ์ทั้งสองก็ยกขึ้นมาวางซ้อนกัน  ทับฝ่าพระบาทอีกทีหนึ่ง  นิยมเรียกว่า  “ปางขัดสมาธิเพชร

ประวัติความเป็นมา

     ตำนานพระพุทธรูปปางนี้  ไม่ปรากฏ ทราบกันแต่เพียงว่าเป็นปางประทับนั่งพักในเวลากลางวัน  หรือตามปกติพระพุทธองค์เสด็จออกโปรดสัตว์ในเวลาเช้า  เสวยแล้วทรงพักกลางวันก็ทรงพระอิริยาบถนั่ง  คือนั่งสมาธิ  พระปางนี้ในสมัยก่อนคงจะมีผู้สนใจน้อยจึงจะหายาก  จะมีบ้างก็เป็นพระขนาดเล็กพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  ๔  ทรงสร้างขึ้นเมื่อปลายรัชกาล  เรียกว่าพระนิรันตราย  แต่ก็เป็นพระขนาดเล็กแบบพระบูชา  มีคนศรัทธาสร้างตามเสด็จน้อย  ไม่เหมือนปางทรงเครื่อง  ซึ่งสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  ๓  ทรงนำสร้างปรากฏว่ามีคนศรัทธาสร้างตามเสด็จมากมาย  แม้เมื่อในปลายรัชกาลที่  ๖  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงสร้างพระนิโรคันตรายเป็นพระบูชาอย่างพระนิรันตรายในรัชกาลที่  ๔  ก็ไม่โปรดแบบสมาธิเพชร  โปรดแบบสมาธิธรรมดา

โครงการ KM หอพุทธศิลป์ © สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
๓๐ หมู่ที่ ๑ บ้านโคกสี ถ.ขอนแก่น-น้ำพอง ต.โคกสี อ.เมือง จ.ขอนแก่น โทร.๐๔๓-๒๘๓๕๔๖-๗
เริ่ม ๑ กันยายน ๒๕๕๓ ปรับปรุงล่าสุด ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๘, ปรับปรุงโดย นายบูชิตร์ โมฆรัตน์